สาขาวิชาคณิตศาสตร์เป็นสาขายอดนิยมต้น ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ โดยสาขานี้จะศึกษาเกี่ยวกับจำนวนโครงสร้าง ความสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลง และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข
วิชาเรียนพื้นฐานของคณิตศาสตร์ เช่น เลขคณิต พีชคณิต เรขาคณิต สถิติศาสตร์ แคลคูลัส เป็นต้น ควบคู่ไปกับวิชาชีพเฉพาะในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ เช่น คณิตศาสตร์ประยุกต์ คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คณิตศาสตร์เชิงทฤษฎี เป็นต้น
อาชีพหลังเรียนจบ ที่สามารถทำได้
- นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิชาการ
- วิศวกร สถาปนิก
- ครูอาจารย์
- นักธุรกิจ
- การเงินการลงทุน
- ประกันภัย
- คอมพิวเตอร์
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นอีกสาขาที่มาแรงและนิยมมากในคณะวิทยาศาสตร์ โดยสาขานี้ศึกษาเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีการคำนวณ การพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงโครงสร้างข้อมูล อัลกอริทึม ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่นิยมในตลาดอาชีพของอนาคต
การเรียนจะเรียนวิชาพื้นฐานควบคู่ไปกับวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์ การออกแบบและพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ วิทยาการข้อมูล วิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงกราฟ เป็นต้น
อาชีพหลังเรียนจบ ที่สามารถทำได้
- นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักวิจัย นักวิชาการ
- วิศวกรซอฟต์แวร์ สถาปนิกซอฟต์แวร์
- ครูอาจารย์
- นักธุรกิจ
- การเงินการลงทุน
- สายประกันภัย
- โปรแกรมเมอร์
- นักวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
- ผู้พัฒนาเกม
- สายอาชีพเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI)
เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์ โดยมุ่งเน้นให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพอย่างลึกซึ้ง และสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพไปประยุกต์ใช้กับการดูแลสุขภาพและการรักษาโรค การเรียนวิชาพื้นฐานของวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น ชีววิทยา สรีรวิทยา พยาธิวิทยา เภสัชวิทยา จุลชีววิทยา เป็นต้น
อาชีพหลังเรียนจบ ที่สามารถทำได้
- นักกายภาพบำบัด
- นักจิตวิทยาคลินิก
- นักเวชศาสตร์การกีฬา
- นักเทคนิคการแพทย์
เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร ปฏิกิริยาเคมี รวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสาร
วิชาพื้นฐานของเคมี เช่น สารเคมี พันธะเคมี โครงสร้างโมเลกุล คุณสมบัติของสารเคมี ปฏิกิริยาเคมี กลไกปฏิกิริยาเคมี ควบคู่ไปกับวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชาเคมี เช่น เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ เคมีวิเคราะห์ เคมีฟิสิกส์ เคมีอุตสาหกรรม เป็นต้น
อาชีพหลังเรียนจบ ที่สามารถทำได้
- นักวิจัยและพัฒนา/นักวิเคราะห์ควบคุมคุณภาพและกระบวนการผลิต
- นักประกันคุณภาพ
- กรมทรัพยากรธรณี
- กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กองทัพและกองพิสูจน์หลักฐาน
- วิศวกร เคมีภัณฑ์
- วิศวกรสิ่งแวดล้อม
เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับด้านการแปรรูปอาหาร การจัดการและการติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อการแปรรูปวัตถุดิบการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร การบรรจุหีบห่อ การตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
อาชีพหลังเรียนจบ ที่สามารถทำได้
- นักวิชาการ
- ฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร
- นักวิชาการ ในหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น