คำต่างประเทศภาษาใดไม่ปรากฏในคำประพันธ์ต่อไปนี้
๑. คำจีน
๒. คำบาลี
๓. คำเขมร
๔. คำสันสกฤต
๕. คำชวามลายู
ตอบ ข้อ 2 ข้อที่ ๑ และ ข้อที่ ๕
อธิบาย
ข้อที่ ๑ ไม่มีคำภาษาจีน ปรากฏในคำประพันธ์
ข้อที่ ๕ ไม่มีคำภาษาชวามลายู ปรากฏในคำประพันธ์
ตัวลวง
อธิบาย
ข้อ ๒ มีคำภาษาบาลีปรากฏในคำประพันธ์คือคำว่า พิษ (ป. วิส) สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ตาย เจ็บปวดหรือให้ความเดือดร้อนแก่จิตใจ ,โคตร(ป. โคตฺต)
โรงวัว คอกวัว วงศ์ ตระกูล , สงฆ์ (สงฺฆ) ภิกษุ , ชีพ (ป.ชีว)หมายถึงชีวิต , ความเป็น , ตรงข้ามกับความตาย
ข้อ ๓ มีคำภาษาเขมรปรากฏในคำประพันธ์คือคำว่า แสลง (สะ – แหลง) หมายถึง ไม่ถูกกับโรค , แผลง หมายถึง แปลงสิ่งเดิมให้เพี้ยนแปลกไปหรือที่แตกต่างไปจากปกติ ,
ผลาญ หมายถึง ทำลายให้หมดสิ้นไปจึงเป็นลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาเขมรเพราะมีการใช้ตัวควบกล้ำและคำที่ใช้อักษรนำอักษรตามซึ่งมักเป็นคำที่มาจากภาษาเขมร
ข้อ ๔ มีคำภาษาสันสกฤตปรากฏในคำประพันธ์ คือคำว่า ทรัพย์ (ทฺรวฺย) หมายถึง เงินตรา , สิ่งที่ถือว่ามีค่าอาจไม่มีรูปร่างก็ได้ มีทรัพย์เป็นปัญญาเป็นคำสันสกฤตเพราะมีการใช้
ตัวควบกล้ำ ,นอกจากนี้มีคำว่า พิษ (ส. วิษ) , โคตร (ส. โคตฺร) , ชีพ (ส. ชีว)