เกษตรกรคนหนึ่งต้องการปลูกพืชสวน จึงทำการตรวจสอบคุณสมบัติของดิน ในที่ดิน 3 แปลง ได้ผลตามตารางดังนี้
ข้อมูลปริมาณอินทรียวัตถุในดินและระดับความเค็มของดินที่มีผลกระทบต่อพืชสวน เป็นดังนี้
หมายเหตุ การวัดความเค็มของดิน ทำได้โดยการวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายเกลือในดิน ซึ่งสกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เนื่องจากการนำไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของเกลือในน้ำ จึงทำให้ปริมาณเกลือที่ละลายในน้ำที่สกัดออกมาจากดินได้ค่าการนำไฟฟ้ามีหน่วยเป็นเดซิซีเมนต่อเมตร (deci siemens/metre, dS/m)
จากข้อมูล หากเกษตรกรคนนี้ต้องการปรับปรุงดินในที่ดินทั้ง 3 แปลงดังกล่าว เพื่อปลูกพืชสวนไม่ทนเค็ม ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินที่เป็นกลาง และมีปริมาณอินทรียวัตถุปานกลางขึ้นไป
การปรับปรุงดินใน ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
คำตอบ ข้อ 2) ที่ดิน A ไถกลบซากพืชที่มีอยู่ในแปลง ที่ดิน B ชะด้วยน้ำจืดแล้วระบายน้ำทิ้ง ที่ดิน C ใส่ปูนขาว
ที่ดินแปลง A ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำ และมีสมบัติเป็นกลาง จึงต้องปรับปรุงดินด้วยวิธีการไถกลบซากพืชที่มีอยู่ในแปลง เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
ที่ดินแปลง B มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินปานกลาง และมีสมบัติเป็นกลาง จึงต้องปรับปรุงดินด้วยวิธีการชะด้วยน้ำจืดและระบายน้ำทิ้ง เพื่อลดความเค็มในดิน
ที่ดินแปลง C มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่ทนเค็ม มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูง และมีสมบัติเป็นกรด จึงต้องปรับปรุงดินด้วยวิธีการใส่ปูนขาว เพื่อลดความเป็นกรดในดิน