Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

หลักการคิดแก้ปัญหา 3 แบบ รู้ไว้คิดอะไรก็ไม่มีตัน

Posted By Plook Magazine | 27 พ.ค. 64
13,193 Views

  Favorite

คนที่เเก้ปัญหาเก่ง ๆ มักจะมีวิธีการแก้ปัญหามากกว่าหนึ่งวิธี ซึึ่งรวมถึงการหาไอเดียในการทำงาน ทำการบ้าน หรือแม้แต่ปัญหาในชีวิตที่ต้องการหลาย ๆ มุม หลาย ๆ วิธีเพื่อที่เราจะได้เลือกทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา การทำอะไรเดี่ยว ๆ นั้นไม่เวิร์ก มันต้องหลาย ๆ แบบถึงจะเวิร์ก !  

 

 

การคิดแบบที่ 1  
การคิดแบบนักวิเคราะห์ (Analytical Thinking)


การคิดแบบนักวิเคราะห์ คือ การคิดที่อิงตัวเอง ข้อเท็จจริง ตั้งหน้ามองหาเหตุผล (Facts & Logic) เพื่อหาทิศทาง หาคำตอบที่เป็นผลของเหตุ (Reason) เพื่อมุ่งแก้ปัญหา ผู้คิดแบบนักวิเคราะห์มักต้องการความชัดเจนตรงไปตรงมา เป้าหมายอยู่ที่ไหน พุ่งเข้าไปชนตามทิศทางจากข้อมูลอันชัดเจนที่ตัวเองเชื่อมั่น โดยเริ่มจากการตั้งคำถาม ตัวอย่างเช่น 

• เกรดตกจะทำยังไงดี ? 

• แม่จะด่าไหมที่ทำเกรดตก ?

• เกรดไม่ดีแบบนี้จะยื่นเข้าคณะที่ฝันได้ไหม ?

 

สุดท้ายก็ไม่ได้คำตอบหรือทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้น แต่ถ้าเราเปลี่ยนการตั้งคำถามใหม่เป็น

• เกรดตก เเล้วเพราะอะไรเกรดถึงได้ตก ? 

• แม่ด่าเพราะเกรดตก เราจะทำยังไงเพื่อชดเชยและรักษาความเชื่อมั่นที่แม่มีต่อเรา

• เกรดตก แล้ววิชาไหนที่เราทำได้ไม่ดี วิชาไหนที่เราทำได้ดี ? 

 

ความแตกต่างของคำถามทั้งสองชุด ชุดแรกเป็นคำถามที่เราจะไม่มีวันรู้คำตอบเลย และไม่ช่วยให้มีข้อมูลในแก้ปัญหาเลย ในขณะที่คำถามชุดที่สอง ถึงแม้จะไม่ได้ให้คำตอบโดยตรง แต่จะทำให้เราสามารถหาข้อมูลที่ช่วยในการแก้ปัญหาได้ 

 

 

การคิดแบบที่ 2
การคิดแบบโครงสร้าง (Structural Thinking)


การคิดแบบโครงสร้าง คือ การหัดคิดเปรียบเทียบเพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงความคิดอย่างมีระบบ เพื่อที่จะตัดสินว่าปัญหานี้เราจะจัดการมันยังไง โดยต้องอาศัยการศึกษาระบบ (System) ต่าง ๆ การทำ Flow Chart พยายามคิดว่าในสถานการณ์แบบนี้ เราจะประยุกต์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้กับสถานการณ์ยังไง เช่น เหลือเวลาอีก 3 เดือน ก่อนที่จะสอบ เราจะต้องเตรียมพร้อมยังไง โดยเริ่มตั้งคำถามจาก 

 

1. ลองแตกความคิด 
เหลือเวลาอีก 3 เดือนกับอีก 5 วิชาที่เราต้องอ่าน ควรมุ่งไปที่หัดทำโจทย์ และเราต้องวางแผนอ่านหนังสือ โดยอิงกับเวลาที่เหลืออยู่ให้แม่น   

 

2.  เลือกสิ่งที่ควรจะทำ
พอดูเปอร์เซ็นต์ในแต่ละวิชาที่ต้องสอบแล้ว เราจะเห็นว่าแต่ละวิชาต้องการเปอร์เซ็นต์ ที่ไม่เท่ากัน เช่น คณะที่เราเลือกเขาต้องการคะแนนวิชาคณิตศาสตร์มากที่สุด 40% เห็นแบบนี้แล้วเราก็จะพอเห็นภาพมากขึ้นแล้วว่าเราควรทุ่มเทเวลาตรงไหน แล้วตรงไหนเทได้ โบกมือลาได้ถ้าอ่านไม่ทันจริง ๆ 

 

การคิดแบบโครงสร้าง คือ การคลี่ปัญหาออกมาดูทุกซอกทุกมุมแล้วเราจะเห็นว่าปัญหามีมากมาย แต่ไม่ใช่ทุกปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขในทันที เราจะต้องมองให้ทะลุปัญหาแล้วเลือกทำในสิ่งที่จะสร้างผลกระทบที่ดีที่สุดก่อน  

 

 

การคิดแบบที่ 3  
การคิดแบบรวบยอด (Conceptaul Thinking)


คนที่พยายามหาความคิดใหม่ ๆ การคิดแบบรวบยอดนี้ต้องอาศัยข้อมูลที่แน่นอนที่มีในมือมากพอ ต้องวาดภาพในสมองเก่ง (Make a Picture) ชอบความท้าทาย (Challenge) ไม่คิดทำซ้ำแบบเดิม ๆ ที่เน้นความปลอดภัยเพราะเห็นตัวอย่างว่ามันดีอยู่แล้ว ไม่กลัวผิด กล้าลุย และลงมือทำไปทั้งที่ไม่มีทิศทาง ไม่มี Reference ตัวอย่างที่คนอื่นเคยทำมาไกด์ แต่เชื่อมั่นและเน้นในกระบวนการ (Process) ก่อนแล้วค่อยหาทิศทางทีหลัง นักคิดแบบรวบยอดจึงรักที่จะสร้างมุมมองใหม่แบบไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ

 

โดยเริ่มจากการสร้างภาพอย่างการวาดภาพในหัวออกมาเป็นภาพ (ถ้าใครวาดรูปเก่งก็เจ๋งเลย) ในการแก้ปัญหา หาไอเดียต่าง ๆ หรือใครที่วาดรูปไม่ค่อยเก่งก็อาจจะใช้มู้ดบอร์ดมาช่วย ด้วยการตัดแปะไอเดียเอาไว้ในกระดาษแผ่นเดียวเพื่อที่จะได้มองเห็นทิศทางในการแก้ปัญหาต่อไป  ทั้งนี้อย่าลืมพกการคิดบวก positive thinking ไปด้วย เพราะถ้าขาดการคิดในแง่ดีแล้วอาจขาดแรงใจในการแก้ปัญหาไปด้วย  

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

4 คำถามถ้าอยากคิดวิเคราะห์เก่ง เพราะ 'Critical Thinking' นั้นสำคัญ

‘AQ’ ทักษะจำเป็นในวันที่โลกหมุนเร็วจนตามไม่ทัน

วิธีปรับ Mindset ปลุก Passion ปลดล็อคความสามารถเจ๋ง ๆ ในตัวเอง

เคล็ดลับการตัดสินใจให้ไม่พลาดโอกาสที่ดีที่สุด ไร้อาการ 'FOBO'

เคล็ดลับที่จะทำให้เราเก่งขึ้น 1% ทุกวัน

รู้จักสไตล์การเรียนของตัวเองผ่าน ‘VARK Model’

10 วิธีออกกำลังสมองให้ฉลาดขึ้น ด้วยวิธี ‘Neurobic exercise’’

6 วิธีพัฒนาทักษะสมอง EF ในวัยรุ่นให้เก่งและดี เอาตัวรอดได้

คำถามจิตวิทยา 10 ข้อ ช่วยให้เรารู้จักตัวเอง ค้นพบศักยภาพที่ซ่อนอยู่

เทคนิคพัฒนาสมอง “ช่วยเพิ่ม IQ” เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้

เคล็ดลับการทำ ‘Mood Board' เพื่อค้นหาตัวเอง


 

แหล่งข้อมูล

- พลอย จิรยะเวช. (2560). Prada Mandala พุทธะในปราด้า The essence of life and style. กรุงเทพฯ: โอเพ่น โซไซตี้ 

- Thinking: สร้าง Mindset กระบวนการแก้ปัญหาแห่งอนาคต

 
 
 
 
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow