Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การเสริมกำลังสะพานคอนกรีตด้วยคาร์บอนไฟเบอร์

Posted By Geniuswebb | 25 ก.ย. 63
442 Views

  Favorite

สะพานคอนกรีต นับเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญมาก  เนื่องจากเป็นโครงสร้างสาธารณะที่มีประชาชนใช้ในการสัญจรไปมา

สะพานคอนกรีต เมื่อใช้ไปนานๆ บางครั้งมีความเสื่อมสภาพจากปัจจัยแวดล้อม เช่น การรับกำลังที่มากกว่าการออกแบบ หรือการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้น จึงควรมีการการตรวจสอบ และออกแบบเพื่อเสริมกำลังโครงสร้างและซ่อมแซมเพื่อความปลอดภัย ของผู้ใช้

 

 กระบวนการตรวจสอบสะพาน

1.1  Visual Inspection เป็นการตรวจสอบด้วยสายตา วัดรอยร้าวด้วย Crack Width Gauge

ดำเนินการทำแผนที่รอยร้าว

1.2   ตรวจสอบ Carbonation ในเนื้อคอนกรีต

1.3  ตรวจสอบการเสื่อมสภาพของเหล็กเสริมในคอนกรีตเพื่อหาค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า

1.4  ตรวจสอบการรับกำลังของโครงสร้างโดยการ Load test

1.5  ตรวจสอบความแข็งแรงของคอนกรีตโดยการ Coring เพื่อตรวจสอบ Compressive Strength ของคอนกรีต

1.6  ตรวจสอบผิวคอนกรีตว่ายึดเกาะกับเนื้อคอนกรีจดีหรือไม่ด้วยPull of Test

1.7  ตรวจสอบคลอไรด์ (Chorline Test) ออกแบบซ่อมแซมรอยร้าว (Crack Repair)

2.1  รอยร้าวในคอนกรีตที่กว้างเกินกว่า 0.3 มม. ดำเนินการซ่อมแซมรอยร้าวด้วย Epoxy Injection

ออกแบบซ่อมแซมคอนกรีต (Concrete Repair) ตาม มยผ. 1901-51 มาตรฐานปฏิบัติในการซ่อมแซมคอนกรีต

ออกแบบเสริมกำลังโครงสร้างสะพานคอนกรีตด้วยคาร์บอนไฟเบอร์(Carbonfiber) หรือทีเรียกสั้นๆ ว่า CFRP

ออกแบบตาม มยผ. 1508-51 หรือ ACI 440.2R-08

 

ดำเนินการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbonfiber) โดยสามารถใช้

Carbonfiber ชนิด Strip หรือที่เรียกว่า Laminate รุ่น Smartfiber TL512    Smartfiber TL1012 เพื่อเสริมกำลังในตำแหน่ง คานคอนกรีตตลอดแนวสะพาน และสามารถใช้วัสดุ Carbonfiber ชนิดแผ่น หรือที่เรียกว่า Sheet ติดตั้งส่วนปลายของคานทั้งสองด้านเพื่อรับแรงเฉือน โดยใช้ Carbonfiber Sheet รุ่น Smartfiber Sheet

UT 70-30 และใต้ท้องพื้นสะพานก็สามาาถใช้ทั้ง Carbonfiber ทั้ง Sheet และ Strip เสริมกำลังได้เช่นกัน

ในบริเวณเสาสะพานสามารถเสริมกำลังด้วยคาร์บอนไฟเบอร์  โดย

การพัน Carbonfiber ชนิด Sheet รอบเสาเพื่อเพิ่มการรับกำลังโดย

การติดตั้ง คาร์บอนไฟเบอร์ ( Carbonfiber) จำเป็นต้องดำเนินการ

ตามแบบที่ผู้ออกแบบ ได้ออกแบบไว้เท่านั้น

 

คุณภาพในการติดตั้ง ให้พิจารณาประสบการณ์ในการทำงานและความน่าเชื่อถือของผู้ออกแบบเป็นสำคัญ

การทดสอบเมื่อซ่อมแซมโครงสร้างสะพานและเสริมกำลังสะพานด้วยคาร์บอนไฟเบอร์แล้วเสร็จ ให้ทำการทดสอบ Load Test ตามมาตรฐาน โดย Third Party

หากดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว ทั้ง 7 ขั้นตอน เชื่อว่าจะได้งานซ่อมแซมเสริมกำลังโครงสร้างสะพานที่ดี

อนึ่ง ผู้ออกแบบ บริษัทผู้รับเหมาที่ซ่อมรอยร้าว ซ่อมโครงสร้างคอนกรีตรีแพร์ และเสริมกำลังโครงสร้างสะพานด้วย CFRP ควรใช้ผู้รับจ้างรายเดียวกัน

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Geniuswebb
  • 0 Followers
  • Follow