ข้อใดใช้ภาษาเหมาะสมแก่กาลเทศะ
ตอบ ข้อ 1 ไม่เจอคุณลุงมานานลุงตั้งใจแน่วแน่ว่าจะอดเหล้าตลอดเข้าพรรษา
อธิบาย “ไม่เจอคุณลุงมานานลุงตั้งใจแน่วแน่ว่าจะอดเหล้าตลอดเข้าพรรษา” เป็นข้อที่ใช้ภาษาเหมาะสมแก่กาลเทศะเพราะเข้าพรรษาเป็นคำที่ใช้กับพระภิกษุ หมายถึง อยู่ประจำ
วัดใดวัดหนึ่งตลอด ๓ เดือนในช่วงฤดูฝนไม่เดินทางรอนแรมไปที่ต่าง ๆ ไม่ไปค้างแรมที่วัดอื่น เป็นบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดขึ้นเพื่อมิให้พระภิกษุไป่เหยียบย่ำข้าวกล้าและ
พืชพันธ์อื่น ๆ ที่ชาวบ้านเพาะไว้ในช่วงฤดูฝนและเป็นผลดีให้พระภิกษุได้ใช้เวลาศึกษาพระธรรมวินัย ดังนั้นชายไทยจึงนิยมออกบวชในช่วงเข้าพรรษาจนเป็นประเพณี คุณลุงจึง
ตั้งใจอดเหล้าตลอดเข้าพรรษาเพื่อเป็นการทำดีทำบุญตามวิถีของคนไทยที่มักทำอะไรดี ๆ ในช่วงเข้าพรรษาอันเป็นประเพณีที่ดีงามของไทย
ตัวลวง
อธิบาย
ข้อ 2 “เสียใจด้วยนะที่เธอไม่พักผ่อนชอบไว้ผมยาวทำให้ใบหน้าดูทรุดโทรม” เป็นข้อที่ใช้ภาษาไม่เหมาะสมแก่กาลเทศะ เพราะทรุดโทรมแปลว่าเสื่อมสภาพไปเพราะใช้งานอย่าง
หนักหรือตรากตรำมาก ดังนั้นการที่ชอบไว้ผมยาวทำให้ใบหน้าดูทรุดโทรมจึงไม่ถูกต้อง ควรเป็น “ไว้ผมยาวทำให้ใบหน้าแลดูโทรม” เพราะโทรมหมายถึงเสื่อมไปจากสภาพเดิม
ไม่ดูแลหรือถูกปล่อยทิ้ง
ข้อ 3 “แข่งกีฬาครั้งนี้ฉันจะไปร่วมเชียร์กีฬาหรือไม่ฉันตัดสินใจเองได้ไม่ต้องให้ใครมาบอก” เป็นการใช้ภาษาไม่เหมาะสมแก่กาลเทศะ เพราะข้อความนี้ใช้คำว่า บอก ทำให้ฟังดู
แปลกหู ควรใช้ว่า “แข่งกีฬาครั้งนี้ฉันจะไปร่วมเชียร์กีฬาหรือไม่ฉันตัดสินใจเองได้ไม่ต้องให้ใครมาเกณฑ์หรือกะเกณฑ์” ซึ่ง “ เกณฑ์ ”/ “ กะเกณฑ์ ”มีความหมายคล้ายกันคือ
พาคนไปทำบางสิ่งบางอย่างร่วมกันเพียงแต่ “กะเกณฑ์” มีน้ำเสียงของการบังคับสูงกว่า “ เกณฑ์ ” และนิยมใช้ในรูปปฏิเสธ
ข้อ 4 “ขอแสดงความยินดีที่คุณป้ามีเพื่อนฝูงรักใคร่และให้ความนับถือเธอเป็นอันมาก” เป็นการใช้ภาษาไม่เหมาะสมแก่กาลเทศะ เพราะในข้อความนี้มีคำบางคำที่ใช้แล้วก็ไม่ทำให้
ความดีขึ้นทำให้รุ่มร่ามโดยใช่เหตุถือเป็นคำฟุ่มเฟือย คือคำว่า “ให้ความ” และ “เป็นอย่าง” ดังนั้นควรแก้ไขเป็น “ขอแสดงความยินดีที่คุณป้ามีเพื่อนฝูงรักใคร่และนับถือเธอมาก”