Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับความเกี่ยวพันมิติ การเมืองการทหาร

Posted By ostsciencereview | 08 ก.ย. 64
4,888 Views

  Favorite

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับความเกี่ยวพันมิติ การเมืองการทหาร
The War that Changde the World สงครามเปลี่ยนโลก : อิทธิพลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างสิ่งดีๆ ในสังคมปัจจุบัน

 

คอลัมน์นี้ขอพาย้อนไปดูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการรบและผลแพ้ชนะในช่วงสงคราม แต่ยังมีอิทธิพลถึงเทคโนโลยี การเมือง เศรษฐกิจ และแม้แต่การศึกษาในยุคปัจจุบันนี้ ทั้งในแบบที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ตัวอย่างที่สำคัญ เช่น

 

1. กลยุทธ์การจัดการสงครามที่ซับซ้อน

Operations Research (OR) เป็นการใช้คณิตศาสตร์ในการศึกษาปัญหา ในการบริหารจัดการ การขนส่ง และการกระจายกำลัง กลยุทธ์ OR ไม่เพียงแต่ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถล่าเรือของเยอรมนีในมหาสมุทร แอตแลนติก และสามารถบริหารจัดการการขนส่งที่ซับซ้อนจนสามารถทำให้เกิดวัน D-Day ได้ กลยุทธ์ OR ซึ่งมีการใช้สถิติและความน่าจะเป็นได้กลายมาเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการทำธุรกิจในปัจจุบัน การจัดตารางบินของสายการบิน รวมถึงการจัดส่งสินค้าของร้านค้าส่งขนาดใหญ่อย่าง Walmart


2. ยาปฏิชีวนะ

จากสถิติในประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลาวิกฤตสงครามโลกครั้งที่ 2 พบว่า ผู้คนที่เสียชีวิตจากโรคภัยมีมากกว่าคนที่เสียชีวิตจากอาวุธเป็นจำนวนมาก รัฐบาลสหรัฐฯ ได้พยายามแก้ไขปัญหานี้ด้วยการคิดค้นหายาที่ช่วยป้องกันทหารจากโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย ความพยายามนี้นำไปสู่การค้นพบยาเพนิซิลลิน ซึ่งได้กลายเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้กันแพร่หลายในทุกวันนี้ ทำให้โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียไม่เป็นโรคที่มีความรุนแรงถึงชีวิตอีกต่อไป

ภาพ : Shutterstock

 

3. Animation ภาพเคลื่อนไหว

นอกจากจะมีอาวุธล้ำสมัยและกลยุทธ์ที่ซับซ้อน การฝึกอบรมทหารก็สำคัญเช่นกัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลได้มีการนำประยุกต์ใช้ ภาพยนตร์การ์ตูน และเทคโนโลยีในการสร้างสงครามจำลองเพื่อใช้ในการฝึกทหาร เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ถูกนำมาพัฒนากลายเป็นวิดีโอเกมและ หน้าจอ LCD

 

4. เรดาร์ตรวจจับ

เรดาร์ตรวจจับโดยใช้คลื่นวิทยุถูกนำมาใช้ในการตรวจหาระเบิด เครื่องบินรบ และเป้าหมายสำหรับการเล็งปืนและระเบิด เทคโนโลยีนี้ได้กลายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ดาวเทียมสื่อสาร และโทรทัศน์ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการสื่อสารและพฤติกรรมของมนุษย์ในยุคหลังจากนั้น

ภาพ : Shutterstock

 

5. โรงบ่มแห่งความตายของนาซี

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารนาซีได้นำเอาเทคนิคในการบริหารจัดการ การผลิต และสารเคมีเพื่อสังหารชาวยิวกว่า 6 ล้านคน เหตุการณ์นี้แม้ว่าได้ทิ้งบทเรียนที่เจ็บปวดไว้ให้พวกเรา แต่ก็เป็นจุดกำเนิดสำคัญในการหาสารมาใช้ประกอบในการการุณยฆาต (Euthanasia) ในทางการแพทย์ และการประหารชีวิตที่ทรมานนักโทษน้อยที่สุด

 

6. อาวุธล้างโลก

แม้ว่าอาวุธนิวเคลียร์ได้ถูกนำมาใช้จริง ๆ ในสงครามเมื่อตอนที่สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดปรมาณู ณ เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิเมื่อเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2488 แต่อาวุธที่มีแสนยานุภาพที่เกิดจากการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำสงครามและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตลอดไป โดยในช่วงหลังของศตวรรษที่ 20 การครอบครองอาวุธนิวเคลียร์เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและป้องปราม (deterrence) เพื่อไม่ให้ต่างฝ่ายนำมันมาใช้จริง เพราะแสนยานุภาพของอาวุธประเภทนี้ เมื่อใช้แล้ว “แพ้กันทั้งโลก”

 

7. "ทราบแล้ว เปลี่ยน"

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรี่ และวัสดุใหม่เช่น พลาสติก ถูกนำไปประกอบเป็นวิทยุสื่อสารประเภทต่างๆ ที่ทหารสามารถใช้สื่อสารข้าม ฟากทะเลได้ นี่เป็นครั้งแรกที่มนุษย์ที่อยู่ห่างไกลสามารถเชื่อมต่อติดต่อสื่อสารได้ และหลังจากนั้น โครงสร้างสังคมของมนุษย์ก็เปลี่ยนไปตลอดกาล ด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ต่างๆ ที่ถูกพัฒนาต่อจากเทคโนโลยีสื่อสาร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนมาถึงยุค smart ware ที่รวมทุกสิ่งอย่างของชีวิตไว้บนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ

ภาพ : Shutterstock

 

8. การทำลายล้างที่นำไปสู่การค้นพบ

ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีได้พัฒนาอาวุธจรวดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวและใช้โจมตีกรุงลอนดอน และทั่วบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ วิศวกรชาวอเมริกันได้พัฒนาอาวุธในรูปแบบเดียวกันแต่ขนาดเล็กกว่า เทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาต่อเนื่องโดยเยอรมนี อเมริกา และโซเวียต เพื่อใช้ในการต่อกรกันระหว่างสงครามโลก และเทคโนโลยีนี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ (Space age) ในปัจจุบัน โดยจรวดที่ขึ้นไปดวงจันทร์เป็นจรวดที่พัฒนาต่อจากอาวุธจรวดของเยอรมันรุ่น V-2 rocket bomb


ที่มา : http://nnwwiim.org/images/sci-tech-wwii-poster.pdf
https://www.independent.co.uk/environment/plastic-bags-pollution-paper-cotton-tote-bags-environment-a9159731.html


จากวิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 11/2562 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2562

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • ostsciencereview
  • 0 Followers
  • Follow