Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

สารเคมีที่ใช้น้ำยาทำความสะอาด และสารเคมีที่ต้องหลีกเลี่ยง

Posted By Geniuswebb | 18 ธ.ค. 63
16,699 Views

  Favorite

สารเคมีคือส่วนประกอบหลักของน้ำยาทำความสะอาด แม้การทำความสะอาดจะเป็นเรื่องดี  แต่เราควรอ่านฉลากเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานเสมอน้ำยาซักผ้า น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ สบู่เหลวล้างมือฆ่าเชื้อ น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ น้ำยาเช็ดกระจก และน้ำยาล้างจาน มีส่วนประกอบของสารลดแรงตึงผิว ทำหน้าที่ลดแรงตึงผิวระหว่างน้ำและคราบมัน น้ำจะเข้าไปจับและรวมตัวกับคราบมัน ทำให้สามารถชะล้างออกด้วยน้ำได้ นั่นเป็นสาเหตุให้เสื้อผ้าสะอาดหลังซักด้วยน้ำยาซักผ้า เพราะน้ำยาซักผ้าเข้าไปจับสิ่งสกปรกที่อยู่ในรูปของแข็งและของเหลว แล้วจึงชะล้างออกไปพร้อมกับน้ำนั่นเอง

 

 

สารที่เป็นกรด

น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นกรดมักใช้กำจัดสิ่งสกปรกอนินทรีย์ เช่น สนิม ส่วนประกอบหลักของน้ำยาทำความสะอาดประเภทนี้คือ กรดแร่เข้มข้นและคีแลนต์ (Chelant) นอกจากสารเคมีที่เป็นกรดแล้ว ยังมักเติมสารลดแรงตึงผิวและสารป้องกันสนิมลงไปด้วย

 

กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) คือหนึ่งในกรดแร่ที่พบบ่อยในน้ํายาทําความสะอาด มักใช้กับพื้นผิวที่ทนทาน เช่น คอนกรีต น้ำส้มสายชูก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สามารถใช้ทำความสะอาดพื้นผิวที่ทนทาน กำจัดคราบตะกอน ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีกรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน) ที่เป็นส่วนผสมของน้ำยาทำความสะอาดท่อแบบกรดสำหรับล้างท่อตัน โดยทำหน้าที่สลายคราบมัน โปรตีน ไขมันที่จับตัวเป็นก้อน หรือสารประกอบคาร์โบไฮเดรต เช่น กระดาษชำระ เป็นต้น

 

สารที่เป็นด่าง

สารเคมียืนพื้น เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโพแทสเชียมไอดรอกไซด์ มักถูกใช้ในน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นด่าง น้ำยาทำความสะอาดแบบด่างที่พบบ่อยคือ น้ำยาฟอกขาว (pH 12) และแอมโมเนีย (pH 11) นอกจากนี้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นด่างยังมักผสม สารกระจายคราบน้ำมัน (Dispersant) เพื่อป้องกันไม่ให้คราบสกปรกเกาะวัตถุอีกครั้ง รวมทั้งเติมคีแลนต์เพื่อกำจัดสนิม น้ํายาทําความสะอาดที่เป็นด่างยังสามารถขจัดคราบมัน น้ำมัน และคราบอื่น ๆ ที่เกิดจากโปรตีนได้

 

อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำยาทำความสะอาดที่ผสมแอมโมเนียเข้มข้นตั้งแต่ 3% ขึ้นไปในบริเวณที่อากาศไม่ถ่ายเท อาจทำให้ผู้ใช้ได้รับสารอันตรายระหว่างการใช้งานมากเกินขอบเขตปริมาณที่ปลอดภัย งานวิจัยบางชิ้นได้ระบุว่า การทำความสะอาดบ้านด้วยแอมโมเนียและน้ำยาฟอกขาว อาจทำให้เนื้อเยื่อปอดเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ และทำลายสุขภาพปอด

 

ซัลเฟต

ซัลเฟต คือส่วนประกอบหลักในน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาซักผ้า ทำหน้าที่สร้างฟอง สามารถแตกตัวคราบมันและสิ่งสกปรก พร้อมชะล้างให้หลุดไปกับน้ำ ซัลเฟตที่ใช้บ่อยในน้ำยาทำความสะอาด ได้แก่  โซเดียมลอเรธซัลเฟต (SLES) โซเดียมลอริลซัลเฟต (SLS) หรือ แอมโมเนียมลอเรธซัลเฟต (ALS) และยังใช้บ่อยในแชมพู น้ำยาล้างจาน สบู่ล้างมือ และสบู่ล้างหน้า แต่ซัลเฟตอาจทำให้ผิวหนังคันและระคายเคือง

 

ไตรโคลซาน

ไตรโคลซาน หรือ ไตรโคลคาร์บาน มักถูกใช้เป็นสารต้านแบคทีเรียในน้ำยาทำความสะอาด เช่น เจลแอลกอฮอล์ล้างมือฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย เครื่องสำอาง และสบู่เหลวล้างมือ แม้การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความความสะอาดร่างกายจะมอบสุขอนามัยที่ดี แต่การใช้มากเกินจำเป็นอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ

 

อันตรายต่อสุขภาพจากสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของนำ้ยาทําความสะอาดนั้นแตกต่างกันออกไป บางประเภทอาจก่อให้เกิดอันตรายเฉียบพลัน เช่น ระคายเคืองผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ น้ำตาไหล แสบร้อน หรือปัญหาสุขภาพเรื้อรังระยะยาว เช่น มะเร็ง นอกจากนี้ น้ำหอมที่เติมลงน้ำยาทำความสะอาดอาจระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปวดหัว จาม หรือน้ำตาไหลในผู้ที่แพ้ เป็นหอบหืด หรือไวต่อน้ำหอม

 

บริษัท เพาเวอร์พลัส อินฟินิท จำกัด

999/19-20 หมู่ 9 ถนนสุขุมวิท ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมือง จ.สมุทรปราการ 10270

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Geniuswebb
  • 0 Followers
  • Follow