Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ความสามารถทางวัฒนธรรมและระดับโลกเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศและการแข่งขันทางเศรษฐกิจในมุมมองของสหรัฐอเมริกา

Posted By Plook Teacher | 27 ธ.ค. 62
4,041 Views

  Favorite

ความสามารถทางวัฒนธรรมและระดับโลกที่กล่าวถึงในครั้งนี้ เป็นยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของกระทรวงศึกษาธิการแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในสหรัฐอเมริกาทุกคน ประสบความสำเร็จทางวัฒนธรรมและในระดับโลก โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาและการมีส่วนร่วม

 

ทุกวันนี้นักเรียนในสหรัฐอเมริกา จำเป็นต้องมีทักษะในการคิดวิเคราะห์การสื่อสารทางสังคม อารมณ์และการใช้ภาษา เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันกับนักเรียนในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกได้ ทั้งนี้ การส่งเสริมให้ผู้เรียนทำความเข้าใจในส่วนอื่น ๆ ของโลก รวมถึงในมุมมองที่แตกต่างกันทางวัฒนธรรรม นับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการแข่งขันในระดับนานาชาติ


ด้วยเหตุนี้ กระทรวงศึกษาธิการของสหรัฐอเมริกาจึงได้กำหนดกรอบการพัฒนาความสามารถทางวัฒนธรรมและความสามารถระดับโลกขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากการหารือของตัวแทนจากกระทรวงศึกษาธิการทั่วประเทศ โดยมีการกำหนดต่อเนื่องตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนไปสู่ระดับอุดมศึกษา ซึ่งช่วยให้คณะทำงานรู้ว่าควรจะพัฒนาผู้เรียนอย่างไร เมื่อเวลาดำเนินไปในระยะต่าง ๆ ของการศึกษา โดยในกรอบการพัฒนาได้กำหนดสมรรถนะของผู้เรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนไปสู่ขั้นอุดมศึกษา ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน และ 4 ระดับ ดังนี้

 

1. ด้านความร่วมมือและการสื่อสาร Collaboration and Communication

        ระดับปฐมวัย = สร้างทักษะทางสังคม - อารมณ์ – มุ่งเน้นไปที่การเอาใจใส่การทำงานร่วมกันและการแก้ปัญหา
        ระดับประถมศึกษา = สร้างทักษะทางสังคม - อารมณ์ - แบบก้าวหน้า – มุ่งเน้นไปที่การเอาใจใส่การรับมุมมองและการจัดการความขัดแย้ง
        ระดับมัธยมศึกษา = สร้างทักษะทางสังคม – อารมณ์ และความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง – เน้นความเข้าใจในหลากหลายวัฒนธรรม
        ระดับอุดมศึกษา = สร้างทักษะทางสังคม – อารมณ์ขั้นสูง มีความสามารถในการทำงานร่วมกันและสื่อสารกับผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

2. ด้านโลกและมรดกทางภาษา World and Heritage Languages

        ระดับปฐมวัย = พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ
        ระดับประถมศึกษา = มีความสามารถขั้นพื้นฐานในภาษาอื่นอย่างน้อย 1 ภาษา
        ระดับมัธยมศึกษา = มีความชำนาญในภาษาอื่นอย่างน้อย 1 ภาษา
        ระดับอุดมศึกษา = มีความสามารถขั้นสูง – สามารถทำงานหรือเรียนภาษาอื่นได้อย่างน้อย 1 ภาษา

 

3. ด้านมุมมองที่หลากหลาย Diverse Perspectives

        ระดับปฐมวัย = เกิดการรับรู้ทั่วโลกผ่านการสัมผัสกับวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ภาษาและมุมมองที่หลากหลาย
        ระดับประถมศึกษา = เกิดการรับรู้ทั่วโลกที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นผ่านการสัมผัสวัฒนธรรมที่หลากหลายประวัติศาสตร์ภาษาและมุมมองที่หลากหลาย
        ระดับมัธยมศึกษา = เกิดความรู้และความเข้าใจในระดับท้องถิ่นและระดับโลกที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นรวมถึงผ่านชั้นเรียนโครงการการศึกษาในต่างประเทศและการแลกเปลี่ยนเสมือน
        ระดับอุดมศึกษา = มีความสามารถในการพัฒนาสูงในการวิเคราะห์และสะท้อนประเด็นจากมุมมองที่หลากหลาย

 

4. ด้านการมีส่วนร่วมของพลเมืองและสากล Civic and Global Engagement

        ระดับปฐมวัย = เพิ่มการรับรู้ในเรื่องของชุมชนและสถาบัน
        ระดับประถมศึกษา = มีส่วนร่วมของการเป็นพลเมืองและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับอายุ
        ระดับมัธยมศึกษา = มีความสามารถในการแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในประเด็นสำคัญของพลเมืองและระดับโลก
        ระดับอุดมศึกษา = แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการมีส่วนร่วมที่มีความหมายในปัญหาพลเมืองและโลกที่หลากหลายและที่จะประสบความสำเร็จในแนวทางของตัวเองและในบริบทระดับโลกที่พิเศษ


ซึ่งสมรรถนะทั้งหมดนี้จะตั้งอยู่บนรากฐานของความเข้าใจและความรู้ในกฎระเบียบพิเศษต่าง ๆ


จากกรอบการพัฒนาความสามารถทางวัฒนธรรมและระดับโลกนี้ จะเห็นได้ว่า มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมซึ่งสามารถดำเนินการได้ โดยสหรัฐอเมริกาค่อนข้างให้ความสำคัญกับความสามารถทั้งสองเรื่องนี้เป็นอย่างมาก


ความสามารถระดับโลกนั้น จะมุ่งเน้นไปที่การมองออกไปทั่วโลกเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม ในขณะที่ความสามารถทางวัฒนธรรมหมายถึงการมองเข้าไปในห้องเรียนหรือที่ทำงาน เพื่อเรียนรู้วิธีการสื่อสารและทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากกับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน และเป็นข้อได้เปรียบที่จะทำให้พลเมืองสหรัฐอเมริกา สามารถแข่งขันกับกระแสการเปลี่ยนของโลกในอนาคตได้


ข้อดีของกรอบการทำงานนี้คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการประชุมปรึกษาหารือเพื่อออกแบบกรอบการทำงานอย่างเป็นกระบวนการและต่อเนื่องตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนไปสู่ระดับอุดมศึกษา ซึ่งทำให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องที่ดีมาก ถ้าสามารถนำมาเป็นต้นแบบให้ประเทศไทยศึกษาได้ ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาด้านการศึกษาของไทยมีความต่อเนื่องและเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น

 

เรียบเรียงโดย : นรรัชต์  ฝันเชียร

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Teacher
  • 127 Followers
  • Follow