เริ่มจากสร้างความเข้าใจกับเด็ก ๆ ก่อนว่า น้ำท่วม ไม่ใช่แหล่งน้ำที่สามารถลงไปเล่นเพื่อความสนุกสนานได้ แต่น้ำท่วมเป็นน้ำไม่สะอาด มีอันตรายจากสัตว์มีพิษและเชื้อโรค ไม่ปลอดภัยในการใช้ดื่มและลงไปแช่ อีกทั้งถ้าน้ำไหลด้วยความแรง สามารถพัดพาคนและสิ่งต่าง ๆ จมหายวับไปกับตาได้เลย เด็ก ๆ ต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมทั้งช่วงเวลาก่อนเจอน้ำท่วม และช่วงเวลาที่กลายเป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมไว้
• ก่อนเจอน้ำท่วม บันทึกเบอร์ฉุกเฉิน เตรียมยาและของใช้ที่จำเป็น ตุนอาหารและน้ำดื่ม เก็บของมีค่าให้ปลอดภัย
• สวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น
• อพยพไปอยู่ที่ปลอดภัย
• เมื่อเจอน้ำท่วม ต้องตัดระบบไฟในบ้าน ห้ามสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า
• ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ ห้ามดื่มกินน้ำและอาหารที่สัมผัสกับน้ำท่วม
• ต้องสวมรองเท้าบูทหากจำเป็นต้องลุยน้ำ
• ห้ามเดินตามเส้นทางน้ำไหล ห้ามเดินไปใกล้ เสาไฟฟ้า สายไฟ
• ต้องมีไม้วัดระดับน้ำขณะเดิน
การเอาตัวรอดจากไฟไหม้ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรพูดคุยกับลูกๆ อย่างสม่ำเสมอ เพราะเหตุการณ์ไฟไหม้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาแม้กระทั่งอยู่ในบ้านของตนเอง การพูดคุยและให้ความรู้กับเด็ก ๆ จะทำให้พวกเขาเห็นภาพรวม เทคนิคต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานให้เด็กตั้งสติได้เร็ว คิดเร็ว ทำเร็ว โดยเริ่มต้นจากการให้เด็ก ๆ เรียนรู้หลักการสำคัญดังนี้
• ตั้งสติ อย่าตื่นกลัว อย่าซ่อนตัว หาทางปลอดภัย ออกไปโดยไว ไปตามป้ายทางหนีไฟ ลงบันได ห้ามใช้ลิฟต์
• เจอกลุ่มควันในทางโล่ง ให้เดินเร็วไปยังทางออก เจอกลุ่มควันไม่เห็นทาง ให้คลานต่ำไม่เกิน 1 ฟุต
• ใช้ผ้าชุบน้ำคลุมร่างกาย ป้องกันความร้อนได้ ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก ป้องกันการสูดสำลักควัน
• แตะลูกบิดประตู ถ้าร้อนมาก อย่าเปิดไปทางนั้น
• หากติดอยู่ในที่ปิด หาผ้าชุบน้ำอุดทุกช่อง ป้องกันควัน
• เมื่อออกมาได้ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือคนข้างใน อย่ากลับเข้าไปด้วยตนเอง