Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รู้จักสไตล์การเรียนของตัวเองผ่าน ‘VARK Model’ ตัวช่วยอัพเกรดให้ดีขึ้น

Posted By Plook Magazine | 30 เม.ย. 64
17,114 Views

  Favorite

บางคนนั่งอ่านหนังสือให้ตายยังไงก็ไม่เข้าหัวเพราะสมองชอบการเรียนรู้ผ่านการฟังมากกว่าการอ่าน เชื่อไหมว่าคนเรามีสไตล์การเรียนที่แตกต่างกัน หัวข้อยาก ๆ จะเป็นเรื่องหมู ๆ หากเราได้เรียนรู้ด้วยวิธีที่ใช่ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบหรือที่เราเรียกว่า ‘VARK’ (อ่านว่าว๊าก) มาปรับวิธีการเรียนรู้ เปลี่ยนเรื่องน่าเบื่อในห้องให้สนุกมากขึ้นกันดีกว่า  

 

สไตล์การเรียนรู้ VARK คิดค้นโดยเฟลมมิ่งและมิลส์ (Fleming & Mills) ในปี 1992 โดยได้แบ่งสไตล์การเรียนรู้ตามความความชอบหรือความถนัดในการรับข้อมูลไว้ 4 กลุ่ม และได้ตั้งชื่อการแบ่งกลุ่มนี้ว่า VARK Model หรือ VARK Learning Styles

 

 

Visual นักเรียนรู้ผ่านภาพ


ลักษณะ: ชอบการเรียนรู้ผ่านภาพและสัญลักษณ์ จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อได้ลงมือวาดภาพหรือจำเป็นภาพ และเรียนรู้ได้ดีถ้าได้ดูรูป แผนภาพ mind mapping แผนที่ แผนผัง ภาพวาด การ์ตูน หนัง 

• ชอบวางแผนก่อนลงมือทำจริง 

• จดจำข้อมูล เนื้อหาด้วยภาพในหัว

• ชอบสีสันและสามารถจำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยสีได้ดี 

• ชอบอ่านหนังสือในที่เงียบ ๆ ไม่เสียงดัง 

• ชอบมองภาพกว้างก่อนลงรายละเอียด

 

 

Aural/Auditory นักเรียนรู้ผ่านเสียง


ลักษณะ: ชอบเรียนรู้ผ่านการฟังและจะจำได้แม่นยำหากได้พูดออกเสียง 

• ชอบฟังครูพูด เข้าใจได้ดีเวลาครูสอน 

• เวลาอ่านหนังสือจะชอบอ่านออกเสียง

• ชอบพูดอธิบายให้เพื่อนฟัง

• จัดลำดับความคิดด้วยการออกเสียง

• เล่นเกมที่ต้องใช้การฟังได้ดี 

• เรียนรู้ได้ดีผ่านเพลง พอดแคสต์ การสัมภาษณ์

• สอบได้คะแนนดีในข้อสอบ listening   

• ชอบอ่านหนังสือในคาเฟ่ เปิดเพลงคลอ ไม่ชอบความเงียบ 

• ก่อนลงมือทำอะไรจะต้องให้บอกอย่างละเอียด 

 

 

Read/Write นักเรียนรู้ผ่านการอ่านและเขียน


ลักษณะ: ชอบการเรียนรู้ผ่านหนังสือและจะจำได้แม่นเมื่อได้จด 

• มีนิสัยรักการอ่าน ชอบอ่านหนังสือ

• มีสมุดจดคู่กายและชอบพกสมุดโน้ต 

• ชอบสะสมหนังสือทุกประเภท ซื้อหนังสือบ่อย

• ชอบค้นคว้าหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต 

• ชอบเขียนไดอารี่, To do list, รีวิว

• ชอบอ่านหนังสือในที่เงียบ ๆ 

• สอบข้อเขียนจะได้คะแนนดี

• ทำงานเบื้องหลัง หาข้อมูลเก่ง วิเคราะห์ข้อมูลได้แม่น

• จะมีบทความ เรื่องสั้น ความคิดเห็นให้เพื่อนได้อ่านอยู่เสมอ 

 

 

Kinesthetic นักเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ 


ลักษณะ: ชอบเรียนรู้ผ่านการทดลอง เล่น ลงมือทำ การสาธิต และผ่านการเคลื่อนไหว ได้สัมผัสจริง

• นั่งเรียนนิ่ง ๆ ไม่ได้นาน นั่งอยู่ไม่สุข นั่งไม่ติดที่

• ชอบเรียนวิชาที่ได้ทดลองทำ ปฏิบัติ งานฝีมือ 

• ชอบการเรียนรู้นอกห้องเรียน 

• ไม่พลาดที่จะไปทัศนศึกษา

• จดจำได้ดีเมื่อมีการใช้อุปกรณ์ สร้างแบบจำลองที่จับต้องได้

• เป็นนักกิจกรรมตัวยง

• ทำคะแนนได้ดีเมื่อเป็นข้อสอบปฏิบัติ   

• ชอบเล่นเกมที่มีสาระคู่ความบันเทิง (Edutainment)   

• พูดเร็วและชอบแสดงท่าทางประกอบเวลาพูด  

 

นักเรียนรู้ทั้ง 4 แบบล้วนมีสไตล์ที่แตกต่างกัน ไม่มีแบบไหนที่ถูกหรือผิด แบบไหนดีกว่าแบบไหนและไม่ใช่ว่าเราเป็นนักเรียนแบบไหนแล้วเราจะเป็นแบบนั้นไปตลอดชีวิต ทุกคนสามารถปรับสไตล์การเรียนของตัวเองได้ วันหนึ่งนักเรียนรู้ผ่านภาพอาจปรับสไตล์การเรียนไปเป็นนักเรียนรู้ผ่านเสียงก็ได้ถ้ามีการพัฒนาตัวเองไปเรื่อย ๆ แต่ที่สำคัญคือเมื่อเรารู้สไตล์การเรียนที่เหมาะกับตัวเองแล้ว เราก็จะสามารถทำให้หัวข้อยาก ๆ ง่ายขึ้นได้ด้วยสไตล์การเรียนที่ใช่นั่นเอง  


 

บทความที่เกี่ยวข้อง

คำถามจิตวิทยา 10 ข้อ ช่วยให้เรารู้จักตัวเอง ค้นพบศักยภาพที่ซ่อนอยู่

เคล็ดลับการทำ ‘Mood Board' เพื่อค้นหาตัวเอง

แนะนำ 8 แอปการเรียนดี ๆ ที่จะช่วยให้เรียนสนุกและเกรดพุ่ง !

รู้ให้ทัน ! ก่อนที่โรงเรียนจะทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเราไปหมด

ตั้งใจเรียน ไม่เคยเท แต่ทำไมเกรดตก นี่เราพลาดอะไรไป ?

เทคนิคการแบ่งเวลาแบบ ‘มะเขือเทศ’ ที่จะช่วยให้การโฟกัสเป็นเรื่องง่ายขึ้น

คะแนนสอบน้อยไม่ต้องเซ็งนาน เรามีอะไรจะเล่าให้ฟัง !

วิธีปรับ Mindset ปลุก Passion ปลดล็อคความสามารถเจ๋ง ๆ ในตัวเอง

แบบทดสอบค้นหาตัวเอง ค้นหาพรสวรรค์ 8 ด้าน


 

แหล่งข้อมูล 

งานวิจัยการวิเคราะห์ผู้เรียน: ลีลาการเรียน (Learner Analysis: Learning Styles) โดยศักดิ์คเรศ ประกอบผล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

 
 
 
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow