technology disruption หรือ digital disruption คืออะไร? คำตอบก็คือ สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยีจนก่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา ทั้ง สินค้า แพลตฟอร์ม หรือโมเดลธุรกิจแบบใหม่ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้นและยังเข้ามาเปลี่ยนวิถีการดำเนินธุรกิจแบบเดิม ๆ จนส่งผลกระทบกับมูลค่าของสินค้าและบริการที่มีอยู่แล้ว และหากธุรกิจไม่มีการปรับตัวก็ธุรกิจนั้น ๆ ก็อาจจะเกิดการหยุดชะงักและปิดตัวลงได้
สำหรับกระบวนการ disruption ธุรกิจ ของเทคโนโลยีใหม่นั้นไม่ใช่นวัตกรรมที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่เดิมแล้วถูกพัฒนาขึ้นจนมีคุณสมบัติที่ดียิ่งขึ้นและตรงกับความต้องการของผู้บริโภค หรือเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการทำลายล้างอย่างสร้างสรรค์ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น
หลักการพิจารณาลักษณะของการเกิด digital disruption นั้น อาจพิจารณาได้จากการเกิดผลลัพธ์ใหม่ ๆ ที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคได้ โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลและสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าบางกลุ่มจนเกิดเป็นตลาดใหม่ได้
นอกจากนี้ digital disruption ไม่ได้เป็นเพียงแค่การให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเท่านั้น แต่รวมถึงโมเดลธุรกิจ ทักษะ ความรู้และการสนับสนุนจากส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถส่งมอบสินค้าและบริการได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
โดยสามารถแบ่งประเภทของ technology disruption หรือ digital disruption ตามโมเดลธุรกิจได้ดังนี้
• Ecosystem model โมเดลธุรกิจที่สามารถผูกขาดการให้บริการและความต้องการในการซื้อสินค้า โดยลูกค้าจะเลือกสินค้าและบริการจากผู้ผลิตเจ้าเดิม
• Freemium Model โมเดลธุรกิจที่ให้บริการทดลองใช้ก่อนซื้อ มีระยะเวลาในการทดลองถ้าใช้ดีก็จะต้องแลกเปลี่ยนโดยการเสียเงินในการใช้บริการ
• Subscription Model โมเดลธุรกิจที่จะต้องเสียเงินซื้อแพคเกจสินค้าหรือบริการ โดยสมัครสมาชิกก่อนใช้บริการ
• Experience Model เป็นโมเดลธุรกิจที่เกิดจากการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ เกิดจากการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีมาตอบสนองความต้องการของลูกค้า
• Access Over Ownership Model โมเดลธุรกิจที่ลูกค้าสามารถซื้อบริการที่เทียบเท่ากันได้ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อบริการจากเจ้าของสินค้าโดยตรง อาทิ แพลตฟอร์มการเช่าบริการต่างๆ
• Free Model โมเดลธุรกิจที่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของการบริการ ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
• On Demand Model โมเดลธุรกิจที่ขายบริการให้ลูกค้าเป็นครั้งคราว โดยที่ลูกค้าไม่ต้องการเป็นเจ้าของในระยะยาว ทำให้การผลิตสินค้านั้น ๆ น้อยลง
RS Group ถือว่าเป็นองค์กรชั้นนำที่สามารถผ่านพ้นวิกฤตของ technology disruption มาได้อย่างน่าสนใจ โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์และมีการวางกลยุทธ์พร้อมทั้งยังมีการปรับโครงสร้างภายในและทีมผู้บริหารให้พร้อมรับการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ ทำให้สามารถควบคุมการบริหารงานได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ขณะเดียวกันก็ยังมีการเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้าเพื่อตอบสนองความต้องการที่ตรงจุด โดยการใช้จุดแข็งทางธุรกิจเดิมที่มีสื่อทีวีดิจิทัลช่อง 8 วิทยุช่อง Cool Fahrenheit ด้วยการเปลี่ยนผู้ชมผู้ฟังให้กลายมาเป็นผู้ซื้อสินค้า รวมถึงการสร้างพันธมิตรเพื่อเพิ่มช่องทางการทำธุรกิจ ด้วยความพร้อมในการปรับตัวจึงทำให้สามารถต่อยอดธุรกิจจากเดิมกลายมาเป็นธุรกิจ Entertainmerce เต็มรูปแบบที่มีรายได้เติบโตและมีมูลค่าหุ้นสูงขึ้นอย่างมาก
RS Group ได้ทำการตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะทำรายได้ให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่หยุดนิ่ง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในทุกด้านและมุ่งมั่นในการเติมเต็มความสุขให้แก่ผู้คนมาทุกยุคสมัย หากอยากเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรชั้นนำ สมัครงานกับ RS ได้ที่นี่