ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย เคมี(2546) ชุดที่1
ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย เคมี(2546) ชุดที่1
30% Complete
5 of 20
ข้อที่ 5.

พิจารณาปฏิกิริยาการสลายตัวของ N2O เป็น N2 และ O2 ดังสมการ
   N2O(g) → N2(g) + ½O2(g)
ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของ N2O(mol dm-3) กับเวลา (s) เป็นดังนี้

ข้อใดถูก

เฉลย

จากกราฟที่ให้มา จะเห็นว่ามีความชันคงที่
  ความชัน = ค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยา (k)
              = (0.10-0.00)/(100-0)
              = 10-1 mol/dm3·s
การที่ความชันคงที่แสดงว่าการสลายตัวของ N2O เป็น N2 และ O2 เป็นปฏิกิริยาอันดับศูนย์
อัตราการเกิดปฏิกิริยา (R) = k[N2O]3 = k = 10-3 mol/dm3·s

ข้อ 1 ผิด จากสมการ
   อัตราการเกิดปฏิกิริยา = (อัตราการเกิด O2)/(½)
   อัตราการเกิด O2 = ½อัตราการเกิดปฏิกิริยา
                          = ½(10-3) = 0.0005 mol/dm3·s

ข้อ 2 ผิด เนื่องจากอัตราการเกิดปฏิกิริยาเป็นอันดับศูนย์เมื่อเทียบกับ [N2O] แสดงว่าเมื่อเพิ่ม [N2O] เป็น 2 เท่าจะไม่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา

ข้อ 4 ผิด ณ เวลา 50 วินาที [N2O] จะเหลืออยู่ 0.05 mol/dm3 แสดงว่าทำปฏิกิริยาไป 0.10 – 0.05 = 0.05 mol/dm3
จากสมการจะได้ [N2O]/1 = [N2]/1 = [O2]/(½)
     [N2] = [N2O] = 0.05 mol/dm3
     [O2] = ½[N2O] = ½(0.05) = 0.025 mol/dm3
ที่ 50 วินาที
     [N2O] : [N2] : [O2] = 0.05 : 0.05: 0.025 = 2 : 2 : 1

ข้อ 3 ถูกต้อง ถ้านักเรียนแบ่งสเกลจากกราฟที่ให้มา แล้วลากเส้นที่ 10 วินาทีขึ้นไปจะทราบความเข้มข้นของ N2O ที่เหลืออยู่ประมาณ 0.09 mol/dm3

ในกรณีที่ปฏิกิริยาเป็นอันดับศูนย์ จะมีสูตรสำเร็จใช้ดังนี้
     [N2O]เริ่มต้น – [N2O]เวลา        =             kt
ที่เวลา 10 วินาที (t = 10)
     0.10 – [N2O]10sec = 10-3(10)
ณ เวลา 10 วินาที [N2O] จะเหลือ = [N2O]10sec = 0.09 mol/dm3