แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
36% Complete
50 of 50
ข้อที่ 50.

ข้อใดใช้เติมในช่องว่าง ( ก ) และ ( ข ) ได้ใจความสมบูรณ์และถูกต้องตามฉันทลักษณ์

๑. กลิ่นหอมรวยริน

๒. พร้อมด้วยแสร้งว่า

๓. ประจักษ์ชัดศรัทธา

๔. เชิญชวนลิ้มรสทัศนา

๕. อนุรักษ์อาหารของไทย

เฉลย

ตอบ ข้อ 2 ข้อที่ ๔ และ ข้อที่ ๒

อธิบาย  

ข้อที่ ๔ “เชิญชวนลิ้มรสทัศนา” เป็นข้อความที่ใช้เติมในช่องว่าง ( ก ) ได้ใจความสมบูรณ์และถูกต้องตามฉันทลักษณ์เพราะกาพย์ฉบัง ๑๖ มีข้อบังคับดังนี้  ในบทหนึ่งมี ๑๖ คำแบ่ง

เป็นวรรคได้ ๓ วรรค  วรรคที่หนึ่ง มี ๖ คำ วรรคที่สอง มี ๔ คำ  และวรรคที่สาม มี ๖ คำ  การสัมผัสคำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง ไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สอง 

ส่วนคำสัมผัสร้อยบทหรือสัมผัสเชื่อมบทนั้นให้คำสุดท้ายของบทที่หนึ่งไปเชื่อมสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่งของบทถัดไป ดังนั้นวรรคที่ ๓ จึงเติมคำว่า “เชิญชวนลิ้มรส

ทัศนา” เพื่อให้คำสุดท้ายของบทที่ ๑ (นา)ไปเชื่อมสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ (ปลา)ของบทถัดไป

ข้อที่ ๒ “พร้อมด้วยแสร้งว่า” เป็นข้อความที่ใช้เติมในช่องว่าง ( ข ) ได้ใจความสมบูรณ์และถูกต้องตามฉันทลักษณ์เพราะเป็นวรรคที่ ๒ ที่กำหนดให้มี ๔ คำ และกำหนดให้การ

สัมผัสคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ (ปลา)ไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ (ว่า ) ดังนั้นจึงได้ว่า “มัสมั่นยำใหญ่ไตปลา  พร้อมด้วยแสร้งว่า”

ตัวลวง

อธิบาย                  

ข้อ ๑ “กลิ่นหอมรวยริน” เป็นข้อความที่ไม่สามารถใช้เติมในช่องว่าง (ก) เพราะมีจำนวนคำในวรรคที่ ๓ ไม่ครบ ๖ คำตามลักษณะบังคับของกาพย์ฉบัง ๑๖ และไม่สามารถใช้เติมใน

ช่องว่าง (ข) เพราะมีสัมผัสระหว่างวรรคไม่ถูกต้อง

ข้อ ๓ “ประจักษ์ชัดศรัทธา” เป็นข้อความที่ไม่สามารถใช้เติมในช่องว่าง (ก) เพราะมีจำนวนคำในวรรคที่ ๓ ไม่ครบ ๖ คำตามลักษณะบังคับของกาพย์ฉบัง๑๖ และไม่สามารถใช้เติม

ในช่องว่าง (ข) เพราะมีจำนวนคำในวรรคที่ ๒ เกิน ๔ คำ

ข้อ ๕ “อนุรักษ์อาหารของไทย” เป็นข้อความที่ไม่สามารถใช้เติมในช่องว่าง (ก) มีจำนวนคำในวรรคที่ ๓ เกิน ๖ คำ และไม่สามารถใช้เติมในช่องว่าง (ข) เพราะมีจำนวนคำใน

วรรคที่ ๒ เกิน ๔ คำ