หลายคนเข้าใจว่า “หางานให้ได้ก่อน แล้วค่อยว่ากัน” แต่ในความเป็นจริง การไม่มีเป้าหมายชัดเจนมักนำไปสู่ความสับสน เบื่อหน่าย และย้ายงานบ่อยโดยไม่รู้ว่าอะไรคือ เส้นทางที่ใช่ ซึ่งการมีแพลนพัฒนาอาชีพ จะช่วยให้เรามีเป้าหมาย ดังนี้
- รู้จักเป้าหมายของตัวเองชัดเจน
- ประเมินทักษะในตัวเองที่มีและสิ่งที่ต้องพัฒนาในอนาคต
- ช่วยวางแผนการเรียนรู้ เพื่อเลื่อนขั้นในสายงานในอนาคต
- เป็นการใช้เวลา 5 ปีอย่างมีประสิทธิภาพ
ปีที่ 1 ปรับตัวและเรียนรู้ให้มากที่สุด
- หางานที่ตรงกับสายที่เรียนหรือสนใจ
- เรียนรู้ระบบงาน วัฒนธรรมองค์กร และพื้นฐานในสายงานนั้น
- เริ่มพัฒนาทักษะใหม่ เช่น Excel, การสื่อสาร, การทำงานเป็นทีม, การแก้ปัญหา
- ฝึกสร้างนิสัยการเรียนรู้ต่อเนื่อง เช่น เรียนอัปสกิลคอร์สออนไลน์ทักษะต่าง ๆ เช่น การตัดต่อ การถ่ายภาพ การแต่งรูป การเขียนคอนเทนต์ เป็นต้น
ปีที่ 2 สร้างผลงานและความน่าเชื่อถือ
- สร้างผลงานที่จับต้องได้ การเข้าร่วม project เป็นทีมงานหรือฝ่ายสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อเก็บเป็น portfolio ที่นำเสนอได้
- อาจลองขอ feedback จากหัวหน้า เรื่องการทำงานเป็นยังไง ควรพัฒนาหรือปรับปรุงส่วนไหนเพิ่มเติม
- เริ่มวางเป้าหมายระยะกลาง เช่น ต้องการเลื่อนตำแหน่ง ต้องการอัปสกิลด้านไหนเพิ่มเติมเป็นพิเศษ
ปีที่ 3 พัฒนาทักษะเฉพาะทาง
- ลงลึกการทำงานในสายอาชีพที่เลือก เช่น Digital Marketing, Data Analysis ฯลฯ ให้มีทักษะเชี่ยวชาญและเฉพาะทางมากขึ้น
- อาจลงเรียนเสริม หรือสอบ certification ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มความเชี่ยวชาญในสายงานมากขึ้น
- เริ่มเข้าร่วม community หรือ network ในสายงาน เพื่อสร้างการรู้จักและติดต่อในสายงานได้ง่ายขึ้น
- สังเกตแนวโน้มตลาดแรงงาน และเตรียมตัวอัปเกรดทักษะเพิ่มขึ้น
ปีที่ 4 เติบโตสู่บทบาทที่ท้าทายขึ้น
- ขอความรับผิดชอบเพิ่มเติม เช่น นำทีมเล็กๆ หรือจัดการ project ที่คิดว่าสามารถรับผิดชอบได้เอง
- เรียนรู้ทักษะด้าน leadership, การบริหารเวลา และการคิดเชิงกลยุทธ์
- เรียนรู้การปรับ mindset จากพนักงานธรรมดา สู่ “มืออาชีพ” ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้มากขึ้น
ปีที่ 5 พร้อมสำหรับโอกาสใหม่
- ประเมินเส้นทางอาชีพที่ผ่านมาว่าตรงเป้าหมายหรือไม่
- พร้อมยื่นสมัครตำแหน่งระดับสูง หรือย้ายงานไปองค์กรที่ใหญ่ขึ้น
- ตั้งเป้าหมายชัดเจนเป็นรายปี
- จดบันทึกการเติบโต และสิ่งที่ได้เรียนรู้
- เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์
- อย่าหยุดพัฒนาทักษะด้าน soft skills เช่น การเจรจา การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม เป็นต้น