Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

พิธีทอดกฐิน พิธีทอดผ้าป่า ต่างกันอย่างไร ? มีที่มาจากสมัยพุทธกาลอย่างไร ?

Posted By มหัทธโน | 20 ต.ค. 64
40,908 Views

  Favorite

 พิธีทอดกฐิน พิธีทอดผ้าป่า คืออะไร ต่างกันอย่างไร ? 

ที่มา : สามเณรปลูกปัญญาธรรม

 

พิธีทอดกฐิน 

ประวัติที่มาของพิธีทอดกฐิน นางวิสาขา คือ ผู้ถวายกฐินคนแรกของพุทธศาสนา 

ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระเชตวนาราม ซึ่งเป็นพระอารามที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ ๓๐ รูป ชาวเมืองปาฐา ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกในแคว้นโกศลเดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต รษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนคร

 

การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากชั้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกัน

 

พระองค์ตรัสถามจึงได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระบรมศาสดาดำริถึงความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้น จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ สำหรับในเมืองได้ผ่านวันออกพรรษาแล้ว นางวิสาขาได้ทราบพุทธานุญาตจึงได้เป็นผู้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรก

 

หลักเกณฑ์ของพิธีทอดกฐิน 

กฐินจะมีเป็น กาลทาน มีเวลาจำกัดในการทำกฐินถวาย กับบุคคล สถานที่

นั่นคือ
-- ทำได้เวลา 1 เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว ถึง สิ้นสุดวันลอยกระทง
-- บุคคลรับต้องเป็นพระ-มีกาลพรรษาครบสามเดือน
-- ทอดถวายสถานที่วัดใด วัดหนึ่ง-ครั้งเดียวต่อปี
-- วัดนั้น ต้องมีพระจำพรรษาอย่างน้อย 5 รูป
-- เชื่อกันว่ามีอานิสงส์สูง 

 

 พิธีทอดผ้าป่า 

ที่มา : Shutterstock

 

ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าที่ห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวรสบง การทำจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างยุ่งยากหรือเป็นงานใหญ่

 

 ครั้นชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์จึงนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบ ก็นำเอามาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าก็มีความเป็นมาดังที่กล่าวมา

 

สำหรับเมืองไทยพิธีทอดผ้าป่าได้รื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ด้วยทรงมีพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนาไว้

 

หลักเกณฑ์ของพิธีทอดผ้าป่า 

-- ทำได้ตลอดปี

-- ไม่จำกัดเวลา บุคลล ประเภท เช่น ทอดผ้าป่าเสื้อผ้ามือสอง สำหรับน้องในชนบท เป็นต้น

-- ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างน้อย ควรมีพระหนึ่งรูปมาทำพิธี โดยมาชักผ้าบังสกุลนั้น (ผ้าที่แขวนกิ่งไม้ เปื้อนฝุ่น ซากศพ ไม่มีเจ้าของ เป็นต้น)

-- มีอานิสงส์ในการทำบุญทอดผ้าป่าหากใจเป็นกุศล 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow