Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ทักษะความคิดสร้างสรรค์

Posted By PlookExplorer1 | 14 พ.ค. 66
18,003 Views

  Favorite

ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking Skill) คือ ความสามารถในการมองสิ่งต่างๆ อย่างแตกต่าง และค้นหาวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา การใช้ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนทำงานสายศิลปะ ศิลปินและนักดนตรีเท่านั้น เราทุกคน ทุกสายงาน ทุกอาชีพ ล้วนจำเป็นต้องใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานและดำเนินชีวิตส่วนตัว 

ประโยชน์ของทักษะความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้เราท้าท้ายกับสมมติฐานของตัวเอง ค้นพบสิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับตัวเราเองและมุมมองของตัวเอง รักษาปัญญาให้เฉียบแหลม และมองโลกในแง่ดีมากขึ้น ทักษะความคิดสร้างสรรค์จะทำให้เราแก้ปัญหาได้ดีขึ้นไม่ว่าจะในการทำงานและชีวิตส่วนตัว 

1. พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา

ทักษะความคิดสร้างสรรค์จะช่วยพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา ทำให้แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งปัญหาในเรื่องการทำงานและเรื่องส่วนตัว เมื่อเราคุ้นเคยกับการใช้เทคนิคต่างๆ มากขึ้นก็จะรู้จักรูปแบบที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน 

2. ความสัมพันธ์กับผู้อื่นเหนียวแน่นขึ้น

ความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เราสื่อสารความคิดได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งนำไปสู่การสนทนาและความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้วิธีการคิดเชิงสร้างสรรค์หลายๆ วิธียังทำงานได้ดีที่สุดเมื่อทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ร่วมกันสามารถกระชับความสัมพันธ์และช่วยผสานแนวคิดต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างแท้จริง 

3. สร้างสรรค์ผลงานได้เพิ่มขึ้น

การมีส่วนร่วมในกลยุทธ์การคิดเชิงสร้างสรรค์จะทำให้เรามีแรงจูงใจ กระตุ้นความหลงใหล และช่วยให้เราค้นพบวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ เมื่อเจออุปสรรค ซึ่งส่งผลให้ทำงานหรือสร้างผลงานได้มากและดีขึ้น 

4. รู้จักตัวเองมากขึ้น

ความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เราได้ลองใช้มุมมองที่เราอาจไม่เคยพิจารณาถึงมาก่อน ขณะที่เราสำรวจมุมมองใหม่ๆ อาจทำให้ค้นพบบางอย่างเกี่ยวกับสมมติฐาน มุมมอง อคติของตัวเองที่ไม่เคยสังเกตมาก่อน การท้าทายวิธีคิดแบบเดิมๆ จะช่วยเพิ่มความตระหนักรู้ในตนเอง และสร้างความฉลาดทางอารมณ์ นอกจากนี้ความคิดสร้างสรรค์ยังช่วยเสริมสร้างความสามารถในการปรับมุมมองและควบคุมวิธีคิดหรือทัศนคติเชิงบวกอีกด้วย 

ทักษะความคิดสร้างสรรค์
ภาพ : shutterstock.com

ลักษณะของคนที่มีทักษะความคิดสร้างสรรค์

1. ชอบตั้งคำถาม มีความอยากรู้อยากเห็น มักตั้งคำถาม “ทำไม?” “ทำไมไม่เป็นอย่างนั้นล่ะ?” “ทำไมไม่ได้ล่ะ?” กับเรื่องราวต่างๆ อยู่เสมอ 

2. ไม่ยึดติดกับความคิดหรือวิธีเดิมๆ มีวิธีคิดแบบ Zero Based Thinking คือ ไม่ยึดติดกับแนวคิดหรือวิธีคิดแบบเดิมๆ ไม่มีอคติและทัศนคติแบบเหมารวม โดยจะคิดเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ มีความคิดที่กว้างไกล

3. เปิดใจ ยินดีรับฟังความคิดเห็นหรือมุมมองของผู้อื่น และมักสนุกกับการทดลองแนวคิดหรือวิธีการใหม่ๆ ในการทำงาน 

4. ยอมรับเมื่อผิดพลาด เมื่อเกิดความผิดพลาดจะยืดอกยอมรับว่าตัวเองตัดสินใจพลาด คิดหรือใช้วิธีที่ผิด และจะเป็นคนเปิดใจกว้าง ยืดหยุ่น เต็มใจที่เปลี่ยนความคิดใหม่ 

5. มีความยืดหยุ่น ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้ รับฟังมุมมองหรือแนวคิดของผู้อื่นและยอมรับหากไม่เคยรู้และเข้าใจในความคิดนั้นมาก่อน คนที่มีทักษะความคิดสร้างสรรค์นอกจากยอมรับความผิดพลาดแล้วยังมองว่าเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่และเติบโตจากความผิดพลาดนั้น

6. ไม่ทะนงตัว เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่เห็นแก่ตัว ให้ความสำคัญกับความถูกต้องมากกว่าใครเป็นคนถูก เต็มใจรับฟังความคิดผู้อื่นเพื่อข้ามผ่านอุปสรรคหรือแก้ปัญหาให้บรรลุเป้าหมาย 

7. เรียนรู้อยู่เสมอ เป็นคนที่กล้าจะพูดว่า “ฉันไม่รู้” เพราะตระหนักดีว่าคนเราไม่ได้รู้ไปทุกอย่าง เมื่อไม่รู้ก็จะค้นหาคำตอบ ยิ่งทำให้ได้เรียนรู้มากขึ้น

 

อาชีพที่เหมาะสมกับทักษะความคิดสร้างสรรค์

นักออกแบบกราฟฟิก (Graphic designer) ด้วยหน้าที่การทำงานที่ต้องออกแบบภาพ โฆษณา โลโก้ งานพิมพ์ต่างๆ ความคิดสร้างสรรค์จึงจำเป็นอย่างยิ่ง

ทนายความ จำเป็นต้องใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการตีความกฎหมาย, คำพิพากษา และคดีเฉพาะของลูกความ 

นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จำเป็นต้องใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการระดมสมองหาความคิดใหม่ๆ และความคิดนอกกรอบสำหรับการทดลองและการวิจัย 

นักการตลาดออนไลน์ (Digital marketer) อาชีพนี้ต้องใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการสร้าง generate traffic ปรับปรุงประสิทธิภาพแคมเปญ และเพิ่มการเปลี่ยนแปลงสำหรับการเข้าชมออนไลน์

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • PlookExplorer1
  • 1 Followers
  • Follow