เริ่มต้นจากการแบ่งเวลาทั้งสัปดาห์ให้ชัดเจนว่าเวลางาน เวลาการเรียน และเวลาพักผ่อนอยู่ตรงไหน การใช้ตารางเวลาแบบรายวันหรือรายสัปดาห์จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมทั้งหมด และลดโอกาสที่งานหรือบทเรียนจะซ้อนทับกัน แนะนำให้ใช้แอปอย่าง Google Calendar เพื่อช่วยวางแผนอย่างมีระบบ
ไม่ใช่ทุกงานที่ “เร่งด่วนและสำคัญ” การจัดลำดับความสำคัญจะช่วยให้เราไม่เสียเวลากับสิ่งที่ไม่จำเป็น Eisenhower Matrix แบ่งงานออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
- สำคัญและเร่งด่วน
- สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน
- ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน
- ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน
ลองใช้เทคนิคนี้ทุกต้นสัปดาห์ รับรองช่วยลดความเครียดและจัดการได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นแน่นอน
สำหรับคนที่ทำงานประจำ เวลาระหว่างเดินทางหรือช่วงพักกลางวันอาจดูเล็กน้อย แต่หากใช้ให้เป็น เช่น ฟัง Podcast, ทบทวนบทเรียน หรืออ่านบทความสั้น ๆ จะช่วยเพิ่มพูนความรู้โดยไม่รบกวนตารางงานหลักเราแน่นอน
การทำงานและเรียนไปพร้อมกันไม่ใช่เรื่องง่าย อย่ากลัวที่จะพูดคุยกับหัวหน้างานหรืออาจารย์เพื่อปรับแผนให้เหมาะสมกับตารางชีวิตของเรา หากมีความชัดเจนในเป้าหมาย คนรอบข้างก็ยินดีช่วยเหลือเสมอ
อย่ามองข้าม “เวลาพักผ่อน” เพราะร่างกายและสมองที่ล้าอาจทำให้ไม่มีประสิทธิภาพทั้งในการเรียนและการทำงาน การนอนให้เพียงพอและจัดช่วงเวลาในการผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือออกไปเที่ยวทริปสั้น ๆ ช่วยให้เรากลับมามีแรงบันดาลใจอีกครั้งได้
การเรียนและทำงานพร้อมกันจะประสบผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น หากมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น จบปริญญาใน 2 ปี หรือเลื่อนตำแหน่งใน 6 เดือน แล้วค่อย ๆ ย่อยเป็นแผนรายเดือนหรือรายสัปดาห์เพื่อให้ติดตามผลได้ง่าย
ทุกสัปดาห์ให้เราลองทบทวนดูว่าแผนที่วางไว้ใช้ได้ผลหรือไม่ มีอะไรที่ต้องปรับหรือเปลี่ยนบ้าง ความยืดหยุ่นในการบริหารเวลาจะช่วยให้เราไม่รู้สึกกดดันเกินไป และสามารถรักษาสมดุลชีวิตได้อย่างยั่งยืน