Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

สัมผัสนอก - สัมผัสใน ในการแต่งคำประพันธ์

Posted By Plook Creator | 04 พ.ย. 64
80,728 Views

  Favorite

สัมผัส เป็นหนึ่งในลักษณะบังคับของการแต่งคำประพันธ์ โดยสัมผัสคือ คำคล้องจองกัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้


สัมผัสนอก

สัมผัสนอก เป็นสัมผัสบังคับ หรือสัมผัสสระ อยู่ระหว่างวรรค ระหว่างบาท และระหว่างบท
 

ภาพ: trueplookpanya



ตัวอย่าง
   แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์      มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี่ยวลด      ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
   มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน       บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน          เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
                                             (พระอภัยมณี : สุนทรภู่)


สัมผัสใน

สัมผัสใน เป็นสัมผัสในวรรค ไม่ใช่สัมผัสบังคับ แต่ถ้ามีแล้วจะทำให้บทประพันธ์นั้นไพเราะขึ้น สัมผัสในมีทั้ง

- สัมผัสสระ คือคำที่มีเสียงสระ และมาตราตัวสะกดเดียวกัน) เช่น

  แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ    ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา                     รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
                                                    (พระอภัยมณี : สุนทรภู่)

สัมผัสสระในวรรค คือ รัก-รัก, ชัง-ชัง, รอบ-คอบ, อ่าน-หลาน, ไร-ไม่, สู้-รู้, รอด-ยอด

- สัมผัสพยัญชนะ คือคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเดียวกัน เช่น

   จงติดตามไปเอาไม้เท้าเถิด    จะประเสริฐสมรักเป็นศักดิ์ศรี
พอเสร็จคำสำแดงแจ้งคดี        รูปโยคีหายวับไปกับตา  
                                               (พระอภัยมณี : สุนทรภู่)  

สัมผัสพยัญชนะในวรรค คือ ติด-ตาม, เท้า-เถิด, เสริฐ-สำ, แดง-ดี

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow