Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เทคนิคการสร้างความคิดรวบยอด เพื่อเพิ่มคะแนนคณิตศาสตร์

Posted By Plook TCAS | 27 ม.ค. 66
1,570 Views

  Favorite

          หากพูดถึงความคิดรวบยอด คุณเข้าใจความหมายของความคิดแบบนี้แค่ไหน คุณรู้ฤทธิ์ของความคิดรวบยอดหรือไม่ ว่าหากเจ้าความคิดรวบยอดเข้าไปอยู่ในตัวเด็กคนใดแล้วล่ะก็ เด็กคนนั้นจะสามารถพัฒนาสติปัญญาของตัวเองได้ จนกลายเป็นนักเรียนที่มีคุณภาพ กล่าวคือ กลายเป็นคนที่คิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ด้วย ว้าว อยากให้เจ้านี่เข้าไปอยู่ในตัวลูกของคุณกันแล้วล่ะสิ เอาล่ะ เช่นนั้นแล้ว ต่อไปนี้ คือ เทคนิคที่คุณจะได้ลองนำไปใช้กัน เป็นเทคนิคการสร้างความคิดรวบยอดซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ได้แค่ในห้องเรียนเท่านั้น และไม่จำเป็นที่คนที่ใช้จะต้องเป็นครู เป็นคุณก็ได้ คุณก็มีส่วนในการช่วยเพิ่มคะแนนให้ลูกได้ ขอพูดที่วิชาที่หลายคนหนักใจอยู่ วิชาคณิตศาสตร์ กันก่อนเลย

 

กำหนดวัตถุประสงค์

ก่อนอื่นควรกําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ลูกทราบและเตรียมความคิดรวบยอดขั้นต้น ซึ่งจะทําให้ลูกได้ทราบถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายในการเรียนวิชานี้อย่างชัดเจน ลองออกแบบดูว่า คุณจะทำอย่างไรให้เหมาะกับความถนัดและความสนใจของลูกของคุณเอง

 

ใช้ตัวอย่าง

คุณควรนำเสนอทั้งสิ่งที่เป็นตัวอย่างและไม่ใช่เป็นตัวอย่าง โดยใช้ของจริง ภาพ และสัญลักษณ์ เพื่อส่งเสริมให้ลูกของคุณได้สังเกตเปรียบเทียบ ดังนั้น ไม่ว่าคุณกำลังสอนคณิตเรื่องอะไร ขอให้สรุปลักษณะของสิ่งนั้น ๆ แต่ละประเภทเป็นพื้นฐานก่อน ที่จะวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมต่อไป

 

การสรุปรวบยอด

ขั้นนี้ก็เป็นอีกขั้นที่จะฝึกให้ลูกได้ใช้ความคิดพิจารณา ลูกจะได้ฝึกการสังเกตเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งที่เป็นตัวอย่างและไม่ใช่ตัวอย่างที่คุณนำเสนอ แล้วสรุปความคิดรวบยอดด้วยตนเอง

 

ฝึกให้ลูกบันทึก

การจดลงในกระดาษคือสิ่งที่ดีที่สุด เด็กประถมปลายไม่ค่อยอินกับการจดสักเท่าไหร่ แต่คุณก็ควรหลอกล่อลูกด้วยของรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เขาจดบันทึก ขั้นนี้สำคัญ เพราะลูกจะได้รายงานตัวเอง ฟังไม่ผิดหรอก รายงานตัวเองนะ ไม่ใช่รายงานคุณ การรายงานตัวเองคือขั้นตอนของการไถ่ถามและสำรวจตนเองว่า สิ่งที่ตนรู้มามีอะไรเก่า และอะไรใหม่บ้าง และสิ่งที่เป็นสิ่งใหม่ ก็คือองค์ความรู้ใหม่ที่ลูกได้รับนั่นเอง

 

ทดสอบ

มันไม่ใช่การทำข้อสอบ แต่การทดสอบความคิดรวบยอด เป็นขั้นที่คุณจะทดสอบความเข้าใจของลูกว่า  เกิดความคิดรวบยอด และสามารถสรุปความหมายของความคิดรวบยอดได้อย่างถูกต้อง

 

ส่วนร่วม

วิธีการสอนคณิตศาสตร์ให้กับลูก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดทําให้ลูกของคุณได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนของคุณมากขึ้น  ลูกจะสรุปความคิดรวบยอดด้วยตนเองและมีการทดสอบความคิดรวบยอดทันที ทําให้ลูกมีความกระตือรือร้นและสนใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนของคุณไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้เกิดความเข้าใจถึงลักษณะที่เคยเป็นเรื่องยากสำหรับลูก คิดจากรูปธรรมไปสู่นามธรรมได้

 

ธรรมชาติของคณิตศาสตร์

อย่าลืมว่า คุณต้องเข้าใจธรรมชาติของวิชานี้ก่อน คุณถึงจะใช้เทคนิคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจว่า คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม ประกอบด้วย สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่อาศัยการคิดที่เป็นแบบแผน มีขั้นตอนและเหตุผล จึงทําให้ลูกไม่ประสบความสําเร็จในการเรียนวิชานี้  เรียนไม่เข้าใจ เกิดความเบื่อหน่ายง่าย  ไม่ชอบ ไม่อยากเรียนคณิตศาสตร์ ดังนั้น หากลูกไปเจอกับครูคณิตศาสตร์ที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของคณิตศาสตร์ ก็จะทำให้ลูกเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย  แต่หากคุณเอง อาสาเป็นครูของลูกอาสานำทางให้ลูกด้วยเทคนิคข้างต้น ลูกจะมองวิชานี้เปลี่ยนไปเพราะคุณเลย รู้ไหม

 

ปรดระลึกไว้เสมอว่า

คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความคิดรวบยอด

ถ้าเข้าใจแบบนี้แล้ว งั้นคุณกับลูกของคุณก็เริ่มตั้งแต่วันนี้กันเลย

 

        

ปริณุต ไชยนิชย์

อาจารย์ประจำสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (RMUTSB : RUS)

 

ข้อมูลอ้างอิงจากงานวิจัย การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหัวเขา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NUR_YIU/article/view/16299

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook TCAS
  • 29 Followers
  • Follow