ถ้านำปลากัดไปเลี้ยงในน้ำทะเล ปลากัดมีโอกาสตายในเวลาไม่นานนัก ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใด
ตอบ 5. เซลล์บริเวณเหงือกของปลากัดดูดซึมแร่ธาตุ ทำให้ได้รับแร่ธาตุจากน้ำทะเลมากเกินไป เนื่องจากปลากัดเป็นปลาน้ำจืด มีกลไลการรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุใน
ร่างกาย ประกอบด้วย
(1) ไตสร้างปัสสาวะที่เจือจาง ขับแร่ธาตุออกไปพร้อมกับปัสสาวะในปริมาณน้อย
(2) ผิวหนังของปลามีเกล็ดหรืออาจมีเมือก ป้องกันน้ำเข้าสู่ตัวปลามากเกินไป
(3) เซลล์บริเวณเหงือกของปลาทำหน้าที่ดักจับแร่ธาตุ
ดังนั้นเมื่อนำปลากัดซึ่งเป็นปลาน้ำจืดไปเลี้ยงไว้ในน้ำทะเลจะทำให้ปลาตายในเวลาไม่นานนักเพราะไม่สามารถปรับตัวในสภาพที่น้ำมีความเข้มข้นของแร่ธาตุได้
ตัวลวง
1. ผิวหนังของปลากัดมีเกล็ดป้องกันน้ำออกจากเซลล์ทำให้เกิดการบวมน้ำ ไม่ถูกต้อง เพราะปลากัดจะมีเกล็ดป้องกันน้ำเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากภายในตัวปลาจัดเป็นสารละลาย
ไฮเพอร์โทนิกเมื่อเทียบกับภายนอกตัวปลา
2. ไตของปลากัดสร้างปัสสาวะที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุ ไม่ถูกต้อง เพราะปลากัดเป็นปลาน้ำจืด ไตของปลาเหล่านี้จะสร้างปัสสาวะที่มีความเข้มข้นต่ำ
เนื่องจากกลัวการสูญเสียแร่ธาตุ
3. ไตของปลากัดจะขับแร่ธาตุออกจำนวนมาก ทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุที่จำเป็น ไม่ถูกต้อง เพราะปลากัดจะขับแร่ธาตุออกเป็นจำนวนน้อย เนื่องจากกลัวการสูญเสียแร่ธาตุ
แต่จะขับปัสสาวะด้วยน้ำปริมาณมาก
4. เซลล์บริเวณเหงือกของปลากัดขับแร่ธาตุออกจำนวนมาก ทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุ ไม่ถูกต้อง เพราะเซลล์บริเวณเหงือกของปลากัดจะไม่ทำหน้าที่ขับแร่ธาตุออก
เนื่องจากเป็นปลาน้ำจืด