Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Digital Footprint ร่องรอยทางดิจิทัล ที่อาจส่งผลเสียในอนาคต

Posted By pimchanok pangsoy | 20 ก.พ. 66
2,095 Views

  Favorite

รู้ไหม ? เมื่อเราเข้าไปใช้งานบนโลกอินเตอร์เน็ตเช่น Google, Youtube หรือ Social Media อื่น ๆ มีการเก็บข้อมูลของเราไว้มากกว่าที่เราคิด

 

Digital Footprint คือข้อมูลการใช้งานต่าง ๆ ของเราบนโลกอินเตอร์เน็ตที่ได้ถูกบันทึกไว้ขณะที่เราใช้งาน เพื่อให้ง่ายต่อการกรอกข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลในครั้งต่อไป ซึ่งแล้วแต่เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันจะเก็บข้อมูลของเรามากน้อยแล้วแต่เว็บไซต์

เรียกได้ว่าโลกอินเตอร์เน็ตอาจมีข้อมูลตัวตนของคุณ ที่บุคคลอื่นอาจเข้าถึงตัวตนของคุณได้ง่ายกว่าที่คุณคิด

 

รูปแบบของ Digital FootPrint ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่

1. Active Digital Footprint ข้อมูลที่ผู้ใช้งานเจตนาบันทึกข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ต

เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้งานจงใจโพสต์ หรืออัปโหลดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต เช่น การโพสต์รูป ข้อความต่าง ๆ หรือข้อมูลการติดต่อเพื่อการสมัครงาน หรือติดต่องานเป็นต้น

2. Passive Digital Footprint ข้อมูลที่ผู้ใช้งานไม่มีเจตนาบันทึกข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ต

เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้งานไม่มีเจตนาบันทึกบนอินเตอร์เน็ต เช่น ข้อมูลการเข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ การคลิกลิงก์ภายในเว็บไซต์ รวมไปถึงช่วงเวลาการใช้งานทั้งบนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน

 

ทั้งนี้เราในฐานะผู้ใช้งานบนโลกอินเตอร์เน็ต สามารถปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเราได้อย่างไรบ้าง

1. Digital FootPrint สามารถสะท้านถึงความคิดแง่บวก หรือแง่ลบของเราได้ ดังนั้นเราไม่ควรโพสต์ บันทึกข้อมูล หรือแชร์ข้อมูลของตนเองในทางด้านแง่ลบออกไป เพราะอาจจะส่งผลเสียระยะยาวให้เราได้

2. เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันที่ใช้งานอยู่นั้น ควรได้จำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านการเงิน ผู้ใช้งานควรระมัดระวังข้อมูลเหล่านี้รั่วไหลไปสู่บุคคลที่สาม ซึ่งอาจไม่หวังดีต่อเรา

3. การป้องกันการถูกขโมยข้อมูล จนทำให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สิน การขโมยข้อมูลดิจิทัล เป็นอีกช่องทางที่มิจฉาชีพเข้าไปหลอกลวงผู้ใช้งานและทำให้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ใช้งานไม่ควรโพสต์ข้อมูลทรัพย์สิน ของมีค่าต่าง ๆ บนโลกออนไลน์เพราะอาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้มิจฉาชีพเข้าถึงตัวเราได้ง่าย

4. เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน และอิสรภาพของตนเองและผู้อื่น ไม่ควรแชร์ข้อมูล รูปภาพ สถานที่ตั้งของผู้อื่น หรือของตนเองบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะข้อมูลของเด็ก ผู้ป่วย หรือบุคคลอื่นที่เราไม่รู้จักบนโลกออนไลน์ เพราะอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ยกเว้นมีการขออนุญาตเรียบร้อยแล้ว

5. ไม่ควรกดลิงก์ รูปภาพ หรือข้อความที่มีการแชร์ข้อมูลไปมา เพราะอาจจะเป็นสแปม หรือมิจฉาชีพเข้ามาเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการหลอกลวง และการโฆษณาขายสินค้าต่าง ๆ จนทำให้เกิดการเสียทรัพย์สินจากการที่ตัดสินใจซื้อเอง หรือการล่อลวงโดยมิจฉาชีพ

digital footprint
shutterstock.com

ประโยชน์ของการมี Digital Footprint

1. ใช้ในการตามร่องรอยอาชญากรได้ง่ายขึ้น เพราะร่องรอยอาชญากรทางดิจิทัลมีมากขึ้น และการเก็บข้อมูล Digital Footprint จะส่งผลให้ตามตัวอาชญากรได้ง่ายยิ่งขึ้น

2. โฆษณาประชาสัมพันธ์ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลใช้งานได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น การโฆษณาขายสินค้าบน Facebook หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เราเห็นในปัจจุบัน

3. ร้านค้าและลูกค้า สามารถเข้าถึงกันได้โดยตรง Digital Footprint ได้เก็บรวบรวมข้อมูลการซื้อ ขาย สินค้า จัดการสต๊อกสินค้า ซึ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ค้าจัดการข้อมูลของลูกค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

การท่องโลกอินเตอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพนั้นเราควรคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลเป็นอันดับแรก จะโพสต์ข้อมูล หรือแชร์ข้อมูลของตนเองและผู้อื่นต้องมีความรอบ เพราะจะช่วยรักษาความเป็นส่วนตัว และป้องกันการเสียหายของทรัพย์สิน และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพียงเท่านี้การจัดการ Digital Footprint ร่องรอยทางดิจิทัล ก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • pimchanok pangsoy
  • 1 Followers
  • Follow