Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ศักราชใหม่ อาชีพไหนมีแววรุ่ง อาชีพไหนมีแววจะร่วง

Posted By Plook Panya | 02 ก.พ. 64
6,436 Views

  Favorite

       ในยุคที่หันไปทางไหนก็มีแต่ความดิจิทัลและเทคโนโลยี่เต็มไปหมด การเข้ามาของดิจิทัลจึงส่งผลกระทบต่อธุรกิจและตลาดแรงงานในบางอาชีพ รวมทั้งธุรกิจบริการบางประเภท อย่างที่เค้าเรียกกันว่า Digital Disruption นอกจากนี้ สิ่งที่ส่งกระทบสาหัสต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาล คงหนีไม่พ้นเจ้า COVID-19 ที่เล่นเอาซะธุรกิจท่องเที่ยวและอาชีพในสายนี้ถึงกับล้มตึงไปกันเป็นว่าเล่น วันนี้ลองมาดูกันว่าในอนาคตไม่ใกล้ไม่ไกล อาชีพไหนมีแววจะรุ่งหรือร่วงกันบ้าง

 

 

  อาชีพที่มีแววรุ่ง ติดเทรนด์ 

1. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) และ นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) 

       ยังคงเป็นอาชีพน่าสนใจในเทรนด์ของโลกดิจิทัลและเทคโนโลยี เพราะยุคนี้ เป็นยุคที่ Big Data ช่วยกำหนดแนวทางธุรกิจและการตลาดได้อย่างดีเยี่ยม ดังนั้นองค์กรหลายแห่งจึงปรับวิธีการใช้ Data กันอย่างจริงจังขึ้น สายงานด้านนี้จึงยังมีแววดีที่รุ่งต่อไป

อ่านข้อมูลอาชีพเพิ่มเติม >>> นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) และ นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) 

 

2. นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) และนักวางแผนกลยุทธ์ (Strategy Specialists) 

       การตลาดดิจิทัลเป็นงานที่ขับเคลื่อนให้ธุรกิจสินค้าและบริการอย่างมาก โดยในปัจจุบันงานสายนี้เน้นเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นรายบุคคลได้ดี และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมากมาย จึงมีการทำ Direct Customer Marketing ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เกิดการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น 

อ่านข้อมูลอาชีพเพิ่มเติม >>> นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing)

 

3. อาชีพด้าน AI และ Machine Learning

       เป็นอีกสายงานที่ติดเทรนด์ แม้จะไม่มีความต้องการมากเท่า สองสายงานแรก แต่กระแสความต้องการด้าน AI และ Machine Learning มากยิ่งขึ้นเพื่อมาช่วยแก้ปัญหา ลดเวลาและต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการก็มีมาไม่ขาดสาย จนทำให้สถาบันการศึกษาหลายแห่งเริ่มจัดกระบวนการเรียนรู้เฉพาะ บูรณาการศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในข้อนี้

อ่านข้อมูลอาชีพเพิ่มเติม >>> วิศวกร ML (Machine Learning Engineer) 

 

4.  นักพัฒนาซอฟท์แวร์หรือแอปพลิเคชั่น (Software and Application Developer)

       ยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง เพราะโลกแห่งดิจิทัลหรือ Network Society นั่นทำให้ Software และ Application กลายเป็นสิ่งพื้นฐานที่หลายภาคธุรกิจจำเป็นต้องใช้ ตั้งแต่ธนาคาร สถาบันการเงิน  ภาคธุรกิจต่าง ๆ อย่างธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ social media หรือเกมส์ เหตุนี้อาชีพดังกล่าวจึงยังคงยืนหยัดอยู่ในกลุ่มอาชีพที่เป็นที่ต้องการอาชีพหนึ่งในตลาดแรงงาน 

อ่านข้อมูลอาชีพเพิ่มเติม >>> นักพัฒนาแอปพลิเคชั่น (Application Developer)

 

อาชีพมีแววร่วง หรือเริ่มเป็นที่ต้องการน้อยลง  

1. พนักงานคีย์ข้อมูล (Data Entry Clerk) 

       อาจเป็นอาชีพที่ส่งผลกระทบบ้าง เนื่องจากเป็นงานที่มีแววจะถูกแทนที่ด้วย Software ได้ง่ายๆ และเพราะเทคโนโลยีสามารถออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานประเภทนี้ได้รวดเร็วและอาจจะแม่นยำกว่า มีข้อผิดพลาดน้อยกว่าด้วย 

2. พนักงานโรงงาน (Factory Worker) 

       ในอุตสาหกรรมบางแห่งทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง แม้จะยังไม่มีกำลังในการจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการทุ่นแรง แต่การเข้ามาของเทคโนโลยีอาจทำให้งานประเภทนี้ส่งผลกระทบ ถึงแม้ว่าเครื่องจักรเหล่านี้อาจจะต้องใช้ผู้คนมาควบคุมการอีกต่อหนึ่ง แต่ยิ่งนับวันมันจะยิ่งถูกสร้างสรรค์ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น จนไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานมาทำงานแทน หรือควบคุมมันอีกต่อไป 

3. พนักงานสายงานการเงินในระดับพื้นฐาน เช่น พนักงานธนาคารหรือผู้แนะนำด้านการเงิน (Bank Officer or Financial Analyst) 

       กลุ่มนี้อาจไม่อยู่ในข่ายร้ายแรง แต่อาจจะส่งผลให้มีความต้องการแรงงานที่ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่าน Mobile banking เป็นเรื่องง่ายดาย จนทำให้ปัจจุบันธนาคารปรับลดสาขา จึงอาจส่งผลต่อพนักงานธนาคารตามสาขาต่าง ๆ ส่วนในด้านการเงินอื่น ๆ แม้ว่าองค์ความรู้ด้านการเงินจะยังคงมีความสำคัญ แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Analytic) ให้ก้าวหน้ามากขึ้น ดังนั้น คนในสายงานนี้จึงต้องพัฒนาทักษะให้มากขึ้นเพื่อปรับตัว เพราะหากยังทำงานได้เพียงในระดับพื้นฐานอาจจะทำงานให้การงานสั่งคลอน และถูกแทรกแซงด้วยดิจิทัลหรือเทคโนโลยีได้ 

4. พนักงานบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ หรือ Operator (Call Center or Customer Representative) 

       ปัจจุบันการแจ้งปัญหาหรือการสอบถามข้อมูลด้านบริการได้ปรับเป็นการใช้วิธีการใช้ BOT (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตอบกลับอัตโนมัติ) ทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดการจ้างงานบุคคลน้อยลง รวมทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่มักสร้างสรรค์ self-service platform มากขึ้น ให้ลูกค้าสามารถใช้งาน ทดสอบแก้ไขได้ด้วยตนเองง่ายมากขึ้นไปด้วย  

 

       แม้ว่าผลกระทบจากโลกที่เปลี่ยนไป อาจส่งผลต่ออาชีพต่าง ๆ แต่สิ่งที่เราทุกควรต้องเริ่มทำ คือ การปรับตัวเรียนรู้และพัฒนาทักษะการทำงานของเราให้ทันต่อโลก เพื่อเตรียมกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที

 

แหล่งข้อมูล: การเสวนาหัวข้อ "Future Skills for Digital Era"  จากโครงการ MBA for All: Certification Programศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Panya
  • 7 Followers
  • Follow