เกรด F ครั้งแรกในชีวิต ไม่ได้หมายความว่าเราไม่เก่งหรือไม่มีอนาคต แต่เป็น “สัญญาณเตือน” ว่ามีบางอย่างในกระบวนการเรียนที่ควรปรับปรุง เช่น วิธีการอ่านหนังสือ การจัดสรรเวลา หรือแม้แต่สุขภาพกายใจของเราเอง ลองเปลี่ยนมุมมองว่า F คือ Feedback มากกว่า Failure
ยอมรับผลที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา การเปิดดูผลสอบแม้จะรู้ว่าเราได้ F ต้องไม่โทษตัวเองจนเกินไป ต้องตั้งหลักอย่างมีสติ เพื่อพัฒนาและแก้ไขให้ดีขึ้น
- เกิดจากเราขาดความรู้พื้นฐานวิชาเรียนหรือไม่ ?
- เกิดจากเราไม่เข้าใจวิธีเรียนของอาจารย์หรือไม่ ?
- เกิดจากเรามีปัญหาสุขภาพกายหรือสุขภาพทางใจหรือไม่?
เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นจุดอ่อน เราจะได้รีบแก้ได้ตรงจุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการเรียนได้อีก
อาจารย์ที่สอนหรือที่ปรึกษาในภาควิชา อาจสามารถช่วยให้เราเข้าใจจุดพลาด และแนะนำแนวทางเรียนใหม่ได้ บางครั้งเราอาจไม่ต้องเรียนซ้ำวิชาทั้งหมด แต่อาจมีทางเลือกอื่น เช่น สอบซ่อม หรือทำรายงานเพิ่มเติม
- ควรอ่านหนังสือให้เข้าใจ ไม่ใช่แค่ท่องจำ
- ลองตั้งกลุ่มติวกับเพื่อน อาจช่วยให้ทำความเข้าใจง่าย และยังเปิดมุมมองการเรียนให้หลากหลายมากขึ้น
- ทดลองทำข้อสอบเก่าเป็นประจำ หรืออ่านหนังสือสรุปจากรุ่นพี่ที่เคยเรียน
วางแผนวิชาที่จะเรียนใหม่ อย่าลงเรียนหนักเกินไป ควรเว้นเวลาให้กับการกู้คืน GPA และฟื้นฟูความมั่นใจของเราให้กลับมาเรียนต่อได้ แก้ไขจุดบกพร่องและพัฒนาส่วนอื่น ๆ ให้มากขึ้น
- จัดตารางเวลาให้มีวินัย ไม่หักโหมอัดวิชาเรียนแต่ละเทอมแน่นเกินไป ทำให้เตรียมตัวสอบไม่ทัน และพลาดคะแนนได้ง่าย
- แบ่งเวลาทบทวนทุกวันสั้น ๆ แต่สม่ำเสมอ จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น และไม่หนักจนเกินไปเมื่อถึงเวลาสอบ
- พักผ่อนเพียงพอ อย่าละเลยสุขภาพจิต ช่วงเรียนมหาวิทยาลัยสุขภาพจิตสำคัญมาก ทั้งงาน กิจกรรม โปรเจคต่าง ๆ หากเครียดเกินไปย่อมส่งผลต่อผลการเรียนได้เลย
- ตั้งเป้าหมายระยะสั้น เช่น ทำคะแนนเก็บให้ได้ขั้นต่ำ 70% ช่วยให้เรามีกำลังใจการเรียนมากขึ้น เมื่อสำเร็จค่อยขยับเป้าหมายให้กว้างขึ้นได้
- อย่าลืมประเมินตัวเองทุกสัปดาห์ ว่าเข้าใจเนื้อหาจริงหรือยัง ทบทวนกับเพื่อน คนรอบตัวพูดคุยทำความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน