การเตรียมตัวสอบหรือเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบนายร้อยตำรวจ ทั้งการสอบสายตรงเข้าเรียนเตรียมทหารก่อนเลือกเหล่าตำรวจ หรือสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจโดยไม่ต้องเรียนเตรียมทหาร ก็เป็นเส้นทางที่สามารถทำได้ สำหรับรายละเอียดการสอบในเส้นทางต่าง ๆ Nine 100.com ได้แนะนำไว้ในบทความก่อนหน้านี้ ส่วนบทความนี้เรามีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในสายงานป้องกันปราบปราม มานำเสนอเพื่อเป็นความรู้ให้กับว่าที่นักเรียนนายร้อยตำรวจและผู้ที่สนใจ
โครงสร้างสถานีตำรวจ
สถานีตำรวจ เป็นระดับหน่วยงานหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดในคดีอาญา ภายในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครอง ตลอดถึงการรับผิดชอบในด้านการงานและการปกครองบังคับบัญชาถัดรองลงไปจากกองบังคับการตำรวจ นครบาล(1-9) หรือตำรวจภูธรจังหวัด บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของสายงานต่าง ๆ ในสถานีตำรวจ แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่
1. งานอำนวยการ
งานด้านอำนวยการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยการ การวางแผน การตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานที่เกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานของสถานีตำรวจ งานการบริหารบุคลากร งานจเรตำรวจ งานกิจการพิเศษ งานความมั่นคง การศึกษา การฝึกอบรม งานวิชาการ สวัสดิการ การพัฒนา การบริหารจัดการ งบประมาณ การเงิน การพัสดุ การพลาธิการและ สรรพวุธ การส่งกำลังบำรุง รวมทั้งลักษณะงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานดังกล่าว เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ
2. งานปกครองป้องกัน
งานด้านปกครองป้องกัน มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการป้องกันอาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อย งานคณะกรรมการตรวจสอบ และติดตามการบริหารงานตำรวจ งานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ
3. งานจราจร
งานด้านจราจร มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบและประเมินผลงานด้านการควบคุมจราจร จัดการและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับจราจร งานจราจรตามโครงการพระราชดำริ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านการจราจร ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ ตลอดจนพื้นที่ที่มีการจราจรต่อเนื่องกัน
4. งานสืบสวนปราบปราม
งานด้านสืบสวนปราบปราม มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการสืบสวนปราบปราม อาชญากรรม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับตลอดจนองค์กรหรือเครือข่ายที่อยู่เบ้องหลัง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ
5. งานสืบสวนสอบสวน
งานด้านสืบสวนสอบสวน มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลด้านการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา การมีความเห็น การให้ความเห็นชอบ หรือการเห็นแย้งในคดีอาญา การอุทธรณ์ ฎีกา หรือการขอให้พิจารณาคดีใหม่ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ
บทบาทหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ
ตำรวจ ถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และจับกุมผู้กระทำผิด และยังทำหน้าที่ทั้งด้านการปกครอง คอยสอดส่องดูแลทุกข์สุข ตลอดจนสวัสดิภาพของประชาชน บทบาทหน้าของข้าราชการตำรวจนับว่ามีภาระหนัก และต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สูง ดังนั้น การสอบนายร้อยตำรวจจึงต้องเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ต้องมีความรู้ ความสามารถ มีความเข้มแข็ง อดทนและมีความเสียสละ ในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ดังนี้
นอกจากหน้าที่ของตำรวจตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ในยามศึกสงครามหรือเกิดความไม่สงบ ตำรวจต้องทำหน้าที่เป็นตำรวจสนามทำการรบ หรือควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วหรือป้องกันให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด และการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจที่จะสามารถทำให้การปฏิบัติงานเกิดความสำเร็จได้นั้น ส่วนหนึ่งจำเป็นต้องมาจากปัจจัยส่วนบุคคบล ความรู้ความสามารถ ความพยายามส่วนบุคคล และปัจจัยสภาพแวดล้อม เช่น การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและผู้ร่วมงาน ดังนั้น นักเรียนนายร้อยตำรวจหรือผู้ที่เตรียมตัวสอบนายร้อยตำรวจ จึงนอกจากมีความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เรียนรู้บทบาทหน้าที่เป็นอย่างดี เพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพของตนเอง
สายงานป้องกันปราบปราม และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
ภารกิจสำคัญของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายป้องกันและปราบปรามที่มีหน้าที่หลักในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยตรง บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของสายงานป้องกันปราบปราม ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น
นอกจากนั้น งานและบทบาทหน้าที่ของตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือและบริการแก่ประชาชน เช่น
การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มีหน้าที่โดยตรงของสายงานป้องกันปราบปราม ความหมายของการป้องกันอาชญากรรม คือ การคาดการณ์หรือประเมินล่วงหน้าเกี่ยวช่องทางหรือโอกาสของการกระทำผิดหรือสภาพการณ์อาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งความพยายามที่จะกระทำการใด ๆ เพื่อเป็นการสกัดกั้นมิให้มีการกระทำผิดใดเกิดขึ้น ซึ่งในการป้องกันอาชญากรรมสามารถทำได้ 3 ด้าน ได้แก่
การแบ่งหน้าที่การปฏิบัติของข้าราชการตำรวจฝ่ายป้องกันปราบปราม
งานป้องกันปราบปราม ประกอบด้วยกำลังพลของหน่วยทุก ๆ แผนกงานและทุกคน โดยแบ่งหน้าที่ในกาปฏิบัติไปตามลักษณะงานตามบทบาทหน้าที่ ดังนี้
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สายตรวจ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สายตรวจ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการป้องกันและบริการประชาชน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
วัตถุประสงค์หลักของเจ้าหน้าที่สายตรวจ
หน้าที่ฝ่ายควบคุมผู้ต้องหาบนสถานี
หน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์
หน้าที่พนักงานวิทยุ
หน้าที่ฝ่ายธุรการ
ฝ่ายธุรการ ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร เสนอผู้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ฝ่ายอำนวยการเกี่ยวกับงานเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
วินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการตำรวจ
การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ของข้าราชการตำรวจ
โทษทางวินัยมี 7 สถาน ของข้าราชการตำรวจ
สรุป
นายร้อยตำรวจ สายงานป้องกันและปราบปราม บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบได้แก่ การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยหน้าที่หลักคือการปราบปรามอาชญากรรม เช่น การใช้มาตรการระงับการกระทำผิดและการจับกุมควบคุมอาชญากรแบ่งเป็น 2 มาตรการ คือ มาตรการปราบปรามตามปกติ ได้แก่ การป้องกันและระงับเหตุในขณะเกิดอาชญากรรม และมาตรการปราบปรามในเชิงรุก ได้แก่ การจัดให้มีการระดมกวาดล้างอาชญากรรมอย่างสม่ำเสมอ