- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การวาดภาพ ระบายสี และการปั้นช่วยให้เด็กมีพื้นที่ในการทดลองและค้นพบไอเดียใหม่ๆ การฝึกฝนเหล่านี้สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบ
- พัฒนาทักษะการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม
กิจกรรมศิลปะที่ทำร่วมกัน เช่น การแสดงละครหรือการทำโครงงานศิลปะกลุ่ม ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ฝึกการฟังและการแบ่งปันความคิดเห็น
- เสริมสร้างความมั่นใจในตนเอง
เมื่อเด็กเห็นผลสำเร็จจากผลงานศิลปะของตนเอง พวกเขาจะรู้สึกภูมิใจในความสามารถ ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้พัฒนาตนเองต่อไป
- ช่วยลดความเครียดและส่งเสริมสุขภาพจิต
ศิลปะมีผลดีต่อสุขภาพจิต ช่วยลดความวิตกกังวลและเสริมสร้างสมาธิ โดยเฉพาะในเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์
โดยมีหลักเกณฑ์ให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับงานที่เลือก 3 อย่าง คือ
1. งานศิลปะนี้สร้างแรงบันดาลใจต่อตนเองอย่างไร
2. นักเรียนเคยมีประสบการณ์ทำงานศิลปะแบบนี้หรือไม่
3. เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนหรือไม่
การถามคำถาม 3 ข้อนี้จะช่วยให้คุณครูได้รับรู้ในสิ่งที่นักเรียนสนใจ และสามารถให้คำแนะนำเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนนำไปต่อยอดชิ้นงานของตนต่อไปได้
ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องมอบหมายงานโดยยึดตามหนังสือ ลองคิดโจทย์งานศิลปะที่ท้าทายให้พวกเขานักเรียน โดยอยู่ในขอบเขตของเนื้อหาที่เรียนแต่ยึดโยงกับชีวิตประจำวันของพวกเขาก็ได้ หรืออาจมีการเชิญวิทยากรมาพูดคุยสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน จะทำให้บทเรียนน่าสนใจมากขึ้น
การสอนแบบบรรยายอย่างเดียวทำให้วิชาศิลปะน่าเบื่อ การมอบหมายให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวิพากษ์งานจะทำให้คาบเรียนสนุกยิ่งขึ้น โดยในขณะที่สอนให้คุณครูนำเสนองานศิลปะ จากนั้นเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ตั้งคำถามปลายเปิดเป็นหลัก นอกจากนักเรียนจะได้มีส่วนร่วมผ่านการถาม-ตอบคำถามแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงกับเนื้อหาในบทเรียนได้อย่างไม่น่าเบื่ออีกด้วย
ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างมาก ศิลปะไม่ได้มีเพียงดินสอ สี และกระดาษ แต่ยังมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่นักเรียนสามารถนำมาสร้างสรรค์งานศิลปะได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง เกมวาดรูปที่โด่งดังและสนุกสนานอย่าง Gartic Phone วิธีเล่นของเกม Gartic phone ตัวเกมมีหลายหมวดให้เลือกสร้างสรรค์ใช้งาน คุณครูสามารถนำมาประยุกต์ได้โดยให้นักเรียนวาดภาพเล่นร่วมกันในชั้นเรียน ทั้งให้วาดเลียนแบบ วาดรูป/ตั้งชื่อส่งต่อเป็นทอด ๆ สร้างแอนิเมชันอย่างง่าย วาดเล่าเรื่องต่อกัน และอื่น ๆ หลังจากวาดครบทุกคนจะขึ้นผลงานของแต่ละคนว่า วาดออกมาเป็นอย่างไร เหมือนต้นฉบับหรือจะแปลกแหวกแนวจากต้นฉบับ ถือว่าเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจ และเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงฝีมือได้อย่างสนุกสนาน
ถ้าเป็นไปได้ และมีเวลา ให้พานักเรียนไปที่พิพิธภัณฑ์หรือ gallery เพื่อชมผลงานศิลปะของจริง จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากการดูบนหน้าจออย่างมาก หากที่ตั้งโรงเรียนไม่มีพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ ลองหางานศิลปะท้องถิ่นให้นักเรียนเข้าชมแทน เท่านั้นยังไม่พอนอกห้องเรียนไม่ได้มีเพียงสถานที่จัดงานศิลปะเพียงเท่านั้น อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเรียนรู้นอกห้องเรียนได้มากขึ้น โดยปัจจุบันมีการแสดงนิทรรศการในระบบออนไลน์มากมาย เพียงแค่คลิกเดียวก็สามารถรับชมงานศิลปะได้ทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเว็บไซต์ที่คุณครูสามารถพานักเรียนชมงานศิลปะจากทั่วโลก เช่น Google Arts & Culture, Van Gogh Museum, Musée du Louvre, British Museum และ The Vatican Museum
แหล่งข้อมูล
สอนศิลปะอย่างไรให้สร้างแรงบันดาลใจ