ข้อใดมีคำทับศัพท์ที่ใช้คำไทยแทนได้
ตอบ ข้อ 2 ขณะนี้มีคลินิกเปิดรักษาสุขภาพหลายด้าน
อธิบาย
“ขณะนี้มีคลินิกเปิดรักษาสุขภาพหลายด้าน” มีคำทับศัพท์ที่สามารถใช้คำไทยแทนได้คือคำว่าคลินิก เพราะคลินิก( clinic) เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ แปลว่าสถานรักษา
พยาบาล โดยมากเป็นของเอกชนมักไม่รับผู้ป่วยให้พักรักษาตัวประจำหรือเป็นสถานที่ตรวจและรักษาคนไข้ที่แพทย์เปิดขึ้นเป็นการส่วนตัว ขณะเดียวกันคลินิกยังใช้เรียกหน่วยที่
รักษาโรคเฉพาะทางในโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน เช่น คลินิกรักษาสุขภาพผู้สูงวัย เป็นต้น ดังนั้นประโยคดังกล่าวแก้ไขเป็น “ขณะนี้มีสถานพยาบาลเปิดรักษาสุขภาพ
หลายด้าน ”
ตัวลวง
อธิบาย
ข้อ 1 “คุณยายใช้ถ้วยพลาสติกรองรับน้ำ” มีคำทับศัพท์ที่ไม่สามารถใช้คำไทยแทนได้คือคำว่าพลาสติก เพราะพลาสติก ( plastic )เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หมายถึง
สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัวเมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัวบางชนิดแข็งตัวถาวร เช่น ไนลอน ยางเทียม ดังนั้น พลาสติกจึง
เป็นคำทับศัพท์ที่ไทยรับมาใช้ในรูปของคำยืมที่ต้องเขียนและออกเสียงอย่างภาษาไทย
ข้อ 3 “ครอบครัวฉันชอบรับประทานอาหารบุฟเฟต์ผลไม้” มีคำทับศัพท์ที่ไม่สามารถใช้คำไทยแทนได้คือคำว่า บุฟเฟต์ เพราะบุฟเฟต์ ( buffet ) เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
หมายถึงการจัดเลี้ยงอาหารมากมายหลายชนิดที่ผู้กินสามารถตักอาหารได้เองตามใจโดยไม่จำกัดและต้องบริการตัวเองปัจจุบันคำว่าบุฟเฟต์ในภาษาไทยได้ขยายความหมายถึง
แบบการขายอาหารซึ่งผู้ขายจัดอาหารไว้หลายอย่างและคิดราคาอาหารเหมาเป็นรายบุคคลด้วย ผู้ซื้อเลือกหยิบอาหารรับประทานเองและรับประทานได้เต็มที่ตามความพอใจทั้งมี
การจัดอาหารหลาย ๆ แบบด้วย เช่น บุฟเฟต์อาหารไทย บุฟเฟต์อาหารเจ บุฟเฟต์ข้าวต้ม เป็นต้น ดังนั้นบุฟเฟต์จึงเป็นคำทับศัพท์ที่ไทยรับมาใช้ในรูปของคำยืม
ข้อ 4 “น้องวางแผนให้คุณพ่อคุณแม่ไปซื้อเยลลี่ที่ห้างสรรพสินค้า” มีคำทับศัพท์ที่ไม่สามารถใช้คำไทยแทนได้คือคำว่าเยลลี่ เพราะเยลลี่ ( jelly ) หมายถึงขนมหวานฝรั่งทำนอง
เดียวกับวุ้นของไทยแต่หนืดกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งทำจากน้ำผลไม้หรือน้ำผลไม้เข้มข้น เช่น สับปะรด กระเจี๊ยบแดง สตรอเบอรรี มะนาว ส้ม มะม่วง ผสมกับสารที่ให้ความหวาน
และสารที่ทำให้เกิดเจล เช่น เจลาติน (gelatin) อาจมีการผสมสีและแต่งกลิ่นรส ดังนั้นเยลลี่จึงเป็นคำทับศัพท์ที่ไทยรับมาใช้ในรูปของคำยืม