Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วันออกพรรษา และเหตุผลในการปวารณา

Posted By มหัทธโน | 20 ต.ค. 64
7,136 Views

  Favorite

ความหมายของวันออกพรรษา 

วันมหาปวารณา หรือที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นวันออกพรรษา คือ วันที่พระภิกษุสงฆ์สามารถว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยความเมตตา ในเรื่องของความประพฤติเพื่อให้ศีลบริสุทธิ์ และเกิดความสามัคคีกันในหมู่สงฆ์ นอกจากนี้ยังเป็นวันครบกำหนดทางพระวินัยที่พระภิกษุอยู่จำพรรษาประจำที่ตลอดฤดูฝน ๓ เดือน

 


เหตุผลที่ให้พระภิกษุสงฆ์ทำปวารณา

 มีสาเหตุมาจากเมื่อสมัยพุทธกาลที่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงเสด็จมาประทับ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล รวมถึงทรงจำพรรษาที่วัดเชตวันมหาวิหารแห่งนั้นด้วย ส่วนพระภิกษุสาวกต่างแยกย้ายเข้าจำพรรษา ณ วัดรอบๆ กรุงสาวัตถี

 

ภิกษุเหล่านั้นเมื่อต้องมาอยู่รวมกันในระหว่างเข้าพรรษา ก็เกรงว่าอาจเกิดขัดแย้งทะเลาะวิวาทกันได้ จนไม่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข ภิกษุเหล่านั้นจึงตกลงที่จะไม่พูดกันตลอดเข้าพรรษา เมื่อถึงวันออกพรรษาภิกษุเหล่านั้นจึงนำความไปกราบทูลให้พระพุทธเจ้าได้ทรงทราบ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบทรงตำหนิภิกษุเหล่านั้นว่าอยู่กันเหมือนฝูงปศุสัตว์

 

พระพุทธเจ้าจึงอนุญาตให้พูดตักเตือน พร้อมทั้งกำหนดเป็นพระวินัยว่า

"อนุชานามิ ภิกขะเว วัสสัง วุตถานัง ภิกขูนัง ตีหิ ฐาเนหิ ปะวาเรตุง ทิฏเฐนะวา ปะริสังกายะ วา
 ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันในสามลักษณะ
คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี"

 

ในการปวารณานั้น มีสาระสำคัญที่พุทธศาสนิกชนสามารถนำมาปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน

การสร้างระเบียบวินัยเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน เพราะการอยู่ร่วมกันนั้นย่อมต้องมีระเบียบวินัยที่เอื้อประโยชน์ให้เกิดกิจกรรมทั้งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม การปวารณาของพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการสร้างระเบียบวินัยเพื่อการอยู่ร่วมกัน

 

การยอมรับการว่ากล่าวตักเตือนจากคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยไม่ถือว่าเป็นการล่วงเกินดูหมิ่น

จึงเป็นพฤติกรรมที่ดีและน่ายกย่อง ควรที่เราจะยึดถือไว้เป็นแบบอย่างในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในการทำงาน ถ้าเรายอมรับคำว่ากล่าวตักเตือนจากเพื่อนร่วมงาน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น การทำงานก็จะไม่มีอุปสรรคและก่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นใน
 

ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษาและนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมา  

การตักบาตรเทโว 

ที่มา : https://pantip.com/topic/36945577

 

ซึ่งจะตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือหลังจากออกพรรษาแล้ว ๑ วัน ประเพณีการตักบาตรเทโวในสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมและเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนคร

 

การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากชั้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวสืบทอดกันมาถึงทุกวันนี้

 

สำหรับของที่นำมาใส่บาตรวันตักบาตรเทโว

อาจแตกต่างกันบ้าง บางแห่งนิยมทำข้าวต้มลูกโยน ซึ่งทำจากข้าวเหนียว ห่อด้วยใบมะพร้าว ไว้หางยาว เพื่อสะดวกในการโยนใส่บาตร

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow