Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

พุทธธรรมสำหรับครู - คุณลักษณะของครู ผู้เป็นดั่งกัลยาณมิตร ที่พึงมีในพระพุทธศาสนา

Posted By มหัทธโน | 13 ม.ค. 65
27,331 Views

  Favorite

 ครู ถือว่า เป็นผู้ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ ทำคนให้เป็นคน ทำคนชั่วให้เป็นคนดี ทำให้คนมืดบอดให้สว่างไสว ชื่อว่าเป็นการให้ธรรมเป็นทาน ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ เป็นแม่แบบที่สำคัญยิ่งต่อพัฒนาการของเด็กและเยาวชน ผู้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต 

คุณลักษณะของครูที่ดี  ในพระพุทธศาสนา

คุณธรรมสำหรับครูนั้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ในพระสูตร  ตามหลักธรรมหมวด “ กัลยาณมิตตาธรรม ” มี  7 ประการ  ดังนี้
 

1. ปิโย - น่ารัก
หมายความว่า บุคคลใดที่เป็นครูนั้นจะต้องเป็นผู้ที่น่ารัก ศิษย์ได้พบเห็นแล้วอยากเข้าไปพบ สบายใจเมื่อได้พบปะกับอาจารย์ผู้นั้น 


แนวทางกระทำตนให้น่ารักของศิษย์นั้นสามารถกระทำได้ดังนี้

1.1.     มีเมตตาหวังดีต่อเด็กเสมอ
1.2.     ยิ้มแย้ม แจ่มใส ไม่บึ้งตึงทั้งเวลาสอนและนอกเวลาสอน
1.3.     ให้ความสนิทสนมกับศิษย์ตามควรแก่กาลเทศะ
1.4.     พูดจาอ่อนหวานสมานใจ
1.5.     เอาใจใส่อบรมสั่งสอนศิษย์ให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง
1.6.     เป็นเพื่อนในสนามกีฬา เป็นครูที่สง่าในห้องเรียน
1.7.     เมื่อเด็กมีความทุกข์  ครูให้ความเอาใจใส่คอยปลอบประโลมให้กำลังใจ
 
Source : Shutterstock.com

 

 
2. ครุ - น่าเคารพ
หมายความว่า  บุคคลที่เป็นครูนั้นต้องเป็นผู้ประพฤติตนเหมาะสมแก่ฐานะของความเป็นครู กระทำตนเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ทั้งพฤติกรรมทางกาย  วาจา  ใจ
 
3. ภาวนีโย – น่าเจริญใจหรือน่ายกย่อง 
หมายความว่ากระทำตนให้เป็นที่เจริญน่ายกย่องของศิษย์และบุคคลทั่วไป  มีความรู้และภูมิปัญญาอย่างแท้จริง  มีคุณธรรมควรแก่การกราบไหว้บูชาของศิษย์เสมอ เปิดรับความรู้ใหม่ ๆ เชื่อกฎแห่กรรม เป็นผู้รักษาศีล  ควบคุมจิตด้วยสมาธิ
 
4. วัตตา - มีระเบียบแบบแผน 
หมายความว่า ครูต้องกระทำตนให้เป็นบุคคลที่เคารพกฎระเบียบ  มีระเบียบแบบแผน  ขณะเดียวกันก็อบรมตักเตือนศิษย์ให้เป็นผู้มีระเบียบ
 
5. วจนักขโม - อดทนต่อถ้อยคำ
หมายความว่า  ครูจะต้องอดทนต่อคำพูดของศิษย์ที่มากระทบความรู้สึก  ครูต้องพร้อมรับฟังข้อซักถาม ให้คำปรึกษาหารือ  แนะนำ  ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว
 
6. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา - แถลงเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง
หมายความว่าครูจะต้องมีความสามารถในการสอน  ใช้คำพูดในการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างแจ่มแจ้ง มีความรอบรู้ในเรื่องที่จะพูด
 

7. โน  จัฏฐาเน  นิโยชเย - ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสื่อม
หมายความว่า ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางที่ต่ำทรามใด ๆ สิ่งใดเป็นความเสื่อมโทรมทางจิต จะไม่ชักนำศิษย์ไปทางนั้น ในขณะเดียวกันครูต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอบายมุขทั้งปวง

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow