Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วิธีแก้เกมเมื่อ 'โดนบูลลี่' ที่โรงเรียน

Posted By Plook Magazine | 11 ก.พ. 64
6,137 Views

  Favorite

วัยรุ่นไทยจํานวนมากเสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้า บางคนเคยมีความคิดฆ่าตัวตายซึ่งมีสาเหตุมาจากการโดนบูลลี่ (วัยรุ่นไทยบูลลี่เก่งติดอันดับ 2 ของโลก) โดยเฉพาะวัยรุ่นช่วงอายุระหว่าง 10-19 ปี เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายและจิตใจกำลังเติบโต ยังไม่แช็งแรงพอ เมื่อมีเรื่องมากระทบจิตใจแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยเพียงใดก็ตามก็จะรู้สึกจะเจ็บปวดได้ง่ายมาก 

 

 

แล้วใครเป็นคนบูลลี่ ?

 

คําตอบก็คือ เพื่อน/รุ่นพ่ี/รุ่นน้อง 70% และครู/อาจารย์ 17% และครอบครัว 13% โดยมักจะบูลลี่เรื่องการเอาปมด้อยของคนอื่นมาตั้งฉายา เรื่องรูปร่างหน้าตา สีผิว ส่วนผลกระทบจากการถูกบูลลี่ก็มีทั้งกลัวการไปโรงเรียน ไม่อยากไปโรงเรียนจนต้องย้ายโรงเรียน เสียสุขภาพจิต ซึมเศร้าและพยายามจะฆ่าตัวตาย โดยรูปแบบการบูลลี่มีทั้งทางกาย เช่น ตบหัว แกล้งให้สะดุดล้มเหมือนในละครหลังข่าว ไถเงิน ฯลฯ ส่วนการบูลลี่ทางคำพูด เช่น ล้อเลียน ด่าทอ เหยียด ฯลฯ และบูลลี่ทางสังคม เช่น แบน ไม่คุยด้วย ไม่เล่นด้วย มีท่าทีรังเกียจ ฯลฯ 

 

สาเหตุของการบูลลี่ที่พบมากที่สุด

Cr.จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2564 จากกรมสุขภาพจิต

 

แก้เกมยังไงเมื่อโดนบูลลี่

 

ปรับความคิด หนึ่งเลยคือไม่โทษตัวเอง ไม่ตำหนิตัวเองว่าเป็นสาเหตุที่โดนบูลลี่

 

ทำความเข้าใจ เพราะคนที่บูลลี่เราต่างหากที่เขามีปัญหา คนดี ๆ ที่ไหนจะมาแกล้งคนอื่น 

 

ไม่ส่งต่อการบูลลี่ ไม่ตอบโต้ ไม่สร้างความรุนแรงเพิ่มด้วยการนิ่งเฉย ไม่แสดงการบูลลี่ทุกรูปแบบกลับไป


แสดงออกว่าไม่ชอบแต่ไม่แก้แค้น บอกเขาว่าเราไม่โอเค เราไม่ชอบ แต่ไม่ควรผูกใจเจ็บด้วยการแก้แค้นเพราะนั่นจะสร้างความทรงจำที่เลวร้ายในใจให้กับเราในอนาคต ปล่อยวางและให้อภัยเขา

 

 

ระบายกับคนที่ไว้ใจ หากเรารู้สึกเสียใจ รู้สึกแย่ ให้ระบายกับเพื่อนที่สนิท หากเป็นครูที่โรงเรียนเองที่บูลลี่เรา ให้แจ้งผู้ปกครองหรือญาติที่เราสนิทใจด้วย 

 

เก็บหลักฐาน หากมีหลักฐานที่โดนบูลลี่ให้บันทึกเหตุการณ์เอาไว้ 

 

หากยังโดนแกล้งอีก นำหลักฐานที่มี พยานที่มีอยู่ไปแจ้งความ โดยปรึกษาผู้ปกครอง เพราะคนที่รังแกคนอื่นซ้ำ ๆ มีแนวโน้มจะรังแกมากขึ้นโดยไม่กลัวผลที่ตามมาและมักจะไม่หยุด จึงควรได้รับผลของการกระทำตามกฏของโรงเรียนและได้รับความช่วยเหลือ


เชิดใส่ สร้างความมั่นใจในตัวเอง เติมพลังความมั่นใจให้ตัวเองอยู่เรื่อย ๆ ด้วยการออกไปทำกิจกรรมที่มีความสุข ไปสังสรรค์กับเพื่อน แชร์ประสบการณ์กับคนอื่นเพื่อไม่ให้รู้สึกตกเป็นเหยื่อและโดดเดี่ยว

 

 

แหล่งข้อมูล
- จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2564

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow