Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

แปลนปลูกผักข้างรั้วบ้าน

Posted By Plook Creator | 23 มี.ค. 66
6,007 Views

  Favorite

ความฝันอยากปลูกผักกินเองเป็นความฝันเล็ก ๆ ของคนเมืองที่ไม่ได้มีพื้นที่เพาะปลูกมากนักในบ้าน อย่างไรก็ตาม หากจัดสรรพื้นที่ดี ๆ ก็อาจจะสามารถมีสวนเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยผักสวนครัวได้ แต่ก่อนจะวางแปลนสวนผัก สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างหนึ่งก็คือ ดินของเรามีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์หรือไม่ โดยการลองทดสอบดินดู หากไม่สมบูรณ์ เราก็สามารถเติมปุ๋ยหมัก ทราย ฮิวมัส หรือส่วนผสมอื่น ๆ ลงไปเพิ่มเติมได้ สำหรับพืชส่วนใหญ่ จะเติบโตได้ดีในดินที่มีความเป็นกรดเล็กน้อย (pH 6-6.5) และผักควรอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดอย่างสม่ำเสมอ

 

เมื่อดินและแสงแดดพร้อมแล้ว เราจึงเริ่มมาวางแปลนการปลูกผักกัน แปลนปลูกผักมีหลายแบบ จะเลือกปลูกในแปลนแบบใดก็แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่และความสะดวกของผู้ปลูก แต่ต้องเอาใจใส่สม่ำเสมอ รับรองว่าจะมีผักสด ๆ ให้รับประทานอย่างไม่ขาดแน่นอน

 

แปลนแบบแถว

การปลูกพืชเป็นแถวยาว เป็นแปลนสวนขั้นพื้นฐานที่สุด โดยเป็นการออกแบบให้สวนมีแถวตรงและยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ ทิศทางจากเหนือจรดใต้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าสวนจะได้รับแสงแดดที่ดีที่สุด และมีการถ่ายเทของอากาศได้ดี โดยควรปลูกพืชที่มีความสูง เช่น ข้าวโพดหรือถั่วทางด้านทิศเหนือของสวน เพื่อป้องกันไม่ให้เงาของพืชไปทับพืชขนาดเล็ก และตรงกลางเป็นพืชขนาดกลาง เช่น มะเขือเทศ กะหล่ำปลี และพืชต้นเตี้ย เช่น ผักกาด หัวหอม ไว้ทางด้านทิศใต้ของสวน

 

แปลนตารางสี่เหลี่ยม

แปลนสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่แบ่งส่วนออกเป็น 4 ส่วน สี่เหลี่ยมแต่ละส่วนจะปลูกผักที่มีความแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งเป็นผักใบเขียวที่ต้องการสารอาหารมาก อีกส่วนหนึ่งเป็นผักที่ต้องการสารอาหารปานกลาง เช่น มะเขือเทศ พริกไทย และที่เหลือเป็นผักที่ต้องการแสงสว่างและธาตุโพแทช เช่น ผักกาด แครอต สวนแบบนี้ทำให้เราสามารถปลูกพืชหมุนเวียนกันไปได้ ซึ่งจะช่วยลดศัตรูพืชและโรคดิน

 

แปลนแบบตารางฟุต

แปลงสวนผักลักษณะนี้จะถูกกำหนดให้เท่ากับ 4x4 ฟุต โดยมีเชือกหรือไม้แบ่งแปลงให้ย่อยออกเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กัน ในแต่ละส่วนจะปลูกผักประเภทเดียว จำนวนพืชต่อส่วนสามารถคำนวณหาได้โดยการนำขนาดของแปลง คือ 12 นิ้ว มาหารด้วยระยะห่างที่น้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น ระยะห่างที่น้อยที่สุดสำหรับแครอต ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 3 นิ้ว ดังนั้น การคำนวณจะได้เป็น 12 หารด้วย 3 ได้เท่ากับ 4 ซึ่งหมายความว่าในสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่แบ่งออกเป็นส่วน ๆ นั้น ส่วนหนึ่งจะปลูกแครอตได้สี่แถว แถวละสี่ต้น หรือแครอต 16 ต้น

 

บล็อก

เป็นการปลูกผักในแปลงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยแปลงควรกว้าง 3-4 ฟุต  ความกว้างนี้ทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงแปลงเพื่อกำจัดวัชพืช เพาะปลูก หรือเก็บเกี่ยว ทางเดินควรกว้างประมาณ 18-24 นิ้ว พยายามอย่าให้แปลงมีผักหนาแน่นมากเกินไป เพราะจะไปลดการไหลเวียนของอากาศและอาจส่งผลให้เกิดโรคตามมาได้

 

แปลนแนวตั้ง

การปลูกสวนผักในแนวตั้งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สวนลักษณะนี้ออกแบบมาเพื่อผู้ที่มีพื้นที่สวนน้อย โดยแทนที่จะปลูกบนพื้นในแนวราบแบบสวนทั่วไป ก็เปลี่ยนมาเป็นปลูกพืชแบบใช้ตะกร้าแขวน หรือภาชนะที่แขวนซ้อนกันเป็นแนวตั้งได้ ซึ่งช่วยให้ผู้มีพื้นที่น้อยสามารถปลูกผักได้จำนวนมากขึ้น

 

แปลนแบบกระถาง

นอกจากแปลนปลูกผักแนวตั้งแล้ว สำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อยหรือมีดินไม่เพียงพอต่อการปลูกผัก ยังใช้วิธีปลูกผักในภาชนะหรือกระถางได้ด้วย ช่วยให้มีความยืดหยุ่นและเคลื่อนย้ายสวนได้สะดวก

 

ภาพ : Shutterstock

 

ภาพ : Shutterstock

 

ภาพ : Shutterstock

 

ภาพ : Shutterstock

 

ภาพ : Shutterstock

 

ภาพ : Shutterstock

 

ภาพ : Shutterstock

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 15 Followers
  • Follow