นับตั้งแต่พืชคลุมดิน ไม้พุ่ม เถาวัลย์ ไม้เรือนยอด และไม้ใหญ่ โดยมีความสูงเฉลี่ย 45 - 60 ป่าฝนมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันป่าฝนเขตร้อนมีพื้นที่เหลืออยู่เพียง 6% ของพื้นผิวโลก และกำลังถูกบุกรุกทำลายอย่างรวดเร็ว ป่าฝนส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ได้แก่ ทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ป่าฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคใต้ ป่าฝนที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทยคือ ป่าฮาลา-บาลา...
การลดความหลากหลายทางชีวภาพ
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ร้อยละ 70 - 90 ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลก อาศัยอยู่ในป่าฝนเขตร้อน การตัดไม้ทำลายป่าทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปประมาณ 50-100 สายพันธุ์ในแต่ละวัน พื้นที่ป่าฝน 1 ตารางกิโลเมตรครั้งหนึ่งเคยมีพืชพันธุ์ เห็ดรา และสัตว์อยู่หลายร้อยสายพันธุ์
โคลนถล่ม
ดินมีคุณสมบัติต่างจากกรวดและทรายตรงที่ ดินมีองค์ประกอบของสารอินทรีย์หรือซากสิ่งมีชีวิต ดินมีกำเนิดจากป่า ตะกอนซากพืชซากสัตว์สะสมตัวบนพื้นป่าและถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ กลายเป็นธาตุอาหารปะปนอยู่กับกรวดและทรายขนาดเล็ก จะเห็นได้ชัดเจนว่าชั้นดินของป่าฝนมีความหนากว่าชั้นดินของป่าแล้ง อย่างไรก็ตาม ดินของป่าฝนมีคุณสมบัติเป็นกรด เมื่อต้นไม้ถูกถางโค่นเปิดโอกาสให้แสงอาทิตย์สัมผัสกับหน้าดินโดยตรง ถ้าหากดินมีอุณหภูมิสูงเกินกว่า 25°C ธาตุอาหาร ไนโตรเจนจะถูกทำลาย ทำให้พืชพรรณอื่น ๆ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เนื้อดินก็จะเกิดการแตก เมื่อเนื้อดินไม่มีรากพืชคอยยึดเหนี่ยวให้ติดกันเป็นกลุ่มก้อน เวลาฝนตกหนัก น้ำที่ไหลบ่าจะพัดพาดินให้พังทลายกลายเป็นโคลนถล่ม
น้ำท่วม
หากเราปราศจากต้นไม้ ไม่มีป่าคอยดูดซับน้ำและเป็นแนวกั้นของน้ำแล้ว เมื่อเกิดฝนตก น้ำจะไหลลงมาทันทีโดยที่ไม่มีอะไรคอยดูดซับและป้องกันน้ำไม่ให้มีมากจนเกินไป จึงส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วม
ภาวะเรือนกระจก
หน้าที่หลักของต้นไม้คือ การนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมาสังเคราะห์อาหารด้วยแสง แล้วปล่อยแก๊สออกซิเจนออกมา ซึ่งก็หมายความว่า ต้นไม้ช่วยลดภาวะเรือนกระจกซึ่งเกิดจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ เมื่อต้นไม้โดนตัดโค่นและถูกเผา การกระทำนี้นอกจากเป็นการช่วยโลกลดภาวะเรือนกระจกแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความเข้มของภาวะเรือนกระจกอีกด้วย
สภาวะกรด
เมื่อใดก็ตามที่เกิดการเผาไหม้มวลชีวภาพ เช่น ป่าไม้ ทำให้เกิดแก๊สซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เมื่อเกิดการควบแน่นในอากาศ น้ำฝนจะทำปฏิกิริยากับแก๊สเหล่านี้จนกลายเป็นฝนกรดตกลงมา ทำให้พื้นดินและสิ่งแวดล้อมมีฤทธิ์เป็นกรดตามไปด้วย เมื่อน้ำไหลบ่าไปสะสมรวมกันในแหล่งน้ำ ค่าความเป็นกรดของน้ำก็จะสูงขึ้น และเมื่อน้ำมีความเป็นกรดถึง pH 5 สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
รวมไปถึงการสร้างแหล่งน้ำสะอาดให้ได้กินได้ใช้ ทั้งยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ฯลฯ การปกป้องและฟื้นฟูป่าจะเป็นการช่วยรักษาโลกนี้ไว้ได้ อยากให้ทุกคนช่วยกันเป็นกระบอกเสียงในการช่วยป้องกัน ยับยั้ง การทำลายป่า เพื่อที่เราจะได้สร้างอนาคตที่ดีกว่าส่งต่อไปให้กับลูกหลาน ให้เค้าได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนตลอดไป...
‘ปลูกใจรักธรรมชาติ ทรูปลูกปัญญา’
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ห้องสมุดกรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม, ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์