อ่านข้อความต่อไปนี้เพื่อตอบคำถามข้อ 18 – 20
งานวรรณกรรมของไทยควรที่จะได้รับการส่งเสริมให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ไม่ใช่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว อย่างเช่นในต่างประเทศ มีการรวมใจของประชาชนและท้องถิ่น ที่ร่วมมือกันทำให้ศิลปะกลายเป็นเครื่องมือในการบำบัดและเยียวยาจิตใจ แม้ว่าในช่วงแรกคนอาจยังไม่มาก อาจมีแต่เพียงคนภายในท้องถิ่น แต่ภายหลังอาจขยายตัวออกไปมากขึ้น แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ บางประเทศใช้งานวรรณกรรมเป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างเดียว แทนที่จะเขียนเพื่อยกระดับจิตวิญญาณมนุษย์ แสวงหาความงาม ความงามในระดับนามธรรม แต่กลับนำไปใช้ในการทำลายกันและกัน
ทั้งนี้ บางประเทศอาจประสบปัญหาในการสรรค์สร้างกวีใน 2 รูปแบบ นั่นคือทั้งจากการยึดมั่นในจารีตการประพันธ์มากเกินไป จนละเลยสาระของเนื้อหา หรือจากการละเลยจารีต กระทั่งขาดความงดงามทางฉันทลักษณ์ ดังนั้นต้องระมัดระวังและจะต้องให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของความคิดและความสละสลวย
ดังนั้น การส่งเสริมงานวรรณกรรม ต้องบ่มเพาะ ต้องขัดเกลา และขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง
ไม่จมดิ่งกับความคิดของตนเองกระทั่งกลายเป็นความขมขื่น ควรจะต้องไปเปิดหูเปิดตา เปิดประสบการณ์พบสิ่งใหม่ๆ และส่งเสริมพลังแห่งจิตวิญญาณในการต่อสู้เพื่องานสร้างสรรค์ต่อไป
กวีควรมีบทบาทในการส่งเสริมงานวรรณกรรมให้เป็นเครื่องมือที่สามารถบำบัดเยียวยาจิตใจของประชาชนอย่างไร
คำตอบ ข้อ 2 สร้างงานวรรณกรรมที่สะท้อนภาพสังคมที่แท้จริง
อธิบาย: การสร้างงานวรรณกรรมที่สะท้อนภาพสังคมที่แท้จริง จะสามารถทำให้ผู้คนได้เห็นถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งบางครั้งการที่ประชาชนอยู่ในสังคมก็อาจมองไม่เห็นความเป็นไปที่เกิดขึ้น แต่เมื่อได้อ่านก็อาจทำให้ฉุกคิด และหันกลับมาใส่ใจในสังคมของตน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง