Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ขึ้น ม.ปลาย ต้องปรับตัวอย่างไร วางแผนเรื่องอะไรบ้าง

Posted By Plook TCAS | 29 ก.พ. 67
72 Views

  Favorite

การเรียนในระดับ ม.ปลาย ต้องเตรียมตัวหลายด้าน เพราะเป็นช่วงการเรียนที่ต้องใช้เวลาสะสมความรู้ ผบงาน ประสบการณ์ เพื่อต่อยอดไปสู่การเรียนในมหาวิทยาลัย จึงเป็น 3 ปีที่สำคัญมาก และควรเรียนอย่างมีแผนที่ชัดเจน และสนุกไปกับการเรียน พร้อม ๆ กัน ขึ้น ม.ปลาย ต้องปรับตัวอย่างไร วางแผนเรื่องอะไรบ้างมาดูกัน

 

GPAX ดีเพิ่มโอกาสสอบติด

การมีคะแนน GPAX ที่ดี เป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจ และควรรักษาเกรดรายวิชาออกมาให้ดี เพราะ GPAX เป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญ ที่มีอยู่ในเกณฑ์คัดเลือกของแต่ละมหาวิทยาลัย ในแต่ละรอบของการเข้ามหาวิทยาลัย ฉะนั้นห้ามละเลยเรื่องนี้เด็ดขาด มี GPAX ปังจติดตัว ปลอดภัยไว้ก่อนนะ

 

ให้เวลากับการค้นหาตัวตน

เรื่องนี้สำคัญมาก จะเรียนต่อด้านไหน เราควรต้องรู้ตัวเองให้เร็วที่สุด อยู่ ม. 5 สามารถศึกษาหาข้อมูล เพื่อรู้สิ่งที่ต้องการจะเรียนไว้ก่อนล่วงหน้าได้เลย อย่ารอเวลาให้ไปถึง ม. 6 ตัดสินใจำด้ก่อน รู้ความต้องการตัวเองก่อน เตรียมความพร้อมได้ก่อน และสามารถใช้เวลาลองผิดลองถูก ศึกษาจนแน่ใจได้ว่า เราชอบและสนใจสิ่งนั้นจริง ๆ รวมทั้งเป็นการกลับมาเช็คตัวเองได้ก่อน ว่าเรามีทักษะตรงกันกับที่สิ่งอยากเรียนไหม ขาดตรงไหนก็มีเวลาพัฒนาเพิ่มได้

 

แยกประเภทสิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจน

สิ่งที่ต้องทำมีทั้งสิ่งที่จำเป็นต้องทำ และสิ่งที่เราอยากจะทำ หลายครั้งที่สิ่งที่อยากทำ มักกินเวลาของสิ่งที่ต้องทำ เราจึงจำเป็นต้องแยกให้ชัดเจน โดยให้น้อง ๆ ลิสหัวข้อที่ต้องทำทั้ง 2 ประเภทออกมา แล้วจัดลำดับจัดตารางและเวลา โดยให้ความสำคัญในสิ่งที่จำเป็นต้องทำก่อน เช่น อ่านหนังสือ ฝึกทำข้อสอบ สรุปเนื้อหา ทำการบ้าน ทวนเนื้อหาที่เรียน ทั้งหมดนี้คือกลุ่มของกิจกรรมที่จำเป็นต้องทำ เมื่อจัดตารางส่วนนี้แล้ว ค่อยเอากิจกรรมที่เราอยากทำ ใส่ลงไปในช่วงเวลาที่หลงเหลือ 

 

ให้เวลากับการสะสมผลงาน

จะติดมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีแค่รอบเดียว บางรอบใช้คะแนนจากผลงานเฉพาะด้านที่ตรงสาขา ฉะนั้นน้อง ๆ จำเป็นต้องมีผลงานที่ผลิตขึ้นมาเอง หรือเกิดจากการประกวดแข่งขัน ซึ่งต้องแบ่งเวลามาทำผลงาน และควรตั้งใจทำออกมาให้ดี


 

บริหารเวลากิจกรรมอย่างพอดี

การให้เวลากับการทำกิจกรรมทุกแบบ เป็นสิ่งสำคัญที่ควรบริหารให้ดี ทำมากไปก็ไม่ดี ทำน้อยไปก็ไม่ดี ควรอยู่บนความพอดี และไม่ควรเอนเอียงไปด้านไหนมากเกินไป จนกินเวลาส่วนอื่น โดยเฉพาะไม่ควรเทเวลาไปส่วนที่เป็นกิจกรรมที่อยากทำมากเกินไป จนเหลือเวลาทำกิจกรรมที่ควรทำ อย่าง กิจกรรมเตรียมสอบ น้อยลง

 

ไม่ควรทำให้เสร็จที่จะอย่าง 

หลายคนวางแผนกิจกรรมไปกับการบริหรเวลาไว้เยอะมาก แต่สุดท้ายทำครอบทุกอย่าง แต่ไม่เสร็จสักอย่าง แบบนี้ก็ไม่โอเคนะน้อง ๆ เราควรจะทำให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไป จะช่วยให้เรามีลำดับการใช้ชีวิตมากขึ้น เพราะการทำครบแต่ไม่เสร็จ เป็นเหมือนการทำอะไรไม่บรรลุผล เช่น ทำข้อสอบเก่าแล้ว อ่านหนังสือแล้ว ถึงจะทำแล้วแต่ทำไม่ครบ อ่านไม่จบ ทำข้อสอบไม่ครบทั้งชุด ทำแค่พอให้ได้ทำแบบนี้ถือว่า ไม่ช่วยให้การเตรียมตัวเกิดผลที่ดี และจะทำให้พลาดข้อมูลสำคัญ ที่นำไปใช้ในการสอบได้ด้วย

 

ทำบันทึกความสำเร็จของกิจกรรม

To do list เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารเวลาได้ โดยให้เราบันทึกไว้เลยว่า สิ่งที่เราต้องทำ ทั้งที่จำเป็นต้องทำและอยากทำมีอะไรบ้าง โดยให้น้อง ๆ ทำเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือนก็ได้ จากนั้นก็ทำตามตารางที่ทำไว้ แล้วกลับมาเช็คว่า เราทำอะไรไปบ้าง ขาดอะไรอยู่ จะได้เป็นการเตือนตัวเองอยู่ตลอดว่า เรามีแผนอะไรอยู่นั้นเอง

 

บริหารเวลา  Social Media ให้เป็น

Social Media สามารถเล่นได้ แต่ต้องเล่นในขอบเขตของเวลาที่พอดี ไม่เล่นจนกินเวลาเตรียมสอบ หรือเล่นจนกินเวลาทำกิจกรรมสร้างผลงาน หรือแม้กระทั่งเล่นจนกินเวลาพักผ่อน ก็ไม่ควร Social Media เป็นแค่กิจกรรมเสริม คลายเครียด หรือเล่นฆ่าเวลาเท่านั้น อย่าให้เวลามากเกินไป ต้องมีเวลาทำกิจกรรมตามแผน และมีเวลาให้กับสังคมรอบตัว

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook TCAS
  • 29 Followers
  • Follow