อย่างไรก็ตาม เมื่อพื้นที่ถูกจำกัดเพื่อความปลอดภัยแล้ว พ่อ แม่ ผู้ปกครองอาจพบเจอกับความท้าทายในการสรรหากิจกรรมต่าง ๆ มาสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกน้อย เพื่อชดเชยช่วงชีวิตแห่งการเรียนรู้ ไม่ให้หล่นหายไป ผู้เชี่ยวชาญทางพัฒนาการด้านต่าง ๆ จึงเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะให้คำปรึกษากับพ่อ แม่ และ ผู้ปกครองได้
นางกนกทิพย์ ปริญญานุสสรณ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและสื่อสารโภชนาการเพื่อสุขภาพ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า “เด็ก ๆ เรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการเล่น เพราะสมองส่วนหน้าจะเปิดรับการเรียนรู้ โครงการ เนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี จึงสานต่อกิจกรรม “#เมนูหนูช่วยทำ” ตอนสนุกสุขโซน เพื่อเชิญชวนพ่อแม่ และผู้ปกครองสร้างพื้นที่แห่งความสุขและสุขภาพดีในบ้าน โดยใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน ด้วยการชวนเด็ก ๆ ร่วมเตรียมมื้ออาหารให้สนุกและมีสีสัน ให้เด็ก ๆ ได้ลงมือทำจนสำเร็จ ซึ่งจะเป็นการช่วยฝึกทักษะการคิดจากสมองส่วนหน้า (EF: Executive Functions) สร้างความมั่นใจ และ สร้างพฤติกรรมสุขภาพหมู่ร่วมกันในครอบครัว
โดยกิจกรรมโซนที่ 2 ครัวหรรษา ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ได้เปิดพื้นที่ให้ผู้ปกครองพูดคุยและขอรับคำปรึกษาด้านจิตวิทยาและโภชนาการออนไลน์โดยตรงกับผู้เชี่ยวชาญ ผ่าน Facebook Messenger ของ https://www.facebook.com/N4HKThailand/ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย นำโดย อาจารย์รณสิงห์ รือเรือง นักจิตวิทยาคลินิก ระดับชำนาญการพิเศษ และ นางทัศนีย์ สิทธิรัตน์ ณ นครพนม ผู้จัดการฝ่ายชำนาญการพิเศษด้านอาหาร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ที่พร้อมให้คำแนะนำที่หลากหลาย เพื่อความสุขของทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารจัดการอารมณ์ การสื่อสารเชิงบวกเมื่อสมาชิกต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านติดต่อกันเป็นเวลานาน เกร็ดความรู้หรือเทคนิคการทำอาหารเพื่อสุขภาพให้อร่อยและจูงใจเด็ก ไปจนถึงการจัดสรรเวลาอย่างเหมาะสมเพื่อสมดุลกายและใจ”
ทั้งนี้ เนสท์เล่ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยจากพ่อแม่ และผู้ปกครอง พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็ก และผู้ชำนาญการพิเศษด้านอาหาร เพื่อสร้างสุขภาพดี และส่งเสริมความสุขในบ้านมาไว้ดังนี้
อาจารย์รณสิงห์: การจ้องหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แล็ปทอป หรือ มือถือเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเพลียง่ายโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้เพราะสมองต้องทำงานหนักขึ้นตามภาพที่เคลื่อนไหวเร็วอยู่ตลอดเวลา เสมือนเวลานั่งรถทางไกล แม้ไม่ได้เป็นคนขับ ก็รู้สึกเหนื่อย เพราะเราเห็นภาพของวิวข้างทางที่เคลื่อนไหวอย่างเร็วเป็นเวลานาน เสมือนว่าเรากำลังใช้ร่างกายเคลื่อนไหวจริง กล้ามเนื้อร่างกายจะเกิดการเกร็ง และตึงของกล้ามเนื้อที่เราเรียกว่า “ตึงเครียด” ความเครียดและความเหนื่อยล้าสะสมจากการทำงานหน้าจอ จะส่งผลให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดง่าย และกระทบกับความสัมพันธ์ในครอบครัว สมาชิกแต่ละคน แต่ละช่วงวัยอยากมีเวลาและพื้นที่เป็นของตัวเองมากขึ้น การดูแลสมาชิกในครอบครัว หรือการดูแลบุตรหลานเรื่องการเรียนออนไลน์ สามารถแก้ไขได้ด้วยการกำหนดช่วงเวลาพัก เพื่อทำกิจกรรมสันทนาการ หรือออกกำลังกายง่าย ๆ ร่วมกันในบ้าน
กิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ ตอนสนุกสุขโซน นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมต้นแบบที่ทุกครอบครัวสามารถทำได้ เพราะทุกบ้านต้องทานอาหารอยู่แล้ว และใช้เวลาไม่นาน เพียงแค่วันละ 20 – 30 นาที อีกทั้งการเข้าครัวยังช่วยเสริมพัฒนาการในเด็กให้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเป็นขั้นตอน และอาศัยความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ยังเติมเต็มเวลาคุณภาพให้กับสมาชิกในครอบครัวทั้งในส่วนของ อารมณ์ อาหาร และการออกกำลังกาย แนะนำให้ชวนเด็ก ๆ จัดตารางสนุกสุขโซน ประจำสัปดาห์ ซึ่งเป้าหมายสำคัญของกิจกรรมนี้ คือการได้ใช้เวลาที่ต้องอยู่ติดบ้าน สร้างสรรค์เป็นเวลาคุณภาพเพื่อสุขภาพที่ดีทางโภชนาการ และความสุขทางอารมณ์ เริ่มต้นจากมื้ออาหารที่ทำร่วมกัน และรับประทานร่วมกันอย่างมีความสุขในบ้าน อย่าลืมปิดท้ายด้วยการออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์ เพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพจากความอ้วนสะสม
นางสาวทัศนีย์: สำหรับครอบครัวที่มีเหตุจำเป็นต้องปฏิบัติตามหลัก Home Isolation แนะนำให้พยายามทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และสดใหม่ โดยแนะนำเป็นอาหารจานเดียว เป็นเมนูที่ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่ให้สารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ เช่น เบนโตะไข่ม้วน, เมนูผัดเห็ดสามสหาย, ข้าวผัดใส่ใจไข่ฟรุ้งฟริ้ง เป็นต้น พบกับไอเดียเมนูที่หลากหลายพร้อมวิธีการทำง่ายๆ ได้ที่ https://www.nestle.co.th/th/nhw/kids/homerecipe ข้อดีของการจัดอาหารจัดแยกชุดสำหรับสมาชิกในบ้าน คือจะช่วยป้องกันและหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายหรือติดเชื้อระหว่างบุคคล ส่วนการบริหารจัดการวัตถุดิบ แนะนำให้เลือกผักผลไม้ที่สามารถเก็บไว้ได้นาน และสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น แครอท บรอคโคลี กะหล่ำปลี และ ผลไม้เนื้อแข็ง เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง สาลี่ มะม่วงมัน