แนวข้อสอบ A-level สังคมศึกษา ม.6 ชุดที่ 4
แนวข้อสอบ A-level สังคมศึกษา ม.6 ชุดที่ 4
19% Complete
44 of 90
ข้อที่ 44.

ถ้าประเทศไทยต้องการที่จะเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วยอมลดภาษีศุลกากรให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาจะต้องทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์กรระหว่างประเทศใดต่อไปนี้

เฉลย

ตอบ ข้อ 3 การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conferences on Trade and Development : UNCTAD) ถูกต้องเพราะ UNCTAD เป็นองค์การ

ระหว่างประเทศภายใต้กรอบ ขององค์การ สหประชาชาติเกิดขึ้นจากความพยายามและความร่วมมือของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งรวมกันเรียกว่ากลุ่ม 77 (G77) มีการประชุม

ครั้งแรกที่นครเจนีวา ในปี ค.ศ. 1964 เพื่อเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วร่วมมือหาทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการค้าและการพัฒนาของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยให้

ประเทศที่กำลังพัฒนามีส่วนในการพิจารณาตัดสินปัญหาเกี่ยวกับการค้าและการเงินระหว่างประเทศ ริเริ่มให้มีระบบสิทธิประโยชน์ทางการค้า โดยจัดทำโครงการให้สิทธิพิเศษ

ทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preference : GSP) ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา

ตัวลวง

ข้อ 1 องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ยังไม่ถูกต้องเพราะเป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกในรูปของมาตรการภาษี

ศุลกากร และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรแต่เป็นตัวกลางในการเจรจาประเทศใดๆก็ได้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคู่ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา

ข้อ 2 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ยังไม่ถูกต้อง เพราะเน้นส่งเสริมให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีเสถียรภาพและป้องกัน

การแข่งขันในการลดค่าเงิน และการสนับสนุนเงินกู้ เป็นต้น

ข้อ 4 ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (The International Bank for Reconstruction and Development : IBRD) ยังไม่ถูกต้อง เพราะเน้นการฟื้นฟูบูรณะและ

พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก โดยการให้กู้ยืมเงินระยะยาวในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศของภาค

เอกชนธนาคารโลกจะช่วยเหลือส่งเสริมโดยเป็นผู้ค้ำประกันการลงทุน หรือร่วมกับองค์กรอื่น ในการกู้ยืมของเอกชน

ข้อ 5 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ยังไม่ถูกต้อง เพราะเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิควิทยาการ การวางรากฐานทางด้าน

แรงงานระหว่างประเทศ เป็นกิจกรรมหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ทางด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ความปลอดภัยในการทำงาน ค่าแรงที่ยุติธรรม และสภาพการ

ทำงานที่เหมาะสม

 

ทบทวนบทเรียน
แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ | 160378 views