แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
24% Complete
44 of 50
ข้อที่ 44.

ข้อความตอนใดมีคำที่มาจากภาษาจีน

๑ ) เครื่องจักสานพื้นบ้านภาคกลางมีรูปแบบเฉพาะถิ่นที่แตกต่างกันไป  ๒ ) เช่นเครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะมีกระบุง ตะกร้า ปุ้งกี๋ เป็นต้น ๓ ) เครื่องจักสานที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำสานด้วยไม้ไผ่ใช้ลอยในแม่น้ำลำคลองเรียกว่า กระชัง ๔ ) โดยมีแพลูกบวบไม้ไผ่เป็นทุ่นขนาบไม่ให้กระชังจม ซึ่งกระชังพวกนี้ใช้เลี้ยงปลาสวาย ปลาเทโพ  ๕ ) ถ้าเป็นกระชังขนาดเล็กจะใช้ขังปลาที่จับได้เอาไว้ขายหรือเก็บไว้บริโภคนาน ๆ ถ้ามีจำนวนมากจะมีเรือเอี้ยมจุ๊นมาขนถ่ายปลาเพื่อนำไปขายที่ตลาด

๑. ตอนที่ ๑ )

๒. ตอนที่ ๒ )

๓. ตอนที่ ๓ )

๔. ตอนที่ ๔ )

๕. ตอนที่ ๕ )

เฉลย

ตอบ ข้อ 4 ข้อที่ ๒ และข้อที่ ๕

อธิบาย  

ข้อที่ ๒ “ตอนที่ ๒) เช่นเครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะมีกระบุง ตะกร้า ปุ้งกี๋” เป็นข้อความที่มีคำมาจากภาษาจีนคือคำว่าปุ้งกี๋ ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย หมายถึง

เครื่องสานรูปคล้ายเปลือกหอยแครง สำหรับใช้โกยดิน

ข้อที่ ๕ “ตอนที่ ๕ ) ถ้าเป็นกระชังขนาดเล็กจะใช้ขังปลาที่จับได้เอาไว้ขายหรือเก็บไว้บริโภคนาน ๆ ถ้ามีจำนวนมากจะมีเรือเอี้ยมจุ๊นมาขนถ่ายปลาเพื่อนำไปขายที่ตลาด” เป็น

ข้อความที่มีคำมาจากภาษาจีน คือคำว่า เอี้ยมจุ๊น ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทย หมายถึง ชื่อเรือขนาดใหญ่ต่อด้วยไม้ท้องเรือเป็นสัน สำหรับขนถ่ายและบรรทุกสินค้า

ตัวลวง                 

อธิบาย  

ข้อ ๑ ตอนที่ ๑ ) “เครื่องจักสานพื้นบ้านภาคกลางมีรูปแบบเฉพาะถิ่นที่แตกต่างกันไป” เป็นข้อความที่ไม่มีคำมาจากภาษาจีน

ข้อ ๓ ตอนที่ ๓ ) “เครื่องจักสานที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ลอยในแม่น้ำลำคลองเรียกว่า กระชัง” เป็นข้อความที่ไม่มีคำมาจากภาษาจีน

ข้อ ๔ ตอนที่ ๔ ) “โดยมีแพลูกบวบไม้ไผ่เป็นทุ่นขนาบไม่ให้กระชังจม ซึ่งกระชังพวกนี้ใช้เลี้ยงปลาสวาย ปลาเทโพ” เป็นข้อความที่ไม่มีคำมาจากภาษาจีนแต่มีคำยืมภาษาเขมร คือ

คำว่า สวาย หมายถึงชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ลำตัวแบนไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป