Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

“ PIM ขยายฐานการศึกษาและภาคปฏิบัติ เพิ่ม Network รุกมหาวิทยาลัยชั้นนำในญี่ปุ่น ”

Posted By PR PIM | 16 มี.ค. 63
6,278 Views

  Favorite
PR PIM

 

การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของเยาวชนในชาติและการพัฒนาประเทศในอนาคต สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) มุ่งสร้างเครือข่ายทางการศึกษาที่แข็งแกร่ง เพื่อให้ครอบคลุมความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เปิดกว้างโอกาสการศึกษาแก่เยาวชนรุ่นใหม่ ส่งนักศึกษาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม และศึกษาดูงานกับบริษัทชั้นนำ ณ ประเทศญี่ปุ่น กับ 2 มหาวิทยาลัยชื่อดัง คือ มหาวิทยาลัยเทเคียว (Teikyo University) และมหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University)  โดยรูปแบบเน้นการเรียนรู้ควบคู่การฝึกปฏิบัติจริง (Work-based Education) ที่นักศึกษาสามารถนำประสบการณ์ มาประยุกต์ใช้กับการทำงานอนาคตอย่างมืออาชีพ และเป็นประโยชน์ ต่อยอดการทำงานต่อไป

 

PR PIM

 

พีไอเอ็มจับมือกับมหาวิทยาลัยเทเคียว (Teikyo University) ร่วมส่งนักศึกษาร่วมโครงการรับทุนแลกเปลี่ยน “Teikyo Asia Exchange Program (TAEP)” ซึ่งเป็นทุนระยะยาว 2 ปี เพื่อเรียนต่อระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทในปี 3-4 กับทางมหาวิทยาลัยเทเคียว สำหรับหลักสูตรนี้เชื่อมความร่วมมือกับคณะเศรษฐศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย พีไอเอ็มจะรับรองหน่วยกิตใน 2 ปีแรกและเมื่อเรียนต่ออีก 2 ปีจนจบครบหลักสูตรผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาจากทางมหาวิทยาลัยเทเคียว เรามาพบกับตัวแทนของนักศึกษา ทั้งที่สำเร็จการศึกษาแล้วและกำลังศึกษาอยู่ปัจจุบัน ร่วมแชร์ประสบการณ์สำคัญในชีวิต และบอกเล่าถึงประสบการณ์การศึกษาในต่างแดนที่ประเทศญี่ปุ่น

 

PR PIM

 

อดีตนักศึกษาทุน“TAEP”รุ่นแรก เมษยา ทวีสุขเมเม่ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสหน่วยงาน ISSC (International Student Service Center) สำนักวิเทศสัมพันธ์ ของพีไอเอ็ม เล่าถึงความรู้สึกภาคภูมิใจ ที่สำเร็จการศึกษา ตลอดระยะเวลา 2 ปีในการเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยเทเคียวให้ฟังว่า “เมื่อมีการเปิดคัดเลือกรับทุนที่เทเคียว  หลังการทราบข่าวตั้งใจอ่านหนังสือสอบหนักมาก พร้อมเดินหน้าลุยเลยค่ะ ด้วยความเป็นเจแปนเลิฟเว่อร์ตัวแม่  จึงทั้งมุ่งมั่นและตั้งใจมาก...จากวันที่เริ่มสมัครรับทุนจนไปถึงวันที่ออกเดินทาง เมเม่ไม่เคยรู้สึกกลัวกับการเป็นเด็กศิลป์ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ  ที่ต้องเปลี่ยนตัวเองไปเป็นเด็กเศรษฐศาสตร์  โดยใช้ภาษาอังกฤษในการเรียน เพราะเชื่อว่า เมื่อลงมือทำแล้วก็ต้องทำให้ได้และทำดีที่สุด”  นิยาม..ชีวิตที่โตขึ้นกว่า...คือ ตัวตนที่ได้รับการถูกหล่อหลอมที่ญี่ปุ่น ถือเป็นประสบการณ์นอกตำราที่งดงามที่สุดของชีวิตและเป็นความทรงจำที่มีค่ามาก หาในตำราเล่มไหนก็หาซื้อไม่ได้ ซึ่งตัวเราเองเป็นผู้บันทึกและได้ลงมือทำจริง ...เมื่อย้อนเวลากลับมานึกถึงในวันที่ประสบความสำเร็จ ก็จะรู้สึกภาคภูมิใจกับตัวเองและครอบครัวทุกครั้ง

 

PR PIM

 

อีกหนึ่งสาวที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปี 3 คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทเคียว สิริกาญจน์ ลิ้มวงศ์พัชรกุลกระแต ได้รับทุน“TAEP” Faculty of Economics, Hachioji Campus, Teikyo University เผยความรู้สึกกับโอกาสที่ได้รับว่า “Tired but  proud : เหนื่อยแต่ภูมิใจ ...กระแตไม่ใช่คนเก่งอะไร ต้องอ่านหนังสือก่อนเรียนตลอด ถึงขั้นนอนเที่ยงคืนตื่นอีกทีตีสาม เราต้องเรียนรอด ปรับตัวได้อย่างแน่นอน กระแตคิดยู่ตลอดค่ะว่า อยู่ที่ไทยเราอาจรู้สึกว่าเราเก่งในสถาบันตัวเอง เพราะรูปแบบการเรียนที่พีไอเอ็มที่ผ่านมาแบบ Work-based Education คือ การเรียนรู้ควบคู่ลงมือปฏิบัติจริง ช่วยให้มั่นใจและมีความพร้อมพอสมควรก่อนเดินทางมาเรียนต่อในต่างประเทศ ...พอมาที่มหาวิทยาลัยเทเคียว ด้วยสไตส์การเรียน ความมีระเบียบวินัย วัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น รวมถึงต้องปรับตัวให้เข้ากับทุกๆการเปลี่ยนแปลงเฉพาะหน้า  ทำให้ต้องเร่งพัฒนาทักษะตัวเองอย่างก้าวกระโดด เรื่องภาษาอังกฤษที่จำเป็นต้องใช้สื่อสารก็รู้สึกว่าค่อยๆพูดคล่องขึ้น การเขียนและไวยากรณ์ก็เก่งขึ้นด้วย การเรียนที่มหาวิทยาลัยเทเคียวมุ่งเน้นให้นักศึกษาร่วมอภิปรายความคิด แสดงความคิดเห็นระหว่างกันกับเพื่อนคนญี่ปุ่นและชาวต่างชาติ ไม่ใช่มาเถียงกันว่า คำตอบคนไหนถูกหรือผิด แต่เป็นการแลกเปลี่ยนจนได้คำตอบที่ดีที่สุด บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเอื้อที่นี่ทำให้มีส่วนร่วมในการเรียนและทำความรู้จักเพื่อนใหม่เต็มที่ กระแตมองว่า ภาษาไม่ใช่เรื่องยากสำคัญที่ความตั้งใจ …จึงพยายามเก็บเกี่ยวประสบการณ์ครั้งสำคัญที่กำลังศึกษาอยู่มาต่อยอดการทำงานในอนาคต“ขอขอบคุณพีไอเอ็มที่เปิดโอกาสที่ดีแบบนี้ให้กับนักศึกษาค่ะ และฝากถึงน้องๆเชิญชวนมาร่วมเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ในต่างแดนกันนะคะ”

 

PR PIM

 

ล่าสุดเมื่อช่วงปลายปี 2562 พีไอเอ็มร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวาเซดะ มหาวิทยาลัยจัดการการบริการธุรกิจเอกชนชั้นนำของญี่ปุ่นร่วมมือกัน นำนักศึกษาพีไอเอ็มจำนวน 10 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่าน เข้าร่วมโครงการ “SAKURA SCIENCE Exchange Program” โดยการสนับสนุนการศึกษาจาก JST: Japan Science and Technology ร่วมกับมหาวิทยาลัยวาเซดะ เป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนนานาชาติ ได้มาสัมผัสประสบการณ์ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 7 วัน  โดยนักศึกษาที่เข้าโครงการจะได้เรียนรู้พื้นฐานของการจัดการและการบริหารธุรกิจ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ประเพณีวัฒนธรรม และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับนานาชาติ สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานต่อไปในอนาคต

นักศึกษาทั้ง 10 คนที่ผ่านการคัดเลือกจากพีไอเอ็ม ให้เข้าร่วมโครงการ มาจากหลายหลายคณะเช่น หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต Modern Trade Business Management (International Program), คณะนวัตกรรมการจัดการการเกษตร, คณะศิลปศาสตร์, คณะการจัดการโลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่ง, และคณะศึกษาศาสตร์  และได้เดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียนประถม Meiho, บริษัท Seibu group, โรงงาน Ishizaka, มหาวิทยาลัยวาเซดะ, โรงพยาบาลฟื้นฟู Meisei, ศูนย์วิจัยทางด้านเกษตรกรรม จังหวัดไซตามะ, ศูนย์บ่มเพาะเมล็กพันธุ์ Seinourin Seed Center และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น Miraikan ครบเครื่องทั้งการเรียนรู้นอกห้องเรียน  เปิดมิติมุมมองใหม่ที่หลากหลาย เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่น  ฝึกฝนทักษะการสื่อสารกับเจ้าของภาษา การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างระเบียบวินัยกับตัวเอง ช่วยกันแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การอยู่ร่วมกันกับเพื่อนใหม่ และการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกลุ่ม ตลอดระยะเวลาที่ทำกิจกรรมด้วยกันในโครงการ    

 

หนึ่งหนุ่มและสองสาว...3 นักศึกษาตัวแทนพีไอเอ็มในโครงการ JST จะมาบอกเล่าถึงเรื่องราวประทับใจใน 1 สัปดาห์จากดินแดนปลาดิบรวมถึงร่วมการแชร์ประสบการณ์ที่ได้รับ จากการไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในโครงการฯ ว่ามีความสนุกและประทับใจมากแค่ไหน

 

PR PIM

 

เริ่มจากวรชิต จันทรงชัยจอห์น นักศึกษาชั้นปี 2 คณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ หนุ่มหน้าใส หัวใจสีเขียว พอได้ยินอาจารย์แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ในกลุ่ม ใจก็คิดภาพตัวเองนั่งเครื่องบินไปญี่ปุ่นแล้วกับโครงการนี้ ...ผมขออนุญาตยืมคำพูดอาจารย์ในสาขามาพูดว่า โอกาสก็เหมือนไอติมไม่กินก็ละลาย มาฝากน้องๆที่สนใจ จอห์นได้เห็นมุมมองการทำธุรกิจที่ญี่ปุ่น เขาให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรณรงค์ Recycle และ Waste management ความประทับใจโดยส่วนตัวชอบที่ได้ไปดูโรงงานขยะที่ไซตามะ เขาลดปริมาณขยะให้น้อยที่สุดและไม่สร้างมลพิษ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่คอยพัฒนานวัตกรรมใหม่เสมอ ไม่หยุดที่จะเดินหน้ารวมถึงเรื่อง AI...ล่าสุดที่ไปพิพิธภัณฑ์ Mirikan ที่ Tokyo ก็ได้ไอเดียมาต่อยอดเรื่องของ AI ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผมเหมือนกำลังกลายเป็นตัวละครในหนังไซไฟซึ่งตื่นเต้นมาก เชื่อว่าหลังจากที่ทุกคนได้ไป JST กลับมาน้องจะมีมุมมองกว้างไกลขึ้น ที่สำคัญทุกอย่าง VIP ทีมดูแลดีมาก...อยากให้น้องๆลองมาสมัครโครงการนี้ เพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนที่สนใจในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีหยิบมาต่อยอดไอเดีย สิ่งที่ได้รับรองว่าคุ้มค่าแน่นอน เปิดโลกทั้งความรู้จินตนาการ ซึ่งจะดัดแปลงไปใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันในอนาคตต่อไป

 

PR PIM

 

สุพัตตรา เขตสมุทร...เทียน นักศึกษาชั้นปี 3 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ว่าที่คุณครูสอนภาษาอังกฤษ ที่ชื่นชอบความเป็นญี่ปุ่นเป็นพิเศษ… เมื่อทราบว่ามีโครงการ JST เทียนเข้าสมัครเข้าโครงการทันที เพราะอยากหาประสบการณ์ใหม่และสัมผัสความเป็นญี่ปุ่น ค้นหาตัวตนอีกมุมนอกตำรา ด้วยความฝันที่อยากท่องเที่ยวและเดินทางต่างประเทศ แม้ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อสอบคัดเลือกค่อนข้างหนัก แต่ก็คุ้มค่าสุดๆเทียนขอให้คำจำกัดความสั้นๆ... กับทุกกิจกรรมที่วาเซดะ คือ ดี-โดน-ได้...ดี ทุกกิจกรรมที่แพลน สถานที่เยี่ยมชม บริษัทที่ดูงาน โดน เรื่องราวของญี่ปุ่น ระเบียบวินัย บ้านเมืองศิลปวัฒนธรรม ได้ ทุกนาทีคือภาพความประทับใจในการเรียนรู้ทุกวัน “Meiho Elementary School” คือ สถานที่ที่ประทับใจมากค่ะ เทียนมีความฝันอยากจะเป็นคุณครู พอมาเห็นภาพการเรียนการสอนในญี่ปุ่น ที่ช่วยชี้แนะเด็กตามความถนัด เน้นการช่วยเหลือส่งเสริมในทุกด้าน สร้างความมั่นใจให้กับเด็กรู้สึกประทับใจมาก ถือเป็นการเปิดโลกห้องเรียนแห่งอนาคตมุมมองใหม่ ที่เอาตัวเองการเข้าไปสัมผัสจริงในห้องเรียนจำลองต่างแดน ทำให้เห็นภาพว่า ครูยุคที่โลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว จะต้องปรับปรุงตัวเองให้เข้าถึงเด็กได้แบบไหน โครงการนี้ทำให้เทียน สามารถมองภาพความเป็นครูยุคใหม่ในอนาคต นำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาตัวเองและปรับใช้ในการสอนเด็กๆได้ต่อไป

 

PR PIM

 

รวิสรา ขุนชุ่ม…ออม นักศึกษาชั้นปี 3  คณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาจีนธุรกิจ...พอออมทราบว่า มีโครงการนี้จากอาจารย์ทางสาขา เลยรีบลงชื่อสอบชิงทุนแล้วก็ได้ไปจริงๆ...ออมใฝ่ฝันอยากไปญี่ปุ่น ชอบประเทศนี้มากที่สุด ชอบวิถีชีวิตของคนที่นั่น บ้านเมืองที่สะอาดและน่ารัก สังคมมีความเรียบร้อยมีวินัย...โปรแกรมหลักJST ร่วมมือกับวาเซดะ คือ การศึกษาดูงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เราได้ทั้งเรียนรู้สิ่งใหม่และ connection จากบริษัทใหญ่หลากหลายทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นเช่น การ “brainstorm”สอนเด็กผ่าน digital textbooks อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาหลักในการทำงานกลุ่มอาจจะมีบ้างคือ ด้านภาษา เพราะเราทั้งสองฝ่ายไม่ใช่เจ้าของภาษาอังกฤษทั้งคู่ อาจมีปัญหาที่พูดคุยกันแล้วไม่เข้าใจ แต่พวกเราก็พยายามอธิบายให้กันและกัน กล้าที่จะเเสดงความคิดเห็นและนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดออกมา วาเซดะได้มอบประสบการณ์ที่ดีครั้งสำคัญในชีวิตออม “Best Experiences Ever” คือ ข้อความแทนคำขอบคุณ…จากใจถึงพีไอเอ็ม และผู้จัดโครงการนี้ทุกท่าน หากน้องคนไหนสนใจวิทยาการ วิชาการของญี่ปุ่น อยากเปิดประสบการณ์ใหม่ หรือหา Connection การเรียนต่อเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการค้นหาตัวเอง หรืออยากมาทำงานที่นี่ โครงการ JST ตอบโจทย์มากเลยจริงๆค่ะ ขอบคุณโครงการดีๆในครั้งนี้และฝากถึงน้องๆทุกคน อย่าพลาดนะคะ...ลองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้กัน   

PR PIM

 

กว่า 13 ปีที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ยังมุ่งมั่นก้าวเดินไปข้างหน้า รุกจับมือกับพันธมิตรภาคการศึกษากับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศชั้นนำในประเทศญี่ปุ่น เร่งสร้างเครือข่ายและขยายความร่วมมือต่างๆ ในการขับเคลื่อนระบบการศึกษา ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในสากล สร้างความเชื่อมั่นกับสังคม ปรับปรุงการเรียนการสอนตลอดเวลา ให้ทันกับโลกในยุคปัจจุบัน พร้อมอัพเดทเทรนด์และเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆอยู่เสมอ เน้นกระบวนการจัดการและการปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและเข้าถึงเนื้อหาวิชาการที่เข้มข้นและสัมผัสได้จริงกับประสบการณ์จากการฝึกฝนหน้างาน  สามารถฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ PIM เป็นที่ยอมรับในสากล เพื่อประโยชน์ต่อคณาจารย์ บุคลากรเจ้าหน้าที่และนักศึกษาอย่างต่อเนื่องในอนาคต

 

PR PIM
PR PIM

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • PR PIM
  • 0 Followers
  • Follow