- ตัวอย่างอาชีพ : โปรแกรมเมอร์, นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst), วิศวกร AI, นักวิทยาศาสตร์
ข้อดี
- ความต้องการสูงในตลาดแรงงาน
- มีรายได้เฉลี่ยที่ค่อนสูง
- มีโอกาสเติบโตในยุคดิจิทัล
ข้อเสีย
- ต้องใช้ตรรกะ ความเข้าใจด้านเทคนิคสูง
- การแข่งขันสูง ต้องอัปเดตความรู้ตลอดเวลา
เหมาะกับใคร : คนที่ชอบเทคโนโลยี ชอบคิดวิเคราะห์และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
- ตัวอย่างอาชีพ : นักเขียน, นักออกแบบ UX/UI, นักจิตวิทยา, นักสื่อสารดิจิทัล
ข้อดี
- ยากที่ AI จะทดแทนได้ในแง่ของ “ความคิดสร้างสรรค์”
- เหมาะกับการสร้างแบรนด์ การทำคอนเทนต์ หรือธุรกิจออนไลน์
ข้อเสีย
- บางอาชีพรายได้ไม่แน่นอน ต้องศึกษาฐานรายได้ให้ดี
- ต้องสร้างผลงานและตัวตนให้เป็นที่รู้จัก เพื่อเชื่อมโยงวงการทำงานให้กว้างมากขึ้น
เหมาะกับใคร : คนที่ชอบงานสร้างสรรค์ เข้าใจผู้คน และชอบทำงานที่มีความหลากหลาย
ตัวอย่างอาชีพ : นักการตลาดดิจิทัล, ผู้ประกอบการ, นักวางกลยุทธ์, ที่ปรึกษาทางธุรกิจ
ข้อดี
- ยังคงต้องใช้ “ทักษะมนุษย์” ในการเจรจา บริหารจัดการ
- สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีได้หลากหลาย
ข้อเสีย
- ต้องมีความเข้าใจทั้งเรื่องเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภค
- ความสำเร็จอาจขึ้นอยู่กับประสบการณ์ อายุงานที่ได้เรียนรู้มา
เหมาะกับใคร : คนที่สนใจด้านการจัดการ มีทักษะในการสื่อสาร และอยากมีธุรกิจของตัวเอง
ตัวอย่างอาชีพ : แพทย์, พยาบาล, นักกายภาพ, โค้ชสุขภาพ, ที่ปรึกษาด้านจิตใจ
ข้อดี
- เป็นอาชีพที่ต้องมี “ความเห็นอกเห็นใจ” ซึ่ง AI แทนได้ยาก
- เป็นสายอาชีพที่มีความต้องการสูง ในสังคมสูงวัย
ข้อเสีย
- เรียนหนัก บางวิชาชีพมีความเครียดสูงและมีภาระความรับผิดชอบมาก
เหมาะกับใคร : คนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีความอดทน และต้องการความมั่นคง
อาจไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด 100% แต่เราควรถามตัวเองว่า
- เราถนัดอะไร?
- เราอยากทำงานแบบไหน?
- สายงานนั้นสามารถปรับตัวกับ AI ได้หรือไม่?