Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้กับทีมงาน: วิธีเพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจในงาน

Posted By Kung_nadthanan | 13 พ.ย. 67
139 Views

  Favorite

 

การสร้างแรงจูงใจในทีมงานเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานและสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี การที่พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานไม่เพียงแต่ทำให้งานสำเร็จลุล่วง แต่ยังช่วยให้พวกเขารู้สึกมีคุณค่าและพร้อมพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นบทความนี้จะนำเสนอวิธีการสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงาน ซึ่งเหมาะกับผู้ประกอบการที่ต้องการให้ทีมงานของตนทำงานอย่างเต็มที่และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

แนวคิดสร้างแรงจูงใจในการทำงาน

ด้วยอัตราความต้องการของตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้น พอๆ กับอัตราการลาออกที่เพิ่มขึ้น ทำให้องค์กรต้องมีวิธีการในการดึงดูดพนักงานชั้นดีให้ยังทำงานอยู่กับองค์กร อย่างการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังอยากทำงานอยู่กับองค์กรต่อไปในอนาคต 

เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงาน

1. สร้างเป้าหมายที่ชัดเจน

การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมจะช่วยให้ทีมงานเข้าใจว่าพวกเขาควรมุ่งเน้นทำงานด้านใด การตั้งเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวทำให้พนักงานมีทิศทางในการทำงาน และรู้สึกท้าทายในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการแบ่งเป้าหมายออกเป็นส่วนย่อยๆ จะช่วยลดความกดดันและทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างแท้จริง

2. ให้การยอมรับและให้รางวัล

การให้รางวัลและการยอมรับเมื่อพนักงานทำงานได้ดีเป็นวิธีการที่ช่วยกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จ การให้คำชมเชย การมอบรางวัล เช่น โบนัสหรือวันหยุดพิเศษ เป็นสิ่งที่ทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนมีความสำคัญและผลงานได้รับการยอมรับจากผู้บริหาร

3. สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานจะช่วยให้พนักงานรู้สึกสะดวกสบายและพร้อมทำงานอย่างเต็มที่ องค์กรควรมีสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดเห็น สถานที่ทำงานควรสะอาด ปลอดภัย และมีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานอย่างครบถ้วน

4. พัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะให้พนักงาน

การจัดฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ที่คุ้มค่า การให้โอกาสพนักงานได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือเพิ่มพูนทักษะที่จำเป็นทำให้พวกเขารู้สึกว่าองค์กรใส่ใจในการเติบโตและพัฒนาตนเอง ซึ่งช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำงานในระยะยาว

5. ให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

การสื่อสารที่ชัดเจนและโปร่งใสช่วยให้พนักงานเข้าใจบทบาทและความคาดหวังในงาน ผู้บริหารควรมีการประชุมทีมอย่างสม่ำเสมอเพื่ออัปเดตความคืบหน้าและให้คำแนะนำ รวมถึงควรเปิดโอกาสให้พนักงานสอบถามหรือเสนอความคิดเห็น ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและแรงจูงใจในการทำงานให้กับทีมงานได้มากขึ้น

6. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นกันเอง

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความเป็นกันเอง เปิดโอกาสให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวองค์กร จะทำให้พวกเขารู้สึกผูกพันและมีแรงจูงใจในการทำงาน การจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น กิจกรรมเพื่อสังคมหรือกิจกรรมสันทนาการ จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทีมงานให้แน่นแฟ้นขึ้น

7. ให้ความสำคัญกับสวัสดิการ 

สวัสดิการเป็นอีกสิ่งที่พนักงานมักให้ความสำคัญอย่างมาก องค์กรสามารถใช้สวัสดิการที่ดีเป็นแรงจูงใจให้กับพนักงานได้ เช่น สวัสดิการท่องเที่ยวต่างประเทศ หากมีการทำผลงานออกมาได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ สวัสดิการในการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นการออกกำลังกาย คอร์สการเล่นกีฬาต่างๆ สวัสดิการในการเรียนเพื่อเพิ่มทักษะในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาษาที่สามเพิ่มเติม หรือจัดการอบรมการใช้โปรแกรมที่จำเป็นกับการทำงาน

8. ให้ความสำคัญกับเวลาส่วนตัวของพนักงาน 

การให้ความสำคัญกับเวลาส่วนตัวของพนักงานนั้น เป็นส่วนที่ช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำงานได้ดีเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มวันหยุด วันลาพักร้อน ให้พนักงานมีวันหยุดเพิ่มขึ้น หรือการเลิกงานเร็วขึ้นเพื่อเพิ่มเวลาในการทำธุระส่วนตัวของพนักงาน รวมถึงการให้เวลาส่วนตัวกับพนักงานในวันที่มีการลางาน คือไม่ทวงถามงาน คุยเรื่องงานในวันที่พนักงานลา หรือคุยงานนอกเวลา เพื่อให้พนักงานได้มีเวลาพักผ่อนได้อย่างเต็มที่

9. ทำให้พวกเขารู้สึกเป็นส่วนสำคัญขององค์กร 

การทำให้พนักงานรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญในองค์กร การทำงานในหน้าที่หรือตำแหน่งของเขานั้นมีส่วนช่วยให้ องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ เมื่อองค์เกิดการพัฒนาหรือสร้างผลงานที่ดีออกมาได้ จึงทำให้เกิดความภูมิใจร่วมกัน รู้สึกถึงการเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน ถือเป็นอีกแรงจูงใจในการทำงานได้ดีขึ้น เกิดการทำงานที่ทุ่มเท ตั้งใจ ในการสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ออกมาได้มากขึ้น 

10. โปร่งใส และชัดเจน 

การเข้าใจภาพรวมว่าธุรกิจดำเนินไปอย่างไรบ้าง เป็นหนึ่งในวิธีสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในการทํางาน เพราะเมื่อพนักงานเห็นภาพใหญ่ ก็จะเข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองมากขึ้น รวมถึงรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับธุรกิจมากขึ้นด้วย ดังนั้น ควรแบ่งปันข้อมูลที่โปร่งใสและชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจกับพนักงานเป็นประจำ

11. เข้าใจแรงผลักดันและความแตกต่างของแต่ละคน 

การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานที่ดี คือการค้นหาสิ่งที่จูงใจของพนักงานแต่ละคน เพราะไม่ใช่ทุกคนจะมีแรงจูงใจในลักษณะเดียวกัน เงินและรางวัลไม่ได้ส่งเสริมให้พนักงานทำงานหนักขึ้นเสมอไป  บางคนอาจรู้สึกว่าเส้นทางอาชีพของตนสำคัญกว่าสิ่งจูงใจภายนอกเหล่านี้ ควรพูดคุยและถามว่าอะไรเป็นกุญแจที่กระตุ้นให้พวกเขาอยากทำงาน หรือทำแบบสำรวจแรงจูงใจของพนักงานก็ได้

12. ให้อิสระในการทำงาน 

การให้พนักงานมีอิสระและไว้วางใจพนักงาน โดยไม่ต้องคอยตรวจสอบอยู่ตลอดเวลาก็เป็นหนึ่งในวิธีการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานที่ดี เพราจะทำให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และรู้สึกว่าได้รับความเชื่อใจ จึงกล้าแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาให้เต็มที่ขึ้น

 

การประยุกต์ใช้วิธีสร้างแรงจูงใจในการทำงานกับองค์กร

การเลือกใช้วิธีการสร้างแรงจูงใจ รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้กับแต่ละองค์กรนั้นไม่เหมือนกัน จึงควรสร้างความเข้าใจในทิศทางการสร้างแรงจูงใจที่ตรงกันก่อน การมองหาปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร แล้วจึงนำวิธีต่างๆ ไปประยุกต์และปรับใช้ให้ตรงกับจุดประสงค์นั้นๆ รวมถึงการพูดคุย รับฟังปัญหาข้อติชมต่างๆ จากตัวพนักงานผู้บริหาร ก่อนที่จะมีการนำวิธีการหรือนโยบายเข้ามาใช้งานจริงภายในองค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนา และเกิดผลลัพธ์ที่น่าพอใจตามที่มีการวางแผนเอาไว้ รวมถึงช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในองค์กร และเกิดบรรยากาศการทำงานที่ช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่ดีได้

ข้อดีของการสร้างแรงจูงใจให้ทีมงาน

- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน: ทีมงานที่มีแรงจูงใจจะทำงานได้เร็วขึ้นและมีคุณภาพมากขึ้น

- เสริมสร้างความผูกพันกับองค์กร: การมีแรงจูงใจช่วยให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ลดอัตราการลาออก

- สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน: การสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานทำให้บรรยากาศการทำงานเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นและกำลังใจ

 

สัญญาณที่บอกว่าพนักงานขาดแรงจูงใจ

หลังภาวะเศรษฐกิจถดถอย พนักงานหลายคนรู้สึกสูญเสียแรงจูงใจในการทำงานด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ความเครียดและความไม่พอใจในงาน คุณจึงต้องตระหนักถึงสัญญาณของพนักงานที่กำลังขาดแรงจูงใจ และสัญญาณที่จะบอกได้นั้น มีดังนี้

- ผลผลิตและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอาจลดลง

- เข้างานสายขึ้น หรือพักเที่ยงนานเกินเวลา

- มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านบุคลิกภาพและพฤติกรรม เช่น หงุดหงิดหรือโมโหง่าย

- ได้รับการร้องเรียนจากลูกค้า หรือความคิดเห็นของพนักงานคนอื่นๆ เกี่ยวกับทัศนคติหรือการกระทำของพนักงานรายใดรายหนึ่ง

- ปลีกตัวออกจากวงสังคม เริ่มไม่มีส่วนร่วมกับทีม หรือมีการเว้นระยะห่างจากพนักงานคนอื่นๆ

- ส่งงานช้าเกินกำหนดเวลา

- มีอัตราการลาออกที่สูงขึ้น

 

นับได้ว่าทรัพยากรบุคคลเป็นฟันเฟืองสำคัญในธุรกิจ การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มความสำเร็จให้แก่องค์กรได้ โดยวิธีสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในการทํางานต้องเริ่มต้นจากการมีเป้าหมายที่พนักงานมองเห็นได้ มีความชัดเจนในการบริหาร เข้าใจแรงผลักดันของแต่ละคน สร้างสภาพแวดล้อมที่ตอบโจทย์การทำงานของพนักงาน และสื่อสารกันอยู่เสมอ รวมถึงค่าตอบแทนและการมอบโอกาสในการก้าวหน้าก็สำคัญไม่แพ้กัน

 

ข้อมูลอ้างอิง

HumanSoft

Racho Charawee

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Kung_nadthanan
  • 0 Followers
  • Follow