Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รวมไอเดียเก็บเงินที่วัยรุ่นวัยเรียนทำได้จริง ไม่ยากเลย !

Posted By Plook Magazine | 29 ม.ค. 63
36,555 Views

  Favorite

แจก 8 เทคนิคออมเงินฉบับนักเรียนจ้า วิธีที่นำมาแชร์นี้ถึงจะเรียนอยู่ก็สามารถเก็บเงินได้หลักพันถึงหลักหมื่นต่อปีเลยนะ (ใครขยันหน่อยอาจเก็บได้หลักแสนเลยด้วย) ส่วนวิธีเก็บเงินก็ทำตามได้ง่ายมาก ๆ มาดูกันเลยว่าจะมีวิธีอะไรบ้าง

 

 

เก็บเหรียญ

ในแต่ละวันเราน่าจะมีเหรียญ 5 หรือ 10 เหลือติดกระเป๋ากัน วิธีออมคือให้เก็บเหรียญทั้งหมดที่เหลือหยอดกระปุก แค่นั้นเอง พอถึงสิ้นปีก็ค่อยมานับรวมยอด หรือใครอยากจะตั้งกฎให้จริงจังกว่านี้ เราแนะนำให้หยอดกระปุกวันละ 10 บาทไปเลย ถ้าครบ 1 เดือน ก็จะมีเงินเก็บ 300 บาท ถ้าหยอดครบ 1 ปี ก็มีเงินเก็บทั้งหมด 3,650 บาทเชียวนะ

 

 

ออมวันละ 20

วิธีนี้ก็น่าสนใจเพราะทำได้ง่ายมาก เพียงแค่เก็บแบงก์ 20 ทุกวัน พอครบ 1 เดือน ก็จะมีเงินเก็บ 600 บาท ถ้าครบ 1 ปี ก็มีเงินเก็บ 7,300 บาท เริ่ดดดด !!!

 

 

เก็บเงินตามวันที่

เป็นวิธีเก็บเงินที่ฮิตมากอีกวิธี เพราะทำได้ง่ายมาก ๆ เพียงแค่เก็บตามวันที่ เช่น วันที่ 1 ก็หยอดกระปุก 1 บาท วันที่ 25 ก็หยอดกระปุก 22 บาท วันที่ 22 ก็หยอดกระปุก 30 บาท ง่าย ๆ แค่นี้เลย พอครบ 1 เดือน ก็จะมีเงินเก็บ 465 บาท ถ้าครบ 1 ปี ก็มีเงินเก็บ 5,580 บาท

 

 

เก็บแบงก์ 50

เราใช้วิธีนี้อยู่ เพราะมันเหมาะสำหรับคนที่มีความจำเป็นต้องใช้เหรียญและแบงก์ 20 บ่อย ๆ แต่แบงก์ 50 อาจหาไม่ได้ในทุกวัน วิธีนี้จึงต้องมีวินัยสุด ๆ ถ้าเจอแบงก์ 50 เมื่อไหร่ก็ให้รีบเก็บแยกทันที พอกลับถึงบ้านก็นำไปหยอดกระปุกเลย อดทนเก็บให้ครบปีแล้วค่อยเอาออกมานับนะ

 

 

พกเงินเท่าที่ใช้

ถ้าจะใช้วิธีนี้จะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละวันให้ดีก่อน เช่น ค่ารถไป-กลับ 60 บาท ค่าข้าวกลางวัน 40 บาท ค่าน้ำ+ขนมจุบจิบ 40 บาท รวมเป็น 140 บาท วิธีนี้จะช่วยให้เราเก็บเงินได้เร็วขึ้นเพราะไม่มีโอกาสให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แถมถ้าเราสามารถหักดิบค่าขนมจุบจิบได้ก็จะเหลือเงินมาหยอดกระปุกเพิ่มอีกด้วย 
*แนะนำว่าให้พกเงินฉุกเฉินซ่อนเอาไว้ในกระเป๋าตังค์ด้วย เผื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินมากกว่าที่เตรียมไว้ อย่างนั่งรถเลยป้าย ขึ้นรถผิดสาย ต้องจ่ายค่างานกลุ่ม ฯลฯ

 

 

กินเท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น

นี่คือวิธีที่เหมาะสำหรับสายกินที่หักห้ามใจหยุดเปย์ของกินไม่ได้แต่ก็อยากเก็บเงิน เวลากินอาหารหรือขนมอะไรที่เกินงบที่ตั้งไว้ต้องหยอดเงินลงกระปุกตามจำนวนที่กินไป เช่น ตั้งงบการกินไว้ว่าในหนึ่งมื้อห้ามเกิน 50 บาท แต่วันนี้เผลอกินบิงซูไป 150 บาท ก็ต้องหยอดลงกระปุก 150 บาท ถือเป็นวิธีที่อาจจะช่วยลดการกินจุบจิบลงได้ แต่ถ้ากินเยอะก็ได้เก็บเงินเยอะไปในตัวเหมือนกันนะ 

 

 

ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

หลายคนอาจจะส่ายหัวว่าไม่อยากทำ น่าเบื่อออ โบราณ แต่เราอยากจะบอกว่าการทำรายรับรายจ่ายนั้นช่วยให้ได้รู้ว่าในแต่ละเดือนเราใช้จ่ายเกินรายรับหรือเปล่า และหมดเงินไปกับอะไรมากที่สุด เช่น เดือนนี้เสียเงินค่าขนมหน้าโรงเรียนไป 600 บาท ซึ่งเยอะมาก ! เดือนหน้าเราก็จะได้รู้ตัวว่าต้องเลือกกินขนมหน้าโรงเรียนอย่างมีสติ ไม่ใช่ตามใจปากท้องอย่างเดียว แล้วเดี๋ยวนี้เขามีแอปบัญชีรายรับรายจ่ายเก๋ ๆ น่ารัก ๆ ให้ใช้เยอะมาก ไม่ต้องจดลงสมุดกันแล้วเน้อ

 

 

ฝากประจำ

เหมาะสำหรับคนที่เห็นเงินอยู่ใกล้ตัวแล้วคันไม้คันมืออยากแอบหยิบมาใช้บ่อย ๆ เราขอแนะนำให้นำเงินไปฝากในธนาคารแบบฝากประจำไปเลย มีให้เลือกว่าจะฝากประจำแบบระยะสั้นหรือระยะยาว เช่น 3, 6, 12 , 24 และ 36 เดือน หรือมากกว่านั้น แต่มีข้อแม้คือถ้าฝากแล้วห้ามถอนเงินก่อนกำหนดเชียวนะ ที่เราแนะนำให้ฝากประจำก็เพราะมันได้ดอกเบี้ยมากกว่าบัญชีออมทรัพย์แหละ

 

 

รวมไอเดียเก็บเงินที่วัยรุ่นวัยเรียนทำได้จริง ไม่ยากเลย !

 

วิธีเก็บเงินฉบับวัยเรียนที่นำมาแชร์นี้ ใครอยากจะนำไปใช้มากกว่า 1 วิธีก็สามารถทำได้นะคะ เพราะจะช่วยให้เก็บเงินได้เร็วมากขึ้น อย่างเลือกเก็บเหรียญ 10 กับเก็บแบงก์ 50 และพกเงินให้น้อยลง พร้อมกับทำบัญชีรายรับรายจ่ายทุกเดือน ถ้าเงินเหลือก็นำไปฝากประจำแบบระยะสั้น 6 เดือน ยังไงเพื่อน ๆ ก็ลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง และขอให้มีเงินหมื่นเงินแสนก่อนเรียนจบกันน๊า 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

รวมความรู้ทางการเงินที่วัยรุ่นควรรู้ก่อนเรียนจบ #อายุน้อยก็รวยได้

รวม ‘กองทุนรวม’ สำหรับคนงบน้อย เริ่มลงทุนได้ตั้งแต่ 1 บาท

The Psychology of Money จิตวิทยาการเงินที่จะทำให้เรามั่งคั่งร่ำรวย !

เพราะชีวิตต้องใช้เงิน การลงทุนตั้งแต่วัยรุ่นจึงสำคัญ

รู้เท่าทันภัยทางการเงินที่อาจทำให้เราหมดตัวได้ !

รวมงาน Part Time เงินดี อายุ 16 ปีก็ทำได้

ปิดเทอมนี้ มาหารายได้เสริม หางานทำบนโลกออนไลน์กันดีกว่า

วิถีติ่งรวยที่เราอยากบอกต่อ

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow