ในการทำโครมาโทกราฟีของสาร A, B และ C โดยใช้แผ่นกระจกเคลือบด้วยซิลิกาเจลเป็นตัวดูดซับในตัวทำละลาย X และ Y ได้ผลดังนี้
สาร | ระยะทางที่สารเคลื่อนที่(cm)ในตัวทำละลาย |
|
X | Y | |
A B C |
2.0 4.0 5.6 |
6.5 4.0 2.5 |
ระยะทางที่ตัวทำละลาย X เคลื่อนที่ 8 cm
ระยะทางที่ตัวทำละลาย Y เคลื่อนที่ 10 cm
ข้อใดถูก
หา Rf ของสาร A, B และ C ในตัวทำละลาย X และ Y
สาร | Rf ในตัวทำละลาย X | Rf ในตัวทำละลาย Y |
A B C |
0.25 0.50 0.70 |
0.65 0.40 0.25 |
การเปรียบเทียบความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย หรือความสามารถในการดูดซับของสารจะใช้ค่า Rf
ข้อ 1 ผิด B ละลายในตัวทำละลายทั้งสองได้ไม่เท่ากัน (Rf ของ B ใน X ไม่เท่ากับ Rf ของ B ใน Y)
ข้อ 2 ผิด Rf ของ A ในตัวทำละลายทั้งสองมีค่าไม่เท่ากัน
ข้อ 3 ผิด ถ้ามี A และ B ผสมกัน ตัวทำละลาย X จะแยก A และ B ออกจากกันได้ดีเท่ากับในตัวทำละลาย Y เพราะผลต่าง Rfของ A และ B ใน X(0.5 – 0.25 = 0.25) เท่ากับผลต่าง Rf ของ A และ B ใน Y (0.65 – 0.40 = 0.25)
ข้อ 4 ถูก ถ้ามี B และ C ผสมกัน ตัวทำละลาย X จะแยก B และ C ออกจากกันได้ดีกว่าตัวทำละลาย Y เพราะผลต่าง Rf ของ B และ C ใน X (0.70 – 0.5 = 0.2) มากกว่าผลต่าง Rf ของ B และ C ใน Y (0.40 – 0.25 = 0.15)