ข้อใดใช้เติมลงในช่องว่าง ( ก ) และ ( ข )ได้ใจความสมบูรณ์และถูกต้องตามฉันทลักษณ์
๑. อาลัย
๒. มารศรี
๓. ดวงจันทร์
๔. ชวดเคล้า
๕. หลอกล่อ
ตอบ ข้อ 4 ข้อที่ ๓ และ ข้อที่ ๔
อธิบาย
ข้อที่ ๓ “ดวงจันทร์” เป็นคำที่ใช้เติมในช่องว่าง (ก) ได้ใจความสมบูรณ์และถูกต้องตามฉันทลักษณ์ เพราะโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๔ บาท แต่ละบาทแยกเป็น ๒ วรรค เรียก
วรรคหน้ากับวรรคหลัง แบ่งเป็นวรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๒ คำ เฉพาะบาทที่ ๔ หรือบาทสุดท้ายกำหนดให้วรรคหลังมี ๔ คำ ส่วนสัมผัสในโคลงประกอบด้วยสัมผัสนอก หรือ
สัมผัสระหว่างบทอันเป็นสัมผัสบังคับ คำสุดท้ายของบาทหนึ่ง คือ คำที่ ๗ ส่งสัมผัสไปรับสัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทสองกับบาทสาม คำสุดท้ายของบาทสอง คือ คำที่ ๗ ส่งสัมผัส
ไปรับกับคำที่ ๕ ของบาทสี่ สัมผัสระหว่างบท ดังนั้นบาทที่๒จึงเติมคำว่า “ดวงจันทร์” เพื่อให้สัมผัสกับคำว่า “กัน” ในบาทที่ ๑ ได้ว่า “ถวิลสุดาดวงจันทร์ แจ่มหล้า”
ข้อที่ ๔ “ชวดเคล้า เป็นคำที่ใช้เติมในช่องว่าง (ข) ได้ใจความสมบูรณ์และถูกต้องตามฉันทลักษณ์” เพราะเป็นวรรคสุดท้ายของบาทที่ ๔ และบังคับคำแรกให้เป็นคำเอก
(สามารถใช้คำตายแทนได้ )คำที่ ๒ให้เป็นคำโท ได้ว่า “ควรฤาพรากน้องช้า ชวดเคล้าคลึงสม ”
ตัวลวง
อธิบาย
ข้อ ๑ “อาลัย” เป็นคำที่ไม่สามารถใช้เติมในช่องว่าง ( ก ) ให้ได้ใจความสมบูรณ์และถูกต้องตามฉันทลักษณ์ได้ เพราะ “อาลัย” ไม่สัมผัสกับคำว่า “กัน” และไม่สามารถใช้เติมใน
ช่องว่าง ( ข ) เพราะใช้คำเอกไม่ถูกต้อง
ข้อ ๒ “มารศรี” เป็นคำที่ไม่สามารถใช้เติมในช่องว่าง ( ก ) ให้ได้ใจความสมบูรณ์และถูกต้องตามฉันทลักษณ์ได้ เพราะ “มารศรี ” ไม่สัมผัสกับคำว่า “กัน” และไม่สามารถใช้เติมใน
ช่องว่าง ( ข ) เพราะใช้คำเอกไม่ถูกต้อง
ข้อ ๕ “หลอกล่อ” เป็นคำที่ไม่สามารถใช้เติมในช่องว่าง ( ก ) ให้ได้ใจความสมบูรณ์และถูกต้องตามฉันทลักษณ์ได้ เพราะ“หลอกล่อ” ไม่สัมผัสกับคำว่า “กัน” และไม่สามารถใช้เติม
ในช่องว่าง ( ข ) เพราะใช้คำเอกไม่ถูกต้อง