แนวข้อสอบครูผู้ช่วย ภาค ข วิชาเอก สังคมศึกษา
แนวข้อสอบครูผู้ช่วย ภาค ข วิชาเอก สังคมศึกษา
45% Complete
10 of 20
ข้อที่ 10.

ข้อใดสอดคล้องกับความหมายของอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) ในตลาดสินค้าชนิดหนึ่ง ๆ
 

เฉลย

คำตอบ        ข้อ 2    ปริมาณความต้องการขายมากกว่าปริมาณความต้องการซื้อ เนื่องจากระดับราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพ

เพราะ        ในข้อนี้จะวัดความรู้ในเรื่องอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) ซึ่งหมายถึงภาวการณ์ที่มีปริมาณความต้องการขาย (Supply) มากกว่าปริมาณความต้องการซื้อ (Demand) เนื่องจากระดับราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพ ทำให้สินค้าชิ้นนั้น “ล้นตลาด” โดยสามารถ แสดงให้เห็นในกราฟด้านล่างนี้

อธิบายได้ดังนี้ คือ

ตัว P = ราคา P (ซึ่งเป็นราคาที่ตกอยู่ในภาวะอุปทานส่วนเกิน)
ตัว PE = ราคาของจุดดุลยภาพ
ตัว S = อุปทาน
ตัว D = อุปสงค์
ตัว E = จุดดุลยภาพ
ตัว A = อุปสงค์ เมื่ออยู่ในราคา P
ตัว B = อุปทาน เมื่อตกอยู่ในราคา P
ตัว QE = ปริมาณเมื่ออยู่ในจุดดุลยภาพ
ตัว QA = ปริมาณของจุด A
ตัว QB = ปริมาณของจุด B

ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นว่าราคา P นั้นเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่จุดดุลยภาพ (จุด E) ทำให้เกิดความต้องการขาย (อุปทาน) ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น (นั่นก็คือจุด B ซึ่งทำให้เห็นว่า มีปริมาณ QB ที่สูง) เพราะเป็นปกติของผู้ขายทั่วไปที่ว่า เมื่อสินค้ามีราคาสูงขึ้น ก็ย่อมอยากขายมากยิ่งขึ้น และเมื่อความต้องการขาย (อุปทาน) มีมากขึ้น แต่ความต้องการซื้อ (อุปสงค์) ไม่เปลี่ยนแปลง จึงทำให้เกิดภาวะ “อุปทานส่วนเกิน” หรือสินค้ามีมากกว่าความต้องการของตลาด จึงทำให้สินค้านั้น “ล้นตลาด” ซึ่งก็คือส่วนที่ถูกแรเงาในกราฟนั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น ในบางปีนั้นทุเรียนมีราคาที่สูง ทำให้ชาวสวนผู้ผลิตผลไม้ต่างๆ ต่างให้ความสนใจในการปลูกทุเรียน เพื่อหวังว่าจะสามารถทำเงินได้มากกว่าผลไม้ที่ตนเองนั้นปลูกอยู่ หรือแม้แต่ชาวสวนที่ปลูกทุเรียนเองอยู่แล้ว ก็พยายามที่จะเพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะขายให้ได้มากขึ้น ทำให้ในปีต่อๆ มา มีทุเรียนออกมาวางขายมากเกินไป เพราะผู้ซื้อมีอยู่เท่าเดิม ทำให้ทุเรียนนั้นล้นตลาด ขายไม่ออก ทำให้ราคาทุเรียนนั้นต้องตกต่ำลง ซึ่งจากตัวอย่างนี้ ชาวสวนที่ปลูกทุเรียน ก็คือ “ความต้องการขาย (Supply –
อุปทาน)” และผู้บริโภคทุเรียน ก็คือ “ความต้องการซื้อ (Demand – อุปสงค์) นั่นเอง

ส่วนเรื่องของ “อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand)” นั้น ก็เป็นของสถานการณ์ที่จะเกิดตรงข้ามกัน และน้องๆ ก็ควรที่จะต้องทราบไว้ นั่นก็คือ การอยู่ในภาวะที่ ปริมาณความต้องการซื้อ (Demand) มากกว่าปริมาณความต้องการขาย (Supply) เนื่องจากระดับราคาต่ำกว่าราคาดุลยภาพ ทำให้สินค้าชิ้นนั้น “ขาดตลาด” โดยสามารถแสดงให้เห็นในกราฟด้านล่างนี้

อธิบายได้ดังนี้ คือ

ตัว P = ราคา P (ซึ่งเป็นราคาที่ตกอยู่ในภาวะอุปทานส่วนเกิน)
ตัว PE = ราคาของจุดดุลยภาพ
ตัว S = อุปทาน
ตัว D = อุปสงค์
ตัว E = จุดดุลยภาพ
ตัว A = อุปสงค์ เมื่ออยู่ในราคา P
ตัว B = อุปทาน เมื่อตกอยู่ในราคา P
ตัว QE = ปริมาณเมื่ออยู่ในจุดดุลยภาพ
ตัว QA = ปริมาณของจุด A
ตัว QB = ปริมาณของจุด B

ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นว่าราคา P นั้นเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่จุดดุลยภาพ (จุด E) ทำให้เกิดความต้องการซื้อ (อุปสงค์) ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น (นั่นก็คือจุด B ซึ่งทำให้เห็นว่ามีปริมาณ QB ที่สูง) เพราะเป็นปกติของผู้บริโภคทั่วไปที่ว่า เมื่อสินค้ามีราคาต่ำลง ก็ย่อมอยากซื้อมากยิ่งขึ้น และเมื่อความต้องการซื้อ (อุปสงค์) มีมากขึ้น แต่ความต้องการขาย(อุปทาน) ไม่เปลี่ยนแปลง จึงทำให้เกิดภาวะ “อุปสงค์ส่วนเกิน” หรือสินค้ามีน้อยกว่าความต้องการของตลาด จึงทำให้สินค้านั้น “ขาดตลาด” ซึ่งก็คือส่วนที่ถูกแรเงาในกราฟนั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น โดยปกตินั้นทุเรียนมักจะมีราคาที่สูง แต่ทว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ ก็ยังคงมีความต้องการทานที่สูงอยู่ เพราะเป็นผลไม้ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก แต่หากในปีใดที่ราคาทุเรียนนั้นต่ำกว่าปกติ หรือผลิตออกมาได้น้อยกว่าปกติ ผู้บริโภคที่นิยมทุเรียนอยู่แล้ว ก็จะมีความต้องการซื้อที่มากเกินกว่าปริมาณทุเรียนที่ถูกผลิตออกมา ทำให้ทุเรียนนั้นขาดตลาด ผลิตมาเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย ทำให้ราคาทุเรียนนั้นพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจากตัวอย่างนี้ ชาวสวนที่ปลูกทุเรียน ก็คือ ผู้บริโภคทุเรียน ก็คือ “ความต้องการซื้อ (Demand – อุปสงค์) และ “ความต้องการขาย (Supply – อุปทาน)” นั่นเอง

ทั้งนี้ในข้อนี้ น้องๆ ต้องตระหนักไว้เสมอว่า หากกล่าวถึงเรื่องของกฎอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) แล้ว จะสนใจเฉพาะ “ราคา (price)” “ปริมาณ (quantity)” “ความต้องการซื้อ (demand)” “ความต้องการขาย (supply)” เท่านั้น เพราะในกราฟจะมีเฉพาะแค่ 4 กรณีนี้เท่านั้น หากเจอตัวเลือกอื่น ตัดทิ้งได้เลย ซึ่งในข้อนี้ จะเห็นชัดว่าตัวเลือก 3, 4 นั้น เป็นเรื่องความพอใจ จึงตัดทิ้งได้เลย