การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน ทั้งการออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก และการป้องกันโรค ทำให้คนเริ่มมองหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ส่งผลให้ธุรกิจอาหารสุขภาพ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การสั่งอาหารออนไลน์ก็เอื้อให้ ขายอาหารเพื่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น ทั้งในรูปแบบเดลิเวอรีและหน้าร้าน
กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ก่อนเริ่มต้นธุรกิจอาหาร เราต้องรู้ว่าลูกค้าของคุณคือใคร เช่น
- คนรักสุขภาพที่ออกกำลังกาย
- ผู้สูงอายุที่ต้องการควบคุมอาหาร
- คนวัยทำงานที่อยากทานอาหารดี แต่ไม่มีเวลาทำเอง
จากนั้นเราต้องเริ่มจาก การเลือกรูปแบบธุรกิจที่ถนัด เช่น
- เปิดหน้าร้าน
- เดลิเวอรี หรือขายออนไลน์
- ขายแบบอาหารกล่องพรีออเดอร์
เมนูยอดนิยมที่ขายดี ถ้าจะขายอาหารเพื่อสุขภาพ ลองพัฒนาเมนูที่ตอบโจทย์ลูกค้า เช่น
- ข้าวกล้องกับอกไก่ย่าง + สลัดผักสด
- สเต๊กปลาแซลมอน + มันหวาน
- สมูทตี้ผลไม้รวม + เมล็ดแฟลกซ์
- ขนมปังโฮลวีทหน้าอะโวคาโด
- ข้าวผัดคีนัวกับไข่ขาว
ทริคเสริม! เน้นเมนูที่รสชาติอร่อย ทำง่าย ต้นทุนคุ้มค่า และปรับสูตรให้ถูกใจกลุ่มลูกค้า
- คำนวณคุณค่าทางโภชนาการ
ลูกค้าที่ซื้ออาหารสุขภาพ มักใส่ใจเรื่องแคลอรี ไขมัน โปรตีน ลองระบุข้อมูลโภชนาการให้ชัดเจน เป็นจุดขายเพิ่มความน่าเชื่อถือได้
เลือกวัตถุดิบคุณภาพ ใช้วัตถุดิบออร์แกนิก หรือแหล่งวัตถุดิบที่ปลอดสารพิษ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง
สร้างแบรนด์ให้จดจำง่าย
- ตั้งชื่อร้านที่สื่อถึง ธุรกิจอาหารสุขภาพ
- ออกแบบโลโก้ให้สื่อถึงความสดใหม่ และปลอดภัย
- ทำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ต้องใช้โซเชียลมีเดียให้เป็นประโยชน์ สร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ เช่น
- แชร์สูตรอาหาร
- รีวิวลูกค้า
- ไลฟ์สไตล์สุขภาพ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย
- โปรโมชันและการขาย ทำโปรโมชันช่วงเปิดร้าน หรือจัดเซตเมนูพิเศษ
- จับมือกับแอปเดลิเวอรี เพื่อขยายฐานลูกค้า
- หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “อาหารสุขภาพ” ถ้าสูตรไม่ผ่านเกณฑ์โภชนาการจริง เพราะอาจเสียความน่าเชื่อถือ
- ระวังต้นทุนวัตถุดิบที่สูงเกินไป ปรับให้เหมาะสมให้ธุรกิจเราดำเนินต่อไปได้
- ตรวจสอบกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร เช่น อย. หรือมาตรฐานอาหารสะอาด