Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ความเชื่อน่ารู้ ในวันศารทวิษุวัต วันที่ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน

Posted By มหัทธโน | 22 ก.ย. 63
8,928 Views

  Favorite

วัน “ศารทวิษุวัต”

ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี ทำให้ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน

 

วัน “ศารทวิษุวัต” ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี ทำให้ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้ ซึ่งมีหลากความเชื่อทั่วโลก ที่เกี่ยวข้องกับวันนี้ 

 

 วัน “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) คืออะไร 

วัน “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) เวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน 

 

คำว่า “Equinox” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน

ดังนั้น Equinox หมายถึงวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซึ่งตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า "จุดราตรีเสมอภาค"

 

โดยวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งต่อปี คือ

-- ในช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox)

-- ในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)

 

ที่มา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

แต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดเหนือสุดลงมาทางใต้  เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้

 

จากนั้นดวงอาทิตย์จะเคลื่อนลงทางใต้เรื่อย ๆ จนดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ในวันที่ 22 ธันวาคม 2562 จากนั้นจะค่อยๆ เคลื่อนกลับทางเหนืออีกครั้ง


 ในหนึ่งปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี โลกจึงมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ช่วงใกล้ที่สุดประมาณต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร) และช่วงไกลที่สุดประมาณต้นเดือนกรกฎาคม (ระยะห่างเฉลี่ย 152 ล้านกิโลเมตร) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางใกล้-ไกล ในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก ไม่มีผลต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใด แต่การที่แกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศากับแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกจึงรับแสงอาทิตย์ได้ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณภูมิต่างกัน

 

รวมถึงมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก จะสังเกตได้ว่า ในฤดูร้อน เวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า ส่วนในฤดูหนาว เวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว


เหตุการณ์ความเชื่อต่าง ๆ ทั่วโลก ใน"วันศารทวิษุวัต"  

1. วันศารทวิษุวัตถือเป็นช่วงเวลาที่ดีในการมีเจ้าตัวน้อย

ฤดูใบไม้ร่วงถือเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูการเก็บเกี่ยว ทำให้วันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วงเป็นวันที่เหมาะจะเริ่มวิธีให้มีบุตร นอกจากนั้นยังเป็นที่เชื่อกันว่า ระดับฮอร์โมนเพศชายในผู้ชายและฮอร์โมนเพศหญิงในผู้หญิง จะอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในฤดูใบไม้ร่วง

 

2. เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เม็กซิโก

source : https://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g150807-d11484601-i234210924-Special_Spring_Equinox_Chichen_Itza_Tour_from_Cancun-Cancun_Yucatan_Pen.html

 

เนื่องจากวันศารทวิษุวัตเป็นวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงกับเส้นศูนย์สูตรพอดี ทำให้เกิดแสงแดดทอดยาวไปตามพิรามิดมายัน ที่ Chichen Itza ในประเทศแม็กซิโก ส่งผลให้เห็นเป็นเงารูปงูทอดยาวลงมาจากสุดยอดพิรามิดจนถึงพื้นดิน จากปกติ จะเป็นมุมบันได เต็ม ๆ ที่พบเห็นกันทั่วไป 

 

3. เป็นเวลาที่ดีสำหรับการทำความสะอาดหลุมฝังศพและระลึกถึงผู้ล่วงลับ

ในวันวิษุวัต ทั้งในเดือนมีนาคมและกันยายน เมื่อปี ค.ศ. 1868 - 1912 ถือเป็นวันหยุดประจำชาติของญี่ปุ่น ที่ให้ทุกคนร่วมระลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เยี่ยมชม และทำความสะอาดหลุมฝังศพของพวกเขาเหล่านั้น

 

4. เป็นช่วงเวลาในการเล่นเสี่ยงทายด้วยแอปเปิ้ล

ชาวคริสต์เชื่อว่าแอปเปิ้ลเกี่ยวข้องกับความเป็นอมตะและความตาย ซึ่งสำหรับในวันศารทวิษุวัตแล้ว ก็มีการเล่นเสี่ยงทายด้วยแอปเปิ้ลอย่างหนึ่ง นั่นคือให้ค่อยๆ ปอกเปลือกแอปเปิ้ลโดยให้ยาวต่อกันเป็นเส้นเดียว ไม่ให้เปลือกขาด ปอกให้หมดแล้วปล่อยให้เปลือกหล่นลงพื้น ตัวอักษรที่ปรากฏขึ้นจากเปลือกนั้น จะเป็นตัวอักษรตัวแรกของชื่อรักแท้ของคุณ

 

5. พืชเริ่มตาย

เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง พืชก็จะเริ่มร่วงหล่นไปตามชื่อฤดู และนำไปสู่ความแห้งเหี่ยวในช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง

 

6. ชีวิตอยู่ในช่วงที่สมดุลที่สุด

ตามหลักโหราศาสตร์ ฤดูใบไม้ร่วงเท่ากับช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวตราชั่ง ซึ่งนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความเท่ากัน ความสมดุล ดังนั้นอาจบอกได้ว่า แท้จริงแล้วฤดูใบไม้ร่วงก็หมายถึงสัญลักษณ์แห่งชีวิตที่ตั้งอยู่ในความสมดุล

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow