Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

พาเด็กก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่อย่างมีภูมิคุ้มกัน

Posted By Parenting Guide | 31 ก.ค. 64
4,043 Views

  Favorite

ในยุคดิจิทัลมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นผลกำเนิดจากเทคโนโลยีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ขีดความสามารถสูง สมาร์ทโฟนที่เป็นมากกว่าโทรศัพท์ แท็บเล็ตที่มีความสามารถใกล้เคียงคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหรือเครื่องเล่นเกมที่มอบประสบการณ์สมจริง สิ่งเหล่านี้คือประตูให้เด็ก ๆ เปิดสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ไปทำความรู้จักคนแปลกหน้าจากทั่วโลก เปิดรับเนื้อหาและการสื่อสารมากมายที่ยากควบคุม

 

วิธีการคลาสสิกที่ยังคงใช้มาตั้งแต่ปัญหาเด็กติดทีวีในยุคแอนะล็อก เช่น ให้ผู้ปกครองดูแลใส่ใจอย่างใกล้ชิด จำกัดเวลาในการใช้สื่อ หรือหากิจกรรมเล่นนอกบ้าน สิ่งเหล่านี้ยังคงใช้ได้ดีและควรต้องทำอยู่ แต่สิ่งที่ต้องเพิ่มเติม คือการพาเด็กก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่อย่างมีภูมิคุ้มกัน ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันให้เด็กพัฒนาตนเองจากการเป็นเพียง “ผู้ใช้” สู่การเป็น “ผู้สร้าง” อย่างสร้างสรรค์ ด้วยการจัดกิจกรรมอย่างง่าย สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน เปลี่ยนโลกออนไลน์ให้สนุกและได้ความรู้ ผ่านกิจกรรม 3 ระดับคือ

 

ระดับที่ 1 พัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

ทักษะการคิดเชิงคำนวณ หรือ Computational Thinking หรือ CT เป็นทักษะที่ใช้ในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล เป็นขั้นเป็นตอน และเป็นพื้นฐานสำคัญในการเขียนโปรแกรม ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

•Decomposition แบ่งปัญหาใหญ่หรืองาน ออกเป็นส่วนย่อย เพื่อให้จัดการง่าย

ตัวอย่างกิจกรรม

กุญแจสำคัญของกิจกรรม คือ ชี้ให้เด็กเห็นว่าทุกงานประกอบไปด้วยงานเล็กๆ กี่ส่วน เด็กๆ และพ่อแม่ช่วยกันทำส่วนไหนบ้าง และต้องจัดการแต่ละส่วนอย่างไรเพื่อให้งานสำเร็จ

 

•Pattern recognition หารูปแบบของปัญหาหรือวิธีแก้ เพื่อประยุกต์ใช้กับปัญหาอื่นที่คล้ายกัน

ตัวอย่างกิจกรรม

กุญแจสำคัญของกิจกรรม คือ ฝึกให้เด็กหารูปแบบของสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้เด็กเห็นว่า แม้ในรายละเอียดจะต่างกัน แต่หากค้นพบรูปแบบ เราก็สามารถจัดการรายละเอียดที่แตกต่างได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย

 

•Abstraction จดจ่อเฉพาะสิ่งสำคัญของปัญหา แยกแยะสาระสำคัญออกจากส่วนที่ไม่สำคัญ

ตัวอย่างกิจกรรม

กุญแจสำคัญของกิจกรรม คือ ฝึกให้เด็กจับสิ่งสำคัญจากจุดประสงค์ของงาน ตัดรายละเอียดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เพื่อจะได้จดจ่อเฉพาะสิ่งที่ต้องนำไปช่วยแก้ปัญหาหรือทำให้งานสำเร็จ


•Algorithm แสดงขั้นตอนแก้ปัญหา โดยมีลำดับของคำสั่งชัดเจน ให้คอมพิวเตอร์สามารถทำตามได้กุญแจสำคัญของกิจกรรม คือ ฝึกให้เด็กจับสิ่งสำคัญจากจุดประสงค์ของงาน ตัดรายละเอียดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เพื่อจะได้จดจ่อเฉพาะสิ่งที่ต้องนำไปช่วยแก้ปัญหาหรือทำให้งานสำเร็จ

ตัวอย่างกิจกรรม

กุญแจสำคัญของกิจกรรม คือ ให้เด็กเกิดทักษะการเรียบเรียงความคิด จัดลำดับ ใช้ภาษา ความละเอียดรอบคอบ และรู้จักตรวจสอบแก้ไขข้อผิดพลาด สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญของนักสร้างในฐานะโปรแกรมเมอร์

 

ระดับที่ 2 ฝึก Coding โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์

Coding ตามความหมายที่พูดกันให้เข้าใจง่ายก็คือ การเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และ Unplugged Coding ก็คือการเล่นเกมหรือทำกิจกรรมที่มีลักษณะการเขียนคำสั่ง โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์นั่นเอง

ตัวอย่างกิจกรรม

Pinterest

เกมตาราง

  • •พลิกแพลง สร้างเกมจากพื้นกระเบื้องในบ้านที่มีลักษณะตารางอยู่แล้ว หรือพื้นดินที่สามารถวางตารางขนาดคนจริงเดินได้ แล้ววางสิ่งของหาง่ายใกล้ตัว ให้เป็นอุปสรรคในการเดิน
  • •ให้เด็กเป็นโปรแกรมเมอร์เขียนคำสั่งการเดินไปให้ถึงเป้าหมาย
  • •สั่งให้คนในครอบครัวที่เล่นเป็นหุ่นยนต์เดินตามคำสั่งนั้น
  • •หากหุ่นยนต์ไม่สามารถเดินไปถึงจุดหมายได้ ให้หุ่นยนต์พูดว่า “Bug” ซึ่งหมายถึงชุดคำสั่งผิดพลาด
  • •โปรแกรมเมอร์ต้องพูดว่า “Debug” คือการแก้ไขจุดบกพร่องของคำสั่ง แล้วรีบแก้ไขคำสั่งทันที
  • •ทดลองให้หุ่นยนต์เดินอีกครั้งจนกว่าจะสำเร็จ
  • •อาจแบ่งทีมเพื่อโปรแกรมหุ่นยนต์ของตัวเอง แข่งขันว่าหุ่นยนต์ของใครไปถึงที่หมายได้ถูกต้องก่อนกัน เพิ่มความสนุกในการเล่นเกมมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เกม Unplugged Coding ยังได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบของหนังสือฝึกทักษะมากมาย ทั้งของไทยและต่างประเทศ สามารถหาเพิ่มเติมให้เด็กฝึกทำยามว่าง ก่อให้เกิดเป็นความชำนาญจากการฝึกทำซ้ำๆ

 

ระดับที่ 3 เล่นเพื่อสร้าง ด้วย Coding ออนไลน์

ไต่ระดับไล่มาจากการฝึกคิด ฝึกสั่ง แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์กันแล้ว จากนี้ก็ค่อย ๆ พาเด็กเข้าสู่โลกออนไลน์ด้วยการท่องเว็บที่เหมือนเล่นเกม ซึ่งไม่ใช่การเล่นแบบผู้เล่นเท่านั้นแต่เป็นการเล่นในฐานะผู้เริ่มต้นสร้าง เพื่อมุ่งสู่การเป็นนักสร้างที่สร้างสรรค์  

 

codingthailand.org

 

ตัวอย่างเว็บไซต์

codingthailand.app เรียนวิธิคิดผ่านวิธีโค้ด แพลตฟอร์มส่งเสริมการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณสำหรับเยาวชนไทยทุกคน ในเว็บจะพาเด็ก ๆ เรียนรู้วิทยาการคำนวณผ่านการเล่นเกม code.org เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์เปลี่ยนโลกได้ เด็ก ๆ จะได้สนุกกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผ่านเกมไขปริศนา การเขียนโค้ด หรือการออกแบบแอป scratch.mit.edu เรียนรู้การทำงานร่วมกัน ปล่อยพลังความคิดสร้างสรรค์ ใช้เหตุผลอย่างเป็นระบบ ผ่านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างเกม แอนิเมชัน และ Interactive stories ของตัวเอง

 

กิจกรรมสามระดับเหล่านี้ เป็นเพียงกรอบแนวคิดหนึ่งซึ่งไม่มีทางลัด ทุกอย่างต้องอาศัยความพร้อมของทั้งพ่อแม่และเด็ก อีกทั้งต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะ ในเมื่อเด็กต้องอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปแบบไม่มีที่สิ้นสุดย่อมปฏิเสธการอยู่ร่วมกับอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ได้ แต่จะอยู่ร่วมกันอย่างไรให้เกิดคุณค่าสูงสุด นั่นยังเป็นโจทย์ยากที่ต้องแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่อย่างน้อยหากเด็กได้เรียนรู้จากการเป็นผู้สร้างแล้ว ก็จะเข้าใจจุดอ่อนในสิ่งที่ผู้ใช้ไม่ควรทำ เพื่อที่เด็กแต่ละคนจะได้เติบโตไปเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีที่ดี เป็นนักสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ และมีเกราะแข็งแรงทางความคิดในการรับมือกับเทคโนโลยีทุกรูปแบบ

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Parenting Guide
  • 1 Followers
  • Follow