Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ที่เจ้าของและคนไม่เป็นมิตรกับสัตว์ต้องรู้ หากไม่อยากเสียเงินและติดคุก

Posted By Plook Creator | 16 มี.ค. 66
28,322 Views

  Favorite

พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ หรือ พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครอง “สัตว์” เพื่อป้องกันการทารุณกรรมสัตว์จากฝีมือมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของสัตว์ที่ปล่อย ละทิ้ง ไม่ดูแลสัตว์ และเพื่อปกป้องมนุษย์จากความเสียหายในทรัพย์สินหรือร่างกายที่เกิดจากสัตว์ด้วยเช่นกัน
 

ภาพ : Ermolaev Alexander - shutterstock

 

สัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองมีสัตว์อะไรบ้าง?

1. สัตว์ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน
2. สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน
3. สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะ
4. สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน
5. สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร
6. สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดงและอื่นๆ
7. สัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
**ทั้งนี้ไม่ว่าสัตว์นั้นจะมีเจ้าของหรือไม่ก็ตาม

การกระทำที่เป็นการทารุณกรรมสัตว์

1. การทำให้สัตว์เจ็บปวดทางร่างกายหรือจิตใจ พิการ หรือตาย
2. การใช้งานสัตว์พิการ ป่วย ท้อง แก่ เพื่อหาผลประโยชน์
3. ใช้งานสัตว์เกินสมควรหรือทำงานไม่เหมาะสม
4. ใช้สัตว์ประกอบกามกิจ

การกระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์

1. ฆ่าเพื่อเป็นอาหาร (เฉพาะสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร)
2. ฆ่าตามกฎหมาย การควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์, ควบคุมโรคระบาด
3. ฆ่าตามความเห็นสัตวแพทย์ ในกรณีที่เห็นว่าเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถเยียวยารักษาได้
4. ฆ่าตามพิธีกรรมและความเชื่อทางศาสนา
5. ฆ่าตามกรณีที่จำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
6. การกระทำใดๆ ต่อร่างกายสัตว์เพื่อประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
7. การตัดหู หาง ขน เขา งา โดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
8. การจัดให้มีการต่อสู้ตามประเพณีท้องถิ่น
9. การกระทำอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดเพิ่มเติม และตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

 

ภาพ : DreamHack - shutterstock

เจ้าของสัตว์หมายถึง?

- เจ้าของกรรมสิทธิ์
- ผู้ครอบครองสัตว์
- ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลสัตว์จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์

หน้าที่ของเจ้าของสัตว์

1. ดูแลสัตว์ให้เหมาะสม เช่น มีที่อยู่ น้ำ อาหาร ตามสภาพของสัตว์
2. ห้ามปล่อย ละทิ้ง ให้พ้นจากการดูแลของตนเองโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ยกเว้นให้คนอื่นดูแลแทน
3. การขนส่ง การขนย้ายสัตว์ การใช้งาน ต้องให้เหมาะสมตามสภาพของสัตว์

โทษกฎหมายทารุณกรรมสัตว์

แม้กฎหมายมีจุดประสงค์เอาผิดกับผู้ที่ทารุณกรรมสัตว์ แต่หากเจ้าของสัตว์ทำร้ายสัตว์ ปล่อย ละทิ้ง ไม่ดูแลสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร กฎหมายก็เอาผิดด้วยเช่นกัน

ทำร้ายสัตว์ มีโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทอดทิ้งสัตว์ / เลี้ยงดูไม่เหมาะสมตามสภาพของสัตว์ มีโทษ ปรับไม่เกิน 40,000 บาท
ปล่อยสัตว์ดุร้ายตามลำพัง มีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สัตว์ที่เลี้ยงไปทำร้ายผู้อื่น (เจ้าของประมาท) มีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สัตว์ที่เลี้ยงไปทำร้ายผู้อื่นจนได้รับอันตรายสาหัส มีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สัตว์ที่เลี้ยงไปทำร้ายผู้อื่นจนเสียชีวิต จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท



แหล่งที่มาข้อมูล
สถาบันพระปกเกล้า, ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557., สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566 จากเว็บไซต์: https://kpi.ac.th/
PMDU, เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองสัตว์, สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566 จากเว็บไซต์: https://www.pmdu.go.th/
ธรรมนิติ, กฏหมายคุ้มครองสัตว์! ทอดทิ้ง ทำร้ายสัตว์ มีโทษอย่างไร?, สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566 จากเว็บไซต์: https://www.dharmniti.co.th/

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow