Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การออกแบบระบบสุขาภิบาลในอาคาร ความสำคัญและแนวทางที่ถูกต้อง

Posted By naminmin273 | 26 ธ.ค. 67
1,286 Views

  Favorite

การออกแบบระบบสุขาภิบาลในอาคาร (Sanitary System) 

เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การใช้งานอาคารมีความสะดวกสบายและถูกสุขลักษณะ การวางแผนระบบสุขาภิบาลที่เหมาะสมไม่เพียงแค่ช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังส่งผลต่อความปลอดภัยและความยั่งยืนในระยะยาว เช่น การจัดการน้ำเสีย การระบายอากาศ และการป้องกันปัญหาท่ออุดตัน

 

การนําน้ำมาใช้ หรือ การจัดการน้ำเสียทั้งภายในอาคาร และภายนอกอาคารนั้น จะต้องคำนึงถึงการจัดวางระบบระบบสุขาภิบาลที่เป็นกิจลักษณะ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม และหลักสุขอนามัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการใช้งาน  และสะดวกต่อการบํารุงรักษาตลอดอายุการใช้งาน

 

ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาในการออกแบบระบบสุขาภิบาลคือมาตรฐานและข้อบังคับด้าน สุขอนามัยในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ผู้เชี่ยวชาญที่รับผิดชอบในการออกแบบและก่อสร้างระบบสุขาภิบาลควรมีความคุ้นเคยกับกฎและข้อบังคับเหล่านี้ และต้องปฏิบัติตามเพื่อให้มั่นใจถึงสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน

 

การออกแบบระบบสุขาภิบาลที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลร้ายแรงเช่น การรั่วไหลของน้ำและความเสียหายต่อโครงสร้างอาคาร ไปจนถึงปัญหาสุขภาพของประชาชน การไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียที่ดีอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ และทำให้แบคทีเรียและโรคที่ติดต่อทางน้ำแพร่กระจาย

 

ระบบสุขาภิบาล 7 ประเภท (Types of Sanitary System)

ตามมาตรฐานการออกแบบที่ใช้ในระดับสากล และในประเทศไทย ระบบสุขาภิบาล สามารถแบ่งออกได้ 7 ระบบ ได้แก่

 

1. ระบบน้ำดี หรือน้ำประปา (Cold water pipe system)

คือ ระบบท่อที่ใช้งานในการลำเลียงน้ำสะอาดไปใช้งานตามจุดต่างๆ ภายในอาคาร เช่น ระบบน้ำประปาสำหรับห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักล้าง หรือ ระบบน้ำดับเพลิงภายในอาคาร เป็นต้น

 

2. ระบบระบายน้ำโสโครก (Soil pipe system)

คือ ระบบท่อที่นำน้ำเสียที่ถูกใช้งานจากโถส้วม หรือโถปัสสาวะออกจากพื้นที่และนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนระบายออกนอกอาคาร

 

3. ระบบระบายน้ำทิ้ง (Waste pipe system)

คือ ระบบท่อที่นำน้ำเสียที่ถูกใช้งานจากกิจกรรมอื่นๆ ออกจากพื้นที่ และนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนระบายออกนอกอาคาร

 

4. ระบบบำบัดน้ำเสีย (Water treatment system) 

คือ ระบบที่ใช้บำบัดน้ำจากการใช้งานภายในอาคาร ให้มีค่าดัชนีวัดค่าคุณสมบัติต่างๆของน้ำ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดก่อนระบายออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ

 

5. ระบบท่อระบายอากาศ หรือท่ออากาศ (Vent pipe system)  

คือ ระบบท่อที่จะติดตั้งเข้ากับระบบท่อระบายน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาสูญญากาศในเส้นท่อระบายน้ำ ซึ่งจะทำให้ระบบระบายน้ำในเส้นท่อสามารถระบายน้ำได้สะดวก

 

6. ระบบท่อระบายน้ำฝน (Rain drainage pipe system)

คือ ระบบท่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำฝนที่เกิดขึ้นกรณีฝนตกออกจากตัวอาคาร

 

7. ระบบระบายน้ำภายนอกอาคาร (Building sewer system) 

คือ ระบบท่อระบายน้ำบริเวณโดยรอบของอาคาร ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำออกจากบริเวณอาคารเข้าสู่ระบบระบายน้ำสาธารณ

 

ประโยชน์ของการออกแบบระบบสุขาภิบาลที่ดี

- เพิ่มความสะอาดและสุขอนามัย : ระบบที่ออกแบบมาอย่างดีช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเชื้อโรค

- ลดค่าใช้จ่ายระยะยาว : การออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง

- สร้างความปลอดภัย : ลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมและปัญหาท่อแตก

- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : ช่วยลดการปล่อยของเสียลงสู่ธรรมชาติ

 

 

การออกแบบระบบสุขาภิบาลในอาคาร เป็นส่วนหนึ่งของวิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ น้อง ๆ ที่สนใจเรียนควรศึกษาไว้เป็นพื้นฐานข้อมูล การออกแบบระบบสุขาภิบาลในอาคาร เป็นกระบวนการที่ต้องการความรู้และความละเอียดรอบคอบ เพื่อให้ผู้ใช้งานในอาคารได้รับความสะดวก ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ

 

 

แหล่งข้อมูล

ระบบสุขาภิบาล ในงานสถาปัตยกรรม (Building Sanitary System)

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • naminmin273
  • 0 Followers
  • Follow