Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ

Posted By Plook Magazine | 24 มี.ค. 66
627 Views

  Favorite

“อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ” 

“อยากทำสตาร์ทอัพ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง” 

ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพแบบเจาะลึก ว่าความหมาย และขอบเขตประเภทของธุรกิจ Startup มีอะไร และ 10 ธุรกิจ Startup มาแรงในประเทศไทย เพื่อให้คนที่สนใจทำธุรกิจสตาร์ทอัพได้ศึกษาเบื้องต้นก่อนลงมือทำจริง พร้อมเผยเทรนด์ธุรกิจสตาร์ทอัพ 10 อันดับที่มาแรงจากการสำรวจของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้สำรวจเอาไว้ประจำปี 2023

 

trueplookpanya

 

ธุรกิจ Startup คืออะไร

สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจคือ ‘Startup’ มาจากไหน ? เมื่อก่อนคำว่า ‘Startup’ เป็นคำศัพท์ที่นิยมใช้กันเฉพาะใน Silicon Valley สหรัฐอเมริกา ใช้สำหรับเรียกบริษัทน้องใหม่มาแรง ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีเป็นหลักต่อมาก็ถูกใช้เรียกไปทั่วโลก โดยความหมายของสตาร์ทอัพก็คือ เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็ก ๆ แต่เติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด คำว่าเติบโตเร็วในที่นี้หมายถึงเติบโตเร็วมาก ๆ ภายใน 3 เดือน ถึง 1 ปี ด้วยมูลค่าหลายแสนล้าน โดยเป็นธุรกิจที่ีมีลักษณะทำได้ไม่ยาก ขยายกิจการได้ง่าย และที่สำคัญต้องมีการใช้เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตมาเป็นหัวใจหลักในการทำธุรกิจ โดยมักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียและยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน 

 

ธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ

shutterstock/ Michael Vi

 

ตัวอย่างธุรกิจสตาร์ทอัพที่โด่งดังในอดีตที่รู้จักไปทั่วโลกคงหนีไม่พ้น Google, PayPal, Twitter และ Facebook ที่ถือว่าเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่เติบโตอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่เดือน ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ก็มีธุรกิจสตาร์ทอัพที่กำลังเกิดใหม่นั่นก็คือ สตาร์ทอัพสัญชาติออสเตรเลีย ก่อตั้งโดยคู่สามีภรรยา Melanie Perkins กับ Cliff Obrecht และ Cameron Adams ที่เริ่มต้นธุรกิจในห้องนั่งเล่น จากไอเดียที่ว่า ‘เว็บไซต์ที่ใคร ๆ ก็สร้างงานดีไซน์ได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องมีพื้นฐานมาก่อน’  จากปัญหาของคนทั่วโลกส่วนใหญ่ที่ต้องการทำเรซูเม่สมัครงาน, โลโก้, โพสต์ Social Media, โปสเตอร์ หรือวิดีโอ แต่ว่าพวกเขาอาจทำไม่เป็น หรือทำเป็นแต่ว่าทำไม่สวย Canva จึงได้สร้างเว็บไซต์ที่ให้ใครก็ได้มาใช้งานได้ฟรี 

ปัจจุบัน Canva ถูกประเมินมูลค่าบริษัทล่าสุดไปที่ 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 4 แสนล้านบาท Canva ก้าวขึ้นเป็น Startup อันดับที่ 5 ของโลกในปี 2021 ด้วยการประเมินมูลค่าบริษัทกว่า 1.2 ล้านล้านบาท และเป็นเครื่องมือขวัญใจของคนที่ไม่ใช่กราฟฟิกดีไซเนอร์หรือแม้แต่กราฟฟิกดีไซเนอร์ทั่วโลกก็ยังใช้ Canva 

ธุรกิจสตาร์ทอัพสัญชาติเอเชีย 

shutterstock/ Shalstock

 

ส่วนสตาร์ทอัพฝั่งเอเชียที่คนไทยน่าจะรู้จักและเคยใช้บริการก็คือ Grab Taxi หรือ Grab สตาร์ทอัพจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้ไอเดียจากปัญหาของการเรียกแท็กซี่ที่บางครั้งก็จอดรับบ้าง ไม่จอดรับบ้าง ต้องเดินออกไปเรียกบ้าง บางครั้งก็ไม่สะดวก จึงสร้างแอปพลิเคชันขึ้นมาให้ลูกค้าเรียกแท็กซี่ผ่านแอปฯ โดยก่อตั้งเมื่อปี 2012 ซึ่งปัจจุบันมีคนใช้บริการกว่า 10 ล้านคน ครอบคลุม 6 ประเทศ และเพียงแค่ 4 ปี ก็มีมูลค่าธุรกิจสูงถึงแสนล้านบาท ($3 Billion) 


สำหรับประเทศไทยแล้ว แม้จะยังไม่มีธุรกิจสตาร์ทอัพไหนที่ทำรายได้สูงเหมือนอย่าง Grab Taxi หรือ Grab หรือธุรกิจสตาร์ทอัพต่างประเทศ แต่ก็มีอยู่หนึ่งธุรกิจที่ถือว่าเป็นสตาร์ทอัพรุ่นพี่ซึ่งทำผลงานได้ดีนั่นก็คือ Ookbee แพลตฟอร์มหนังสือออนไลน์ หรือว่า E-Book ซึ่งเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2011 ที่ให้บริการด้านการอ่านออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสารฉบับภาษาไทยไว้มากมาย ปัจจุบัน Ookbee ถือว่าเป็นร้านหนังสือ E-Book ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีผู้ใช้งานมากกว่า 8.5 ล้านคน และขยายเข้าสู่ประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซียได้สำเร็จ

 

10 ธุรกิจ Startup ที่มาแรง

shutterstock/ Chaay_Tee

 

แล้วธุรกิจสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีหรือว่าอินเทอร์เน็ตที่มาแรงและมีโอกาสทางธุรกิจสูงในประเทศไทยมีอะไรบ้าง ? 

  1. Edtech ธุรกิจที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการศึกษา เพื่อให้คนทุกเพศ ทุกวัยสามารถเข้าถึงการศึกษาได้เท่าเทียมกัน โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เช่น Globish แหล่งเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยชาวต่างชาติที่สามารถเรียนได้ 24 ชั่วโมง

  2. Financial Technology ธุรกิจประเทศซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชันที่ให้บริการด้านการเงิน การลงทุนให้เป็นเรื่องง่าย ทำที่ไหนก็ได้เช่น Jitaweath แอปพลิเคชันสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนทุกรูปแบบ พร้อมเสิร์ฟความรู้ด้านการเงินและมีที่ปรึกษาให้ภายในแอปฯ 

  3. Travel Technology คือธุรกิจที่อาจเป็นเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน บริษัทที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยว การทำ E-commerce ดีลดี ๆ การบริการพยาบาลเพื่อให้คนที่ชอบเที่ยวประหยัดค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น Local Alike บริษัทท่องเที่ยวที่จะให้บริการและประสบการณ์การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนเป็นหลัก

  4. Marketing Technology ธุรกิจที่ให้บริการด้านการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการทำแคมเปญ การสื่อสารกับลูกค้าที่วัดได้ เช่น Infofed บริษัทที่รับทำ ออกแบบ จัดอีเวนต์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์เกี่ยวกับกีฬา E-Sport ทั้งหมด ทั้งในประเทศและประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

  5. Lifestyle and Entertainment ธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์และความบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ เช่น จัดหางาน จองคิวร้านอาหาร ซื้อตั๋วภาพยนตร์ ตั๋วคอนเสิร์ต หาคู่ เป็นต้น เช่น QueQ แอปพลิเคชันจองคิวชื่อดัง 
     

 

shutterstock/ Akarawut
 
  1. Logistic Service ธุรกิจเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้า เพื่อให้ลูกค้าประหยัดเวลาในการส่งของ รับของและรับรองความปลอดภัยของสินค้าจนกว่าจะถึงมือผู้รับ เช่น SHIPPOP บริษัทขนส่ง One stop service ที่ให้บริการ Delivery ทั้งในและนอกประเทศในราคาถูก ช่วย SMEs ในการจัดส่งของอีกด้วย 

  2. Food Technology และ Agrotechnology ธุรกิจด้านการจัดหาอาหาร เครื่องดื่ม และการเพาะปลูก ที่มีลักษณะเฉพาะเป็นการให้บริการโดยไม่ผ่านคนกลาง หรือเป็นสินค้าทางเลือกที่ผู้ใช้งานสามารถซื้อสินค้าและบริการผ่านร้านค้าได้เอง โดยส่วนใหญ่จะใช้เทคโนโลยี Internet of things, Big data และ AI มาช่วยวิเคราะห์ เช่น Sweet Plant Based Foods แอปฯ ขายอาหารที่ทำจากพืชทั้งหมดจากเชียงใหม่ 

  3. Industry Tech ธุรกิจจัดการให้บริการด้านเครื่องมือหนักหรือวิศวกรที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ประหยัดเวลา ปลอดภัยได้มาตรฐานและคุมต้นทุนได้ เช่น  BUILK แอปพลิเคชัันก่อสร้างฟรีรายแรกในเอเชีย ภายใต้แนวคิดที่ต้องการจะพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ก้าวสู่โลกดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ 

  4. Medical Technology ธุรกิจที่ให้บริการด้านเครื่องมือ เทคโนโลยี หรือให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแพทย์อย่างเต็มรูปแบบ เช่น แอปพลิเคชัน Smile Migraine แอปฯ ให้คำปรึกษา วิเคราะห์ บันทึกอาการ รักษาและแนะนำเกี่ยวกับโรคไมเกรนอย่างเต็มรูปแบบ 

  5. PropertyTech ธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับการทำอสังหาฯ ที่อยู่อาศัยทั้งส่วนบุคคลและธุรกิจ เช่น แอปพลิเคชัน Baania แอปฯ สำหรับคนอยากขายบ้าน เช่าบ้าน หรือซื้อบ้านในกรุงเทพฯ  

 

จะเห็นได้ว่าประเภทของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพนั้น ครอบคลุมหลากหลายธุรกิจทั้งไลฟ์สไตล์ การแพทย์ เกม และบ้าน ดูเผิน ๆ แล้วแทบจะไม่มีอะไรที่จะไม่สามารถหยิบจับมาปั้นเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพได้เลย ทุกอย่างสามารถทำได้ แต่ในความหลากหลายและเป็นไปได้สูง ก็เป็นอุปสรรค์หนึ่งเช่นกัน เพราะถึงแม้ว่าธุรกิจสตาร์ทอัพจะดูทำง่าย โตเร็ว รวยไวแต่ตามสถิติแล้ว ธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จมีเพียงแค่ประมาณ 10% เท่านั้น ส่วน 90% ที่เหลือยังคงต้องต่อสู้กันไป เสี่ยงล้มเหลวบ้าง ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด 

ทำอย่างไรถึงจะทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพประสบความสำเร็จ 

ขั้นตอนสำคัญในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่มีตำราที่ไหนบอกเอาไว้ แต่ก็มีอยู่ 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ 

  1. มีไอเดียทีดี สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจแบบสตาร์ทอัพคือ การค้นหาไอเดียที่ดี ที่แปลกใหม่และไม่เคยทีใครทำมาก่อน เช่น Steve Jobs ที่คิดว่าจะทำอย่างไรที่จะเอาเพลงเป็นพัน ๆ เพลงมารวมอยู่ในกล่องเล็ก ๆ และพกพาไปฟังที่ไหนก็ได้ 

  2. แปลงไอเดียให้เป็นสินค้าและบริการ เมื่อมีไอเดียที่ดีแล้วก็ต้องแปลงไอเดียนั้นออกมาเป็นสินค้าหรือบริการเพื่อออกสู่ตลาด ให้คนจับต้องได้ ใช้บริการได้ เช่น  Steve Jobs ได้แปลงไอเดียการนำเพลงเป็นพัน ๆ เพลงให้ออกมาเป็น iPod เครื่องจิ๋ว 

  3. สร้างโมเดลทางธุรกิจ โมเดลธุรกิจก็คือ แบบจำลองธุรกิจว่า ธุรกิจของเราจะให้บริการหรือขายอะไร ให้ใคร ขายอย่างไร ขายที่ไหน ผลิตด้วยอะไร เป็นต้น เช่น Steve Jobs ขาย iPod โดยการใช้โมเดลธุรกิจ การสร้างประสบการณ์ด้านดนตรีที่ไร้รอยต่อ ด้วยระบบ iOS ที่ดีที่สุด 

  4. นำเสนอแผนธุรกิจต่อนักลงทุน เมื่อได้โมเดลทางธุรกิจแล้วต่อมาต้องเร่งขยายธุรกิจโดยใช้แหล่งเงินทุนและเขียนแผนวิธีการนำเสนอแผนธุรกิจต่อนักลงทุน ใครบ้างที่เหมาะจะมาลงทุนในธุรกิจของเรา ใครบ้างที่จะมาช่วยธุรกิจของเราให้เติบโตยิ่ง ๆ ขึ้นไป 

 

สิ่งสำคัญที่สุดของการทำธุรกิจก็คือ การเริ่มลงมือทำ บางคนมีไอเดียที่ดีมาก ๆ แต่พับเก็บมันเอาไว้ไม่ยอมลงมือทำ หากมีไอเดียแล้วต้องทดสอบไอเดียนั้นว่ามันเวิร์กไหม ? เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับตัวเองได้ลองผิดลองถูก อย่าลืมว่าอัตราการประสบความสำเร็จของธุรกิจสตาร์ทอัพจากนั้นมีแค่เพียง 10% เท่านั้น และเราอาจเป็น 10% นั้นก็ได้

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow